Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เที่ยวสังขละบุรี
•
ติดตาม
2 พ.ย. 2022 เวลา 04:49 • ท่องเที่ยว
ล่องเรือเที่ยว "ประตูเมืองเก่าสังขละบุรี" ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเมืองในอดีต วันนี้ยังคงหลงเหลือเพียงซากเจดีย์เก่าให้เห็น อยู่บนเนินเขา
ผมนั่งเรือมากว่าครึ่งชั่วโมงเพื่อที่จะมาถึงประตูเมืองเก่าของเมืองสังขละบุรี ซึ่งตอนแรกก็ยังนึกภาพไม่ออกเหมือนกัน แต่พอมาถึงก็เริ่มเข้าใจว่าคำว่าประตูเมืองไม่ได้หมายถึงประตูบานใหญ่ที่เราเคยเห็นกันในภาพยนตร์ แต่เป็นช่องเขาขนาดใหญ่ ที่เป็นทางเข้าออกของผู้คนในเมือง ซึ่งปัจจุบันได้ถูกน้ำท่วมไปหมดแล้ว เหลือเพียงยอดเนินเขาที่มีเจดีย์เป็นสัญลักษณ์อยู่เท่านั้น
เรือเข้าเทียบท่าซึ่งก็เป็นบันไดปูนปั้นราวจับเป็นรูปพญานาค ก็ต้องยอมรับว่าจุดนี้เมื่อมองออกไปเป็นผืนน้ำที่สวยงามมาก ซึ่งเมื่อก่อนที่จะน้ำท่วมก็คงเป็นเมืองสังขละบุรีที่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ตอนนี้เหลือเพียง เนินเขาปกคลุมไปด้วยต้นไม้เขียวขจีก็สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
เมื่อเดือนขึ้นมาตามบันไดจนถึงด้านบน ก็พบกับฐานเจดีย์เก่าที่ปัจจุบันก็พังลงตามกาลเวลา แต่ชาวบ้านก็ช่วยกันนำเอาเศษอิฐมากองรวมกันไว้เพื่อสักการะบูชา ที่ป้ายเขียนไว้ว่า "เจ้าพ่อประตูเมือง พ่อปู่ชิหม่อง" คงเป็นตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา เพราะพื้นที่สังขละบุรีติดกับชายแดนพม่า มีการสู้รบแย่งชิงดินแดนอยู่เป็นประจำ จึงทำให้ผู้คนในแถบนี้อาจจะมีเชื้อสายที่เป็นคนไทย และคนพม่า
เมื่อไหว้หลวงพ่อประตูเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็เดินถัดขึ้นไปอีกนิดหน่อยเพื่อไปสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวร และพระสุพรรณกัลยา เพราะดินแดนในแถบนี้เป็นเส้นทางการเดินทัพและแนวสู้รบระหว่างกองทัพอยุธยาและกองทัพพม่า ซึ่งยังมีบันทึกไว้ถึงการสู้รบสำคัญ ณ ด่านเจดีย์สามองค์ ของกองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และกองทัพของพระมหาอุปราชา
ก่อนกลับได้จุดธูปไหว้องค์พระเพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะออกเดินทางไปยังจุดหมายต่อไป
ระหว่างทางเดินลงผมได้มองดูบรรยากาศรอบๆและจินตนาการถึงเมืองเก่าในอดีต ที่มีผู้คนชาวสังขละบุรีดำเนินชีวิตอยู่ ซึ่งอาจจะมีชาวพม่า ชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยง ชาวอยุธยาเองก็คงไม่ได้อยู่ตรงนี้
ผมเดินทางออกจากประตูเมืองเก่า นึกถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของเมืองสังขละบุรี ที่เป็นหน้าตาของการสู้รบเพื่อแย่งชิงดินแดนระหว่างอยุธยาและพม่ามาโดยตลอด หลังจากสิ้นยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พม่าก็ยังยกทัพมาทำศึกกับกรุงธนบุรี มาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังมี
1.
"สงครามเก้าทัพ" ในรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1
2.
"สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง" ในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
3.
"ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง" ในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างไทยพม่าครั้งสุดท้าย
ในพื้นที่สังขละบุรีจะผ่านการสู้รบมามากมายแค่ไหนก็ตาม วันนี้ก็เป็นเพียงพื้นน้ำและเนินป่าที่สงบนิ่ง รอคอยเพียงนักท่องเที่ยวเข้ามาชื่นชมความงดงามและแบ่งปันประสบการณ์กับชาวบ้านในอำเภอสังขละบุรี ผมยังคงมุ่งหน้าเดินทางสู่จุดหมายปลายทางต่อไป
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย