6 พ.ย. 2022 เวลา 03:16 • สุขภาพ
วันนี้มีเรื่องเล่าสั้นๆมาฝาก มีตันเหตุมาจากน้องเภสัชคนนึงที่มา comment ในเรื่องเล่าก่อนหน้านี้ ทำให้ฉันย้อนคิดไปถึงหลายปีที่แล้ว ที่ฉันยังทำงานอยู่ในห้องยา ซึ่งตอนนั้นเป็นห้องยาที่จ่ายยาเฉพาะสำหรับคนไข้ที่ใช้สิทธิ์ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ ที่เราเรียกกันทั่วไปว่าสิทธิ์ 30 บาท ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรค เรื้อรัง
ในวันหนึ่งได้จ่ายยาอินซูลินให้กับผู้สูงอายุท่านหนึ่ง และได้สุ่มสอบถามการใช้ยาอินซูลินกับคนไข้ เนื่องจากปริมาณ ที่ฉีดน้อยแต่ยาหมดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น จึงลองสุ่มถามดู ปรากฏว่าผู้ป่วยเข้าใจผิดเรื่องการใช้อินซูลิน
หน่วยของยาฉีด อินซูลินเป็นยูนิต (u )
syringe insulin ทั่วไป จะมี 2 ขนาด คือ 1 ml (100 u) 1ขีด = 2 ยูนิต กับ 0.5 ml ( 50 u) 1 ขีด = 1ยูนิต
โดยให้ผู้ป่วยลองทำให้ดูว่า ดึงเข็มลงมากี่ขีด syringe insulin ที่ใช้เป็นขนาด 1ml ที่ห้องยามีแบบเดียว
 
สำหรับผู้ป่วยท่านนี้ จะต้องฉีดแค่ 8 ยูนิต ถ้าเป็นไซริงค์ขนาด 1 ML ก็คือแค่ 4 ขีด( 1 ขีด= 2 ยูนิต) แต่ผู้ป่วยไม่เข้าใจคำว่า ยูนิต คืออะไร จึงเข้าใจว่า ต้องดูดยา 8 ขีด คือ เท่ากับ 16 ยูนิต
สรุปผู้ป่วยน่าจะฉีดผิดมาสักระยะแล้ว แต่ แต่ไม่มีอันตรายอะไรเพราะว่าเนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะน้ำตาลในเลือดไม่ได้ต่ำมากอยู่แล้ว
สุดท้าย จึงต้องโทรไปหาปรึกษาแพทย์เพื่อปรับวิธีการใช้ยาใหม่แล้วก็ลงบันทึกในประวัติการใช้ยาของคนไข้ใหม่ว่าคนไข้ฉีดเท่าไหร่จริงๆ แต่ในปัจจุบัน น่าจะง่ายขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่ฉีดยาอินซูลิน เพราะมีแบบปากกา ใช้สะดวกกว่า และเจ็บน้อยกว่า
เรื่องเหล่านี้จะพบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุเพราะฉะนั้น ถ้าในบ้าน มีผู้ป่วยผู้สูงอายุอยู่ด้วย คอยสังเกตความผิดปกติ สอบถาม ดูแลการใช้ยาของท่านสักนิดนึง เพื่อความปลอดภัยของคนที่เรารัก☺
โฆษณา