2 พ.ย. 2022 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
กาแฟมณีพฤกษ์ ทำอย่างไร ให้ขายได้ กิโลละ 8,000 บาท
2
รู้หรือไม่ กาแฟคั่วที่แพงที่สุดในไทย ก็คือ สายพันธุ์เกชา จากดอยมณีพฤกษ์ ซึ่งปกติขายกันอยู่ที่ราคา กิโลกรัมละ 8,000 บาท
และหากเทียบกับ ราคากาแฟ Specialty ทั่ว ๆ ไป
สายพันธุ์เกชาก็จะมีราคาสูงกว่าถึง 4 เท่า เลยทีเดียว
4
และที่น่าสนใจ คือ กาแฟราคาแสนแพงนี้ ยังถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา “ภูเขาหัวโล้น” อีกด้วย
1
โดยในวันนี้ ลงทุนเกิร์ล มีโอกาสได้พูดคุยกับ “คุณวิชัย กำเนิดมงคล” ผู้ปลุกปั้นแบรนด์กาแฟ เดอม้ง จากดอยมณีพฤกษ์ ถึงเรื่องราวที่กว่าจะมาเป็นกาแฟมณีพฤกษ์
แล้วเรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ?
และทำไมกาแฟมณีพฤกษ์ ถึงขายได้ กิโลกรัมละ 8,000 บาท ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
2
“มณีพฤกษ์” เป็นดอยเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดน่าน
โดยมีชาวบ้านส่วนใหญ่เป็น “ชาติพันธุ์ ม้งและลัวะ”
ซึ่งเดิมทีชาวบ้าน จะมีรายได้หลัก จากการปลูกกะหล่ำปลี และขิง
1
แต่ด้วยความที่พืชเหล่านี้ต้องปลูกในที่โล่งแจ้ง จึงทำให้มีการถางป่า จนกลายเป็น “ภูเขาหัวโล้น”
ซึ่งเรื่องนี้ได้ทำให้คุณวิชัย และชาวบ้านมณีพฤกษ์ ต้องมาร่วมกันหาทางแก้ไข และได้ผลสรุปเป็น การเปลี่ยนมาปลูกพืช จำพวกแมคาเดเมีย พลับ และอะโวคาโด แทน
4
นอกจากนี้ คุณวิชัยยังเสนอให้ ปลูกกาแฟแซมอยู่ในผืนป่าที่ยังเหลืออยู่ เพราะเขาเคยได้ยินมาว่า กาแฟชอบที่ชื้นและที่ร่ม ที่มีแสงแดดรำไร
1
แต่เนื่องจาก คุณวิชัยแทบจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับ “Specialty Coffee” ทำให้เขาต้องเริ่มหาความรู้อย่างจริงจัง ตั้งแต่สายพันธุ์กาแฟ, วิธีการปลูก, การดูแล, การตัดแต่งกิ่ง, การเก็บเกี่ยว, กระบวนการแปรรูป และคั่ว จากผู้เชี่ยวชาญหลายคน จนเขากลายเป็นหัวหอกสำคัญ ที่คอยผลักดันเรื่องกาแฟพิเศษของหมู่บ้าน
2
ซึ่งคุณวิชัย ต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกเกือบ 10 ปี
2
โดยเขาได้นำกาแฟอะราบิกา สายพันธุ์ของปานามาที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติ และกลิ่น อย่าง “Gesha” (เกชา) มาจาก “คุณเคเลบ จอร์แดน” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสายพันธุ์กาแฟ มาปลูก แถมในตอนนั้นก็ยังไม่ค่อยมีใครนำกาแฟสายพันธุ์นี้มาปลูกในไทย
5
นอกจากนี้ คุณเคเลบยังแนะนำให้ชาวบ้านนำกาแฟสายพันธุ์อื่น ๆ มาปลูกร่วมด้วย ทั้งสายพันธุ์ Java, Syrina, Typica, Yellow Bourbon และ Catimor
3
ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีกลิ่น และรสสัมผัสที่แตกต่างกันไป เพื่อเพิ่มตัวเลือกที่หลากหลายให้แก่ลูกค้า
1
แม้ว่า กาแฟจะมีคุณภาพดีแค่ไหน
แต่ในช่วง 6 ปีแรก กาแฟมณีพฤกษ์ ขายแทบไม่ได้เลย..
1
ส่วนกาแฟที่ขายออก
ก็ขายได้ในราคาที่ต่ำมาก เพียงราคากิโลกรัมละไม่ถึงพันบาท
4
ยิ่งไปกว่านั้น ชาวบ้านที่เคยรวมกลุ่มปลูกกาแฟด้วยกัน จากกว่า 100 คน ก็ยังลดเหลือเพียง 10 คนเท่านั้น
1
ซึ่งเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้กาแฟมณีพฤกษ์ขายไม่ออก แม้ว่าจะมีคุณภาพดี ก็เป็นเพราะ ขาดการทำการตลาด และการสื่อสาร
3
เพราะไม่มีใครรู้ว่า ดอยมณีพฤกษ์คือที่ไหน และทำไมเขาต้องมาซื้อเมล็ดกาแฟจากที่นี่
1
ดังนั้นคุณวิชัยจึงแก้ปัญหาด้วยการปั้นแบรนด์ Specialty Coffee ของหมู่บ้าน ชื่อ “กาแฟเดอม้ง” ขึ้นในปี 2558 พร้อมกับทำการตลาด และสื่อสารให้คนภายนอกรับรู้ถึงคุณภาพของกาแฟมณีพฤกษ์
1
ซึ่งในเวลาต่อมา กาแฟมณีพฤกษ์ ก็เริ่มมีชื่อเสียงในหมู่บาริสตา เพราะมีบาริสตาหลายคน นำกาแฟเดอม้งไปใช้ประกวด และได้รับรางวัลกลับมา
แต่จุดเริ่มต้นที่ทำให้ กาแฟเดอม้ง เป็นที่รู้จักในวงการกาแฟจริง ๆ คือ ตอนปี 2563
เมื่อคุณวิชัยส่งเมล็ดกาแฟมณีพฤกษ์ เข้าประกวด “สุดยอดเมล็ดกาแฟไทย” ที่จัดโดยสมาคมกาแฟพิเศษไทย (SCATH) และคว้ารางวัลที่ 3 ในประเภท Honey Process มาครอง
1
ตั้งแต่นั้นมา คุณวิชัยก็ส่งเมล็ดกาแฟเข้าประกวด รายการใหญ่ระดับประเทศทุกปี ทั้งของ SCATH และรายการ “Thai Coffee Excellence” ที่จัดโดยกรมวิชาการเกษตร
ซึ่งก็คว้ารางวัลที่ 1, 2, 3 ของประเทศอยู่เรื่อยมา และนั่นทำให้ชื่อแบรนด์ “กาแฟเดอม้ง” โด่งดังคุ้นหูคอกาแฟไทย
1
นอกจาก รางวัลที่การันตีคุณภาพแล้ว
ปัจจัยที่ทำให้กาแฟดอยมณีพฤกษ์ กลายเป็นเมล็ดกาแฟคุณภาพ จนมี “ราคาสูงที่สุดในไทย” ก็ยังประกอบด้วย
ปัจจัยเรื่อง “สภาพอากาศ”
ที่ดอยมณีพฤกษ์ มีป่าที่อากาศหนาวทั้งปี แสงแดดน้อย และความชื้นสูง ทำให้ผลกาแฟค่อย ๆ สุก และมีเวลาสะสมธาตุอาหารนานกว่า กาแฟที่สุกฉ่ำอย่างรวดเร็ว จึงมีกลิ่นและรสชาติที่ดีกว่า
2
และประจัยที่ 2 คือ “ดิน”
บริเวณดอยมณีพฤกษ์ เคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ทำให้ดินที่นั่น มีธาตุโพแทสเซียมสูง ช่วยให้ผลกาแฟหวานและสมบูรณ์
2
นอกเหนือจาก ของขวัญที่ธรรมชาติให้มาแล้ว
ปัจจัยสำคัญอีกอย่าง ก็คือ การที่ชาวบ้าน “ดูแล” ต้นกาแฟเป็นอย่างดี
2
โดยพวกเขาจะทำปุ๋ยหมักจากเปลือกกาแฟ
และเลือกทำเลปลูกที่เหมาะสมกับกาแฟแต่ละสายพันธุ์ เพราะความชื้นในป่าแต่ละโซน จะสูงและต่ำไม่เท่ากัน
1
ส่วนขั้นตอนการแปรรูปกาแฟ
คุณวิชัยก็ได้เพิ่มรายละเอียด ด้วยการหมักยีสต์ หรือ “Yeast Fermentation”
1
ซึ่งจะมีการเพาะยีสต์ธรรมชาติ ที่เหมาะกับการหมักกาแฟ ทำให้เกิดรสชาติและกลิ่นที่ซับซ้อน คล้ายดอกไม้ ผลไม้ หรือชา และมีรสชาติค้างในปากนานขึ้น
1
แต่ไม่เพียงแค่ กาแฟมณีพฤกษ์ จะประสบความสำเร็จ ในฐานะกาแฟคุณภาพเท่านั้น
เพราะหลังจากที่ ชาวบ้านคนอื่น ๆ เห็นว่า กาแฟมณีพฤกษ์ สามารถขายได้ราคาดี พวกเขาก็กลับมาปลูกกาแฟกันมากขึ้น จนถึงขนาดที่บางรายลงทุนปลูกป่า เพื่อที่จะได้ปลูกกาแฟอีกด้วย
1
โดยปัจจุบัน ในหมู่บ้านมณีพฤกษ์ มีสวนกาแฟที่สามารถให้ผลผลิตได้แล้วกว่า 150 สวน และใน 1 ปีจะให้ผลผลิตรวมกว่า 10,000 กิโลกรัม ซึ่งก็ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาด
1
และแม้ว่ากาแฟมณีพฤกษ์ จะประสบความสำเร็จอย่างมากในตอนนี้
แต่คุณวิชัย บอกกับเราว่า ยังไม่อยากใช้คำว่า กาแฟมณีพฤกษ์เป็นกาแฟที่ดีที่สุดในไทย
1
เพราะเขาเชื่อว่า สำหรับ Specialty Coffee ในไทยตอนนี้ ยังมีพื้นที่ให้เรียนรู้ และพัฒนาให้ดีได้มากกว่านี้อีกเยอะ รวมถึงในไทยก็ยังมีผู้ผลิตอีกมาก ที่ตั้งใจผลิตเมล็ดกาแฟให้ออกมาดีไม่แพ้กัน
6
ดังนั้น คุณวิชัยจึงมองว่า เขาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวงการกาแฟไทยที่กำลังเติบโต ซึ่งเขาก็แค่ตั้งใจทำงานในส่วนของตัวเองให้เต็มที่ที่สุด
และที่สำคัญ คือ หากเราอยากให้คนอื่น เห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ ตัวเราเองนี่แหละ ที่จะต้องให้คุณค่ากับมันเสียก่อน..
5
Reference:
-สัมภาษณ์พิเศษกับ คุณวิชัย กำเนิดมงคล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่กาแฟเดอม้ง บ้านมณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน
2
โฆษณา