8 พ.ย. 2022 เวลา 12:23 • ธุรกิจ
สุกี้ตี๋น้อย ขายกิจการ 30% ให้ JMART 1,200 ล้าน แต่อาจขายถูกไป
2
ถือว่าเรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่ของวันนี้ JMART ซื้อหุ้นสุกี้ตี๋น้อย 30% ใช้เงิน 1,200 ล้านบาท ซึ่งดูเหมือนว่าใช้เงินมาก แต่จริง ๆ แล้ว หลายคนบอกว่า สุกี้ตี๋น้อย ขายถูกไป ถ้าเอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เอง จะได้เงินสดเยอะกว่านี้มาก
2
เรามาดูการวิเคราะห์กันว่า ทำไมสุกี้ตี๋น้อย ถึงขายถูกไป และถ้าเอาบริษัท IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์เอง จะมีโอกาสได้เงินสดมากขนาดไหน
4
ลงทุนแมนจะวิเคราะห์ให้ฟัง
1
เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา JMART หรือ บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้เข้าลงทุนใน ร้านสุกี้ตี๋น้อย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 42 สาขา เป็นจำนวน 352,941 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 30% คิดเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะดำเนินดีลนี้ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือน ธ.ค. 2565
หมายความว่า JMART ประเมินมูลค่าของสุกี้ตี๋น้อยทั้งกิจการ ไว้ที่ 4,000 ล้านบาท
2
โดย JMART มองว่าสุกี้ตี๋น้อย ยังมีศักยภาพที่จะขยายสาขาในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดได้อีกมาก รวมถึงสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในอนาคต
สำหรับผลประกอบการของ บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด
2
ปี 2562 รายได้ 499 ล้านบาท กำไรสุทธิ 15 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 1,223 ล้านบาท กำไรสุทธิ 140 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,572 ล้านบาท กำไรสุทธิ 148 ล้านบาท
1
จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา สุกี้ตี๋น้อยเติบโตอย่างต่อเนื่อง
คิดเป็นรายได้เติบโตเฉลี่ย 77%
กำไรเติบโตเฉลี่ย 214%
1
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเติบโตที่สูง ทั้ง ๆ ที่ช่วงที่ผ่านมาเราเจอกับโควิด 19 ที่ร้านอาหาร ไม่สามารถดำเนินกิจการได้เป็นปกติ
3
แล้วราคานี้ JMART ซื้อถูกหรือแพง ?
1
ถ้าคิดมูลค่าบริษัทของสุกี้ตี๋น้อยที่ 4,000 ล้านบาท
หากใช้กำไรในปี 2564 ที่ 148 ล้านบาท จะสามารถตีออกมาเป็น P/E ที่ 27 เท่า
4
เปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในตลาดอย่าง สุกี้ MK ที่ปัจจุบันซื้อขายกันที่ P/E 63 เท่า (ในปีที่ผ่านมา MK มีร้านส่วนใหญ่อยู่ในห้างซึ่งประสบปัญหาสถานการณ์โควิด 19 อาจจะยังใช้ P/E มาเปรียบเทียบ ได้ไม่ชัดเจนนัก)
3
แต่ก็ถือว่า สุกี้ตี๋น้อย มีราคา P/E ที่ถูกกว่า กิจการสุกี้ MK อยู่ในระดับหนึ่ง
2
ดังนั้น ถ้าให้เทียบในมุมมองที่ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วยตนเอง
1
ซึ่งไม่กี่วันก่อน ก็จะมีคลินิกความงาม The Klinique หรือ KLINIQ เข้าตลาดหุ้น ล่าสุดก็ยังซื้อขายกันที่ P/E 53 เท่า
2
ดังนั้น ถ้าสุกี้ตี๋น้อย ถูกประเมินให้มี P/E ที่ 53 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับ KLINIQ บริษัทสุกี้ตี๋น้อยก็จะมีมูลค่าสูงถึง 7,844 ล้านบาท ประมาณ 2 เท่ากับมูลค่าที่ JMART เข้ามาลงทุน..
4
และนั่นก็หมายความว่าสุกี้ตี๋น้อยจะได้เงินสดมา 2,353 ล้านบาท แทนที่จะได้เพียง 1,200 ล้านบาท ซึ่งด้วยแบรนด์ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วไปอย่างสุกี้ตี๋น้อยแล้ว น่าจะมี P/E อย่างน้อยในระดับ 53 เท่าได้ไม่ยาก เพราะยังมีช่องว่างในการเติบโตได้อีกมาก
2
ถ้าจะให้คาดการณ์ว่าทำไมสุกี้ตี๋น้อยถึงยอมขายหุ้นที่ได้เงินน้อยกว่า IPO เอง ก็อาจจะมีหลายเหตุผล
3
โดยก่อนเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าดีลนี้แบ่งเป็น 2 ก้อน
1
ก้อนแรกเป็นการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม
ส่วนก้อนสองเป็นการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
1
นั่นก็หมายความว่าคนที่ได้รับเงินสด จะมีทั้งผู้ถือหุ้นเดิม และตัวบริษัท
1. การที่บริษัทต้องการเงินทุน ก็อาจแปลว่าบริษัทต้องการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วในตอนนี้ ซึ่งไม่สามารถรอ IPO ที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมตัว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการซื้อเวลาในการเร่งขยายธุรกิจ
3
แต่เท่าที่ดูลักษณะธุรกิจของสุกี้ตี๋น้อย เป็นการรับเงินสด และจ่ายเครดิตให้คู่ค้า กระแสเงินสดของ สุกี้ตี๋น้อย น่าจะไม่มีปัญหา และสุกี้ตี๋น้อยน่าจะกู้เงินเพื่อขยายกิจการได้ไม่ยาก ซึ่งก็น่าสงสัยว่าทำไมต้องรีบขยายธุรกิจด้วยการรับเงินสดจาก JMART
7
2. เจ้าของสุกี้ตี๋น้อยอาจมองเห็นว่าธุรกิจนี้ไม่ง่าย มีการแข่งขันสูง กำไรอาจยืนระยะไม่ได้ และอยากล็อกมูลค่ากิจการ โดยการขายหุ้นส่วนหนึ่งออกมาก่อน และสามารถนำเงินสดที่ตัวเองได้รับไปทำธุรกิจอื่น ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง สรุปก็คือตัวเจ้าของเองไม่ได้มองว่าธุรกิจนี้ดี อย่างที่หลายคนทั่วไปมองว่าดี
9
3. เจ้าของเดิมอาจมองเห็นว่า JMART สามารถให้ Synergy อะไรบางอย่างแก่ร้านสุกี้ตี๋น้อยได้ แต่จนถึงตอนนี้ยังมองไม่ออกว่า JMART ซึ่งทำธุรกิจตามเก็บหนี้ และจัดจำหน่ายอุปกรณ์มือถือ จะมี Synergy อะไรกับร้านสุกี้ตี๋น้อย
7
4. อาจเป็นไปได้ว่าเจ้าของสุกี้ตี๋น้อยยังไม่มั่นใจว่าการระดมทุนเองในตลาดหลักทรัพย์จะเป็นไปอย่างราบรื่น หรือยังไม่มั่นใจว่าบริษัทจะได้เงินจาก IPO มากกว่าการขายหุ้นให้ JMART ซึ่งบริษัทอาจติดปัญหาภายในบางอย่างที่ไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ง่ายนัก
1
ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องติดตามการให้สัมภาษณ์ของเจ้าของสุกี้ตี๋น้อยต่อไป
หลายสำนักข่าวก็น่าจะถามแน่ ๆ
ว่าทำไมถึงเลือกที่จะขายหุ้น 30% ของร้านสุกี้ตี๋น้อย ในราคาที่ถูกกว่า การ IPO บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ด้วยตัวเอง..
3
โฆษณา