7 พ.ย. 2022 เวลา 11:30 • ธุรกิจ
เกิดอะไรขึ้นกับ Twitter ภายใต้การบริหารของ Elon Musk
หลังจากที่ Twitter ถูกซื้อโดย Elon Musk เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นกับ Twitter มากมาย เกิดอะไรขึ้นบ้าง มาลองดูกันครับ
เปิดตัวด้วยอ่างล้างหน้า
ในวันที่ 14 เมษายน 2022 Musk ประกาศกับชาวโลกว่าเขาจะเข้าซื้อ Twitter ซึ่งเป็นบริษัทสื่อสังคม Online ระดับโลกหลังจากการปะทะคารมกันมากมายระหว่างผู้ถือหุ้นเดิมและ Musk เรื่องการที่เขาจะเข้าซื้อ Twitter ในราคาที่ค่อนข้างสูง ท้ายที่สุด Musk สามารถบบรลุข้อตกลงและเข้าซื้อ Twitter ได้แล้วเสร็จในวันที่ 27 ตุลาคม 2022 ด้วยเงินสูงถึง 44,000 ล้านเหรียญ
1
สิ่งแรกที่ Musk ได้ทำคือไปเยือนสำนักงานใหญ่ของ Twitter โดยแบกอ่างล้างหน้า (Sink) ไปด้วย โดยเขาต้องการแสดงสัญลักษณ์ให้ประชาคมโลกได้รับรู้และซึมทราบ (Sink in) ว่าเขานี่แหละเป็นเจ้าของ Twitter อย่างแท้จริง นอกจากแสดงความ “เกรียน” แบบประชดประชันแล้ว เขาก็ได้ไล่คุณ Parag Agrawal และ Rahul Ligma ผู้บริหารระดับสูงของ Twitter ออกทันที
การปรับโครงสร้างของ Twitter อย่างรุนแรงเพราะรายได้หดกำไรหาย
นอกจากผู้บริหารแล้ว Musk ยังเปลยออกมาว่า Twitter นั้นมีพนักงานมากเกินไป คนที่เขียน code มีผู้ดูแลหลายลำดับขั้นและซ้ำซ้อนกันอย่างน่าตกใจ เขาได้ประกาศว่าจะมีการเลิกจ้างพนักงานครั้งใหญ่ทั่วโลกซึ่งจะส่งผลให้พนักงานอย่างน้อย 7,500 คนว่างงานโดยพลัน โดยทาง Musk สำทับว่าจะปล่อยให้บริษัทขาดทุนวันละ 4 ล้านเหรียญแบบนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว
ปัญหาอีกประการของ Twitter คือบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น General Mills, Audi และ General Motors เริ่มลดการโฆษณาบน Twitter ทำให้รายได้ของ Twitter ลดลงอย่างมาก แม้ว่าหลายฝ่ายมองว่ารายได้ที่ลดลงมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่นักวิเคราะห์บางที่คาดว่าเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เลือกที่จะหยุดการโฆษณาเพราะต้องการจับตาการบริหารสุดปั่นของ Musk ก่อน
นอกจากนี้ Musk ยังพยายามจะหารายได้เพิ่มโดยจะเริ่มคิดค่าบริการ verified users (ยืนยันว่า account นี้เป็นของจริงโดยมีตราเครื่องหมายถูกสีฟ้า) โดยคิดค่าบริการที่ราคา 19.99 เหรียญต่อเดือน ในความเป็นจริงหากมีคนดังหรือบริษัทที่ยืนยันตัวตนจำนวนมากจะทำให้ Twitter เป็นสื่อสังคม online ที่น่าใช้มากขึ้นเพราะมีความน่าเชื่อถือ แต่การคิดค่าบริการดังกล่าวอาจทำให้การยืนยันตัวตนลดลง และกระทบกับ Twitter ในระยะยาวได้
ความเป็นไปได้ของ Twitter ในอนาคต
ในระยะสั้นถึงระยะกลาง มีความเป็นไปได้สูงที่ Musk จะออกนโยบายต่างๆ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับ Twitter ให้มากที่สุด ในเบื้องต้นเขาอาจนำวิศวกร หรือเจ้าหน้าที่จะ Tesla หรือ SpaceX เข้ามาช่วยตรวจสอบและพัฒนา Twitter ให้ดีมากขึ้น? นอกจากนี้อาจจะมีนโยบายเพิ่มเติมเพื่อหารายได้เข้า Twitter ผ่านทางการปรับ algorithm และหรือการเพิ่มโฆษณาให้มากขึ้น
นอกจากนี้สิ่งที่ Musk ต้องเผชิญคือการแก้ไขปัญหาข้อความที่สร้างความเกลียดชัง หรือไม่เหมาะสมบน Twitter ให้น้อยลง เนื่องจาก Twitter ขึ้นชื่อในเรื่องความสะดวกในการ update ข่าวสาร จึงเป็นสื่อ Social media ต้นๆ ที่คนมักจะใช้ในการสื่อสารข่าวแบบรวดเร็ว
ผลที่ตามมาคือการเผยแพร่ข้อความที่สร้างความแตกแยก เหยียดเชื้อชาติ ข้อความที่หมิ่นเหม่หรือสุดโต่งทางการเมืองและสังคม ไปจนถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงหรือทางเพศ ซึ่งมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อาจโดนข้อกฎหมายหรือระเบียบแต่ละประเทศเล่นงานเอาได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ถัดมาคือการพัฒนาศักยภาพของ Twitter ให้เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สื่อสังคม online มากขึ้น นักวิเคราะห์มองว่าผู้ใช้ Twitter เพียง 10% เท่านั้นที่สร้าง content และ Tweet ข้อความกว่า 90% บนระบบ นั่นหมายความว่าหากไม่สามารถรักษากลุ่มผู้เล่นรายหลักและดึงดูดใช้งานรายใหม่ Twitter มารันวงการ Twitter ก็จะค่อยๆ หดตัวลงไปเรื่อยๆ
วิบากกรรมของ Twitter เมื่อผู้ก่อตั้งกลายเป็นคู่แข่ง
เรื่องสุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือเรื่องคุณ Jack Dorsey อดีตผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Twitter ได้ประกาศทดสอบ Social media ตัวใหม่ของเขาที่ชื่อ Bluesky Social ซึ่งเป็น platform กระจายศูนย์ (Decentralized) แบบเดียวกับ Blockchain ทำให้ไม่ต้องมี server กลางกันเลยทีเดียว Bluesky Social version Beta เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้ามาลองได้ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากถึงกว่า 3 หมื่นคนภายในเวลา 48 ชั่วโมงหลังเปิดการรับสมัคร
นอกจาก Bluesky แล้ว อีกหนึ่ง Social media ที่อดีตชาวนกฟ้าก็สนใจไม่แพ้กันคือ Mastodon ที่มีจุดขายคือ “ไม่ได้มีไว้ขาย” เพราะ Mastodon จะเป็นแหล่งที่คุณและเพื่อนของคุณได้สื่อสารกันโดยคุณเป็นผู้สร้างสังคมของคุณเอง อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะไปทางไหน เหล่าอดีตสหายนกฟ้าก็ต้องเรียนรู้ระบบใหม่ไปอีกสักระยะ
โฆษณา