21 พ.ย. 2022 เวลา 02:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เมื่อโลกของ เ ค มี ก็มี “ความยุติธรรม” ⚖️🤏🥰
หลายคนที่ติดตามเพจลูกชิ้นหนีเรียนใน Facebook ก็คงทราบกันดีว่าแอดติดซีรี่ย์เรื่อง Law School อย่างหนักถึงขั้นที่ว่า “เดินไปคณะนิติศาสตร์” เพื่อไปเชยชมบรรยากาศ 😗
ep นี้สัญญาว่าจะไม่มีสมการเคมียั้วเยี้ยเหมือนหน้าปก 😂 และ ep ก่อน ๆ
มีคำพูดหนึ่งในซีรี่ย์ ที่อธิบายถึงรูปปั้น Justice มีมือซ้ายถือตาชั่ง มือขวาถือดาบ และถูกปิดตาด้วยผ้า ไม่ว่าใครที่ทำผิด เทพีพร้อมจะฟันดาบเพื่อลงโทษผู้กระทำผิด แม้ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อน คนใหญ่คนโต ทุกคนล้วนได้รับความยุติธรรม
โลกของเคมีก็มีความยุติธรรมนะเออ
ผู้คนล้วนโหยหาความยุติธรรมให้แก่ตนเอง ไม่ต่างอะไรกับสสารที่ล้วนหาความยุติธรรมเช่นกัน ซึ่งในวิชาเคมีได้อธิบายเรื่องนี้ผ่านกฎของเลอชาติเย (Le Chatelier’s Principle) ซึ่งในที่นี้แอดขอเรียกว่า “แชทเลีย” เพราะแอดเพิ่งรู้ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศส 😂😅
ก่อนจะพูดถึงหลักของแชทเลีย ของพูดถึงการเขียนสิ่งที่เรียกว่า สมการเคมี เสียก่อน
สมการตามที่เราได้ยินตั้งแต่เด็ก ๆ ในวิชาคณิตศาสตร์นั้นจะพูดถึงความเท่ากันของทั้งสองข้างระหว่างเครื่องหมายเท่ากับ “=“
หรืออธิบายง่าย ๆ ว่ามันเหมือนการชั่งน้ำหนักของทั้งสองข้างโดยที่ตาชั่งต้องไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ⚖️
สมการคณิตศาสตร์อาจใช้ตัวแปร (ที่มีความหมายบางอย่าง) คูณกับเลขสัมประสิทธิ์ (บอกจำนวนเท่า) เพื่อแทนความหมายค่าหรือฟังก์ชันบางอย่าง
แต่ในทางเคมีเราใช้สัญลักษณ์ธาตุ (บอกว่าเป็นธาตุหรือสสารอะไร) คูณกับเลขสัมประสิทธิ์ (บอกจำนวนโมล) เพื่อบอกที่มาที่ไปของสสาร
พูดง่าย ๆ คือ สาร A ปริมาณเท่าไหร่ เจอกับ สาร B ปริมาณเท่าไหร่ แล้วจะทำให้เกิดสาร C และ D ปริมาณแค่ไหน !?
ตาชั่งแห่งความสมดุลของเคมี
แน่นอนว่า โลกของเคมีไม่มีทางที่จะยอมให้เกิดความเสียเปรียบของสารใดสารหนึ่ง
ผมขอนิยามค่าที่มองไม่เห็น ผมขอเรียกว่า “ค่าตัวของสาร” ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนได้ถูกต้องตามกฎหมายของโลกเคมี และค่าตัวของสารย่อมไม่เท่ากัน
(ไม่มีใครรู้ว่าวิทยาศาสตร์ที่เราเรียนมามันถูกหรือผิด เพราะตอนสร้างวิทยาศาสตร์คนอื่นก็ทำแบบผมนั่นแหละ ✌️😂)
ค่าตัวของสารทำให้ตาชั่งนี้สมดุลได้ ถ้าเขียนเป็นสมการก็จะได้เป็น 4A+5B —> 2C+3D
เมื่อแอดลูกชิ้นรู้สึกอยากได้ A เพิ่มในการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ แอดจึงใส่ D เข้าไปเพิ่มอีก ทำให้ตาชั่งเอียงลงทางขวาใช่ไหมครับ ?
เพื่อความยุติธรรม ทางศาลของเคมีจึงสั่งให้ทางซ้ายเพิ่มสาร A และ D ให้สมน้ำสมเนื้อ แต่อย่างที่ทราบว่าสาร C ก็มีความสัมพันธ์กับ D แล้วเอาของเสียที่ทำปฏิกิริยากันออก ทำให้น้ำหนักทางขวาก็ลดลงด้วย ทางซ้ายก็เพิ่มขึ้นเพราะต้องเติมของ
จนน้ำหนักเท่ากัน…นั่นแหละครับหลักของเลอแชทเลีย
แอดขอสรุปง่าย ๆ คือ มองทุกอย่างให้เป็นของมีน้ำหนัก เอาไปชั่งข้างไหนข้างนั้นจะลดต่ำลง ต้องเติมของอีกข้างและเอาของเสียจากข้างที่เติมออก 🤏
นี่แหละครับ ความยุติธรรมในโลกเคมี ⚖️
ep นี้มาสั้น ๆ ครับ 😖
หวังว่าจะสนุกกันน้าค้าบบ บะบุยยย 😗
โฆษณา