5 พ.ย. 2022 เวลา 01:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ
S2. EP5. Stock Monitoring การติดตามความเป็นไปของหุ้น
ในบทที่ผ่านมา เราได้พูดถึงจัดสัดส่วนน้ำหนักในการซื้อหุ้นตัวหนึ่งๆ (Stock Allocation) และเมื่อเราได้ทำการลงทุนซื้อหุ้นไปแล้ว ขั้นตอน ต่อมา คือ การติดตาม ความเป็นไปของ บริษัท ที่คุณได้ลงทุนไป (Stock Monitoring)
ซึ่งจากขั้นตอนกระบวนการ ก่อนหน้านี้ทั้งใน Step ที่ 1 การคัดกรองหุ้น (Screening) และ Step ที่ 2 การเลือกหุ้นลงทุน (Selection) จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนเหล่านี้ จะบังคับให้เรา ซื้อหุ้นเฉพาะบริษัทที่มี margin of safety ทั้งทางพื้นฐาน และ ทางเทคนิค เท่านั้น
กล่าวคือ ซื้อหุ้นที่มี ความได้เปรียบทางการแข่งขัน(Strength) มีการเติบโตไปในอนาคต(Growth) จนราคาปัจจุบัน ถูกมากเมื่อเทียบกับ มูลค่ากิจการในอนาคต (Valued Price) และ ซื้อในจังหวะที่เป็น”จุดเริ่มต้น” ของ trend ทางกราฟเทคนิคคอลที่เป็น Early upward trend เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อเราลงทุนไปแล้ว สิ่งที่เราคาดหวังการลงทุนทุกๆครั้ง คือ การที่บริษัทนั้นๆ มีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น ของยอดขายและกำไร ต่อเนื่องไปได้ หลายๆ ไตรมาส ให้ได้จริง ตามที่คิดเอาไว้
จนส่งผล ทำให้ราคาหุ้นนั้น เพิ่มสูงขึ้น จากจุดเริ่มต้นเทรน (ที่เราซื้อ) กลายเป็น เทรนขาขึ้นที่แข็งแรงชัดเจน (Price > EMA50 > EMA200) ต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
ดังเช่น รูปนี้
Better Earnings drive share price
ในการลงทุนที่ประสบผลสำเร็จ เราควรที่จะเห็นภาพ ลักษณะนี้ ในการลงทุนในหุ้น ทุกๆ ตัวของเรา
ดังนั้นเมื่อเราลงทุนไปแล้วนั้น สิ่งที่เราต้อง Monitor ต่อเนื่อง คือ
1. เหตุที่ว่า: พื้นฐานที่ว่าจะเติบโตนั้น จะเติบโตได้กับที่เราคาดหวังหรือไม่ มันมีความเสี่ยงอะไรที่บ้างหรือไม่
2. ผลที่ตามมา: กราฟราคาหุ้นทางเทคนิคคอล เป็นอย่างไร การเติบโตทางพื้นฐาน นั้น ช่วย ผลักดันราคา ให้เป็นเทรนขาขึ้น ไปอย่างเข้มแข็ง ได้ตามที่เราหวัง ได้หรือไม่
ในการ monitoring นี้คือการติดตาม เหตุที่พื้นฐานก่อน ดูว่า สมมติฐาน การคาดการณ์ตัวเลข การเติบโตของยอดขาย จนถึงกำไร ของบริษัท ที่เราได้เคยทำ financial projection เอาไว้ในขั้นตอนที่ 2 (Stock Selection) ว่ายัง “น่าจะ” เป็นไปตามนั้น อยู่หรือไม่ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป สมมติฐานเหล่านี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง โดยเราสามารถแบ่งการติดตามออกเป็น 2 ช่วง คือ
1. ช่วงเวลา ก่อนงบการเงินจะออก : เราควร พยายามหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ให้มากที่สุด ว่าบริษัทจะเติบโต ได้จริง ตามที่คาดหวังหรือไม่ และ บริษัทจะมีความเสี่ยง อะไรหรือไม่ ที่จะทำให้ ไม่เติบโตได้ดังหวัง โดยเรา จะต้องพยายามหาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เช่น
a. Leading indicators : ภาพรวมของยอดขาย ซึ่งอาจจะติดตามจาก ข้อมูลอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับหุ้นที่เราลงทุน ทั้งตัวเลขจากภาครัฐ หรือ สมาคมการค้าในอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่มีตัวเลข report รายเดือน หรือ รายไตรมาส โดยพยายามหาตัวเลขที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับบริษัทให้มากที่สุด
b. Leading indicators : ต้นทุน ดูว่าต้นทุนหลักๆ ของบริษัทคืออะไร และติดตามการราคา ของต้นทุนนั้นๆ เพื่อประเมิน ระดับ gross profit margin ของเราว่ายังสมเหตุ สมผลหรือไม่
c. ลงสนามดูพื้นที่ของจริง ดูว่าสินค้าที่ขาย โดยเฉพาะ ตัวที่จะเป็น growth driver เป็นอย่างไร มีโอกาสจะดันให้ยอดขายโตได้หรือไม่ สภาพการแข่งขัน เป็นอย่างไร คู่แข่งทำอะไรบ้างในตลาด ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเราหรือไม่
d. ประเมิน ข้อมูลข่าวสาร กฏเกณฑ์ การส่งเสริมทางภาพรัฐ ที่อาจจะส่งผลทั้งบวกและลบ ต่อธุรกิจ
e. อ่านบทวิเคราะห์จาก โบรกเกอร์ต่างๆ ที่ได้มีโอกาส เข้าไปเยี่ยมบริษัทต่างๆ ว่าเค้ามี ข้อมูลอะไรน่าสนใจ จากการเข้าไปพูดคุยกับบริษัทบ้าง
ขั้นตอนนี้ สำคัญอย่างมาก เราต้องเอาข้อมูลที่ได้มาใหม่นี้ เทียบกับ สมมติฐานแรกที่เราได้ให้ไว้ก่อนการลงทุน ว่ามีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ดีขึ้นหรือแย่ลง เราควรจจะมีภาพ คร่าวๆ ไว้ว่า งบออกแล้วจะเป็นอย่างไร
เพราะ หากมีอะไรผิดคาด บริษัทอาจจะไม่ได้ โตไปต่อเนื่อง อย่างที่เรามองเอาไว้ตอนแรก หรือ ไม่ได้ดีขนาดที่เราคิด เราจะได้ตัดสินใจได้ทัน ก่อนที่งบการเงินจะออก
2. ช่วงเวลา หลังงบการเงินออก : นี่เป็นช่วงเวลาความเป็นจริง ที่ใช้ในการตรวจสอบดูว่า สิ่งที่เราคาดไว้ถูกต้องหรือไม่
a. งบการเงิน: เมื่องบออกมาแล้ว เราคาดหวังว่าบริษัทจะมีการเติบโตของยอดขายและกำไร ให้เป็นไปตาม หรือ ดีกว่าที่คาดไว้ในตอนแรกที่ลงทุน
อย่างไรก็ตาม หาก ผลการดำเนินงาน ออกมาผิดคาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากที่บริษัทไม่เติบโต หรือ ผลการดำเนินงานที่แย่ลง แสดงว่า เหตุผล และ สมมติฐานต่างๆ ที่เราคาดเอาไว้ในตอนแรกที่ลงทุนไป นั้นผิดตั้งแต่แรก (และเราก็ยังดูไม่ออก อีกตั้งแต่ ช่วงการติดตาม ก่อนงบการเงินจะออก) ซึ่งจะควรจะต้อง ดูเหตุผล ว่าทำไปถึงเป็นเช่นนั้น และ ทบทวนการตัดสินใจของเรา ว่าบริษัทนั้นๆ ยังเป็นการลงทุนที่ดีอยู่หรือไม่ หรือ เราเข้าใจบริษัทนั้นๆ เพียงพอหรือไม่
b. ดู Outlook ในอนาคต เราสามารถติดตามดูพัฒนาการใหม่ๆ ในอนาคต ทั้งจาก MD&A บทสัมภาษณ์ในสื่อต่างๆ รวมถึงการให้ข้อมูลของบริษํทผ่าน opportunity day และ บทวิเคราะห์ จากโบรกเกอร์ ที่ได้เข้าไปคุยกับบริษัทหลังงบการเงินออก เพื่อทำการ ดูว่า บริษัทมี พัฒนาการอะไรบ้าง เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ การเจาะตลาดใหม่ๆ และประเมินว่า จะสามารถสร้างการเติบโต ใหม่ๆ ต่อๆ ไปได้ หรือไม่ มากหรือน้อยเท่าไหร่ และ ยาวนาน แค่ไหน
เมื่อเราดู เหตุพื้นฐานที่น่าจะทำให้หุ้นขึ้น มูลค่ากิจการของบริษัทนั้นๆ สูงขึ้นแล้ว ต่อมาคือ การติดตาม ดูผล ว่า ราคาหุ้นตอบสนอง หรือไม่ ทางกราฟทางเทคนิคคอล นั้นเป็นเช่นไร
โดย สิ่งที่เราคาดหวังคือ ให้ราคาหุ้นอยู่ใน bullish phase คือ Price > EMA50 > EMA200 ต่อเนื่องแบบมีความชันเป็นขาขึ้น ไปเรื่อยๆ ตราบในที่ พื้นฐานยังมีการเติบโตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงก่อน และ หลังที่งบการเงินออก พื้นฐานที่ดีขึ้นควรจะผลักดันให้ราคายังเป็นขาขึ้นได้อยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่หลุดเทรนลงมา หรือ ถ้าหลุดเทรน ลงมา ก็จะสามารถกลับตัวขึ้นไปอยู่เป็นเทรนขาขึ้นได้ในระยะเวลาที่ไม่นานนัก
ในการลงทุนทุกๆ ครั้ง เราคาดหวังว่า เราจะอยู่ในสถานการณ์ที่ พื้นฐานต้องดีขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง และ ราคาหุ้นต้องสูงขึ้นเป็นขาขึ้น upward trend ขึ้นไปเช่นกัน แบบนี้ จะถือว่าบรรลุ วัตถุประสงค์ในการลงทุน ของเรา เป็นการลงทุนที่ประสบผลสำเร็จ
แต่อย่างไรก็ตาม ในการลงทุนแต่ละครั้ง เราจะไม่ได้เห็นภาพที่สวยหรู ตามที่เราคาดหวังได้เสมอไป บางครั้ง งบออกมาแย่กว่าที่เราคาด บางครั้งอยู่ๆ ราคาหุ้นก็ปรับตัวลง เข้าสู่เทรนขาลง โดยที่เรา(ยัง)มอง ไม่ออกว่าพื้นฐานแย่ลงแต่อย่างไร เป็นต้น
โดยผมขอแยก สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น หลังจากที่เรา ลงทุนไปแล้ว ออกเป็น 4 แบบ ดังต่อไปนี้
1. Improving Fundamental / Great Technical คือ พื้นฐานดีขึ้น กราฟสวย เป็นเทรนขาขึ้น
2. Improving Fundamental / Poor technical คือ พื้นฐาน(ยังดู) ดีขึ้น แต่ กราฟตกจากเทรนขาขึ้น
3. Deteriorating Fundamental / Great technical คือ พื้นฐานแย่ลง แต่ กราฟยังอยู่ในเทรนขาขึ้นอยู่
4. Deteriorating Fundamental / Poor technical คือ พื้นฐานแย่ลง และ กราฟตกจาก เทรนขาขึ้น
ซึ่งเราควรจะทำอย่างไรในแต่ละสถานการณ์นี้ เราจะปรับพอร์ตอย่างไรใน สถานการณ์ต่างๆ โดย ผมจะขออธิบายในขั้นตอนต่อไป คือ ขั้นตอนการ EXIT หรือ การขาย ครับ
ติดตามกันได้ในบทความต่อไปนะครับ
ขอบคุณครับ
Alpha Investing
5 November 2022

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา