17 พ.ย. 2022 เวลา 03:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปรวม SSF & RMF เหมาะกับใคร? เลือกแบบไหนให้โดนใจ
🧐 คนวัยทำงานที่ต้องเสียภาษี
เคยสงสัยไหมว่าควรจะเลือกลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีอะไรดี
จะเลือก SSF หรือ RMF ดีนะ แล้วทั้ง 2 อย่างนี้ ต่างกันอย่างไร
แล้วจะเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการจริง ๆ ไม่ใช่แค่ซื้อเพียงเพราะต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพียงอย่างเดียว
👉 สิ่งที่ผู้ลงทุนควรรู้เป็นอันดับแรก ก็คือ ต้องรู้เป้าหมายการลงทุนของเราให้ชัดเจนเสียก่อน แล้วค่อยดูว่าแมตช์
กับกองทุนประเภทไหนมากกว่ากัน
อย่างเช่น ถ้าเรามีเป้าหมายการลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนไม่ได้ต้องการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีต่อเนื่องทุกปี เช่น คนที่ทำอาชีพอิสระ มีรายได้ในแต่ละปีไม่สม่ำเสมอ การลงทุนในกองทุนรวม SSF จึงน่าจะตอบโจทย์มากกว่า
เพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่สำหรับผู้ลงทุนที่มีเป้าหมายลงทุนระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ การลงทุนในกองทุน RMF นั้นเหมาะสมมากกว่าแน่นอน เพราะด้วยเงื่อนไขที่กำหนดให้ต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้นได้ไม่เกิน 1 ปี) ก็จะช่วยให้เราเกิดความสม่ำเสมอในการลงทุน เป็นการสะสมความมั่งคั่งที่ดีได้ในระยะยาว
พอรู้เป้าหมายการลงทุนของตัวเองแล้ว คงทำให้หลายคนพอที่จะตัดสินใจได้บ้างว่าจะเลือกลงทุนในกองทุนประเภทไหน อย่างนั้นเรามาดูกันต่อว่าเราจะเลือกลงทุนอย่างไรดี
👉 หัวใจสำคัญในการเลือกลงทุนนั่นก็คือ
ต้องพิจารณาเรื่องความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ ควบคู่ไปกับพิจารณาเรื่องของเทรนด์การลงทุนในอนาคตด้วย โดยอาจเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายสอดคล้องไปกับเทรนด์โลก เช่น
- เทคโนโลยี
ตอนนี้ถือว่ากำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรง และกำลังเติบโตอยู่ในหลาย ๆ หมวดอุตสาหกรรม อย่างเช่น FinTech ที่ไม่ได้จำกัดการเติบโตอยู่ที่สถาบันการเงินเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ e-Commerce อีกด้วย
- พลังงานสะอาด
หลาย ๆ อุตสาหกรรม พยายามที่จะขับเคลื่อนธุรกิจของตัวเองด้วยการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) โดยสิ่งเหล่านี้เป็นการเคลื่อนไหวตามเทรนด์โลก และส่วนหนึ่งก็มาจากแรงผลักดันทางการเมืองของภาครัฐ ในหลาย ๆ ประเทศตามข้อตกลงที่มีร่วมกัน
ดังนั้น การเลือกลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็น SSF หรือ RMF จึงควรเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายสอดคล้องไปตามเทรนด์โลก เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนระยะยาว และช่วยให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายในการลงทุนได้
ปัจจุบัน BBLAM ได้มีกองทุนรวมลดหย่อนภาษีให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในกลุ่มเทรนด์แห่งอนาคตอย่างเทคโนโลยี และพลังงานสะอาด อย่างเช่นกองทุน
📌 B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF
ลงทุนในกองทุนหลักที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทด้านเทคโนโลยีทั่วโลก เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน
🌟 ข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม:
📌 B-SIPRMF และ B-SIPSSF
ลงทุนในธุรกิจทั่วโลกที่มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และธุรกิจที่ส่งเสริมเรื่องการใช้พลังงานสะอาด
ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว
🌟 ข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม:
ทั้งนี้ ก่อนที่จะลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษี อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการซื้อ และข้อกำหนดในการขายคืน เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนสามารถลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ
และสำหรับผู้ลงทุนกองทุน RMF และ SSF ผ่านช่องทางของธนาคารกรุงเทพ สามารถชำระเงินลงทุนผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพได้อีกด้วย
ลูกค้า โมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ เลือกเพื่อลงทุนได้เลย คลิกลิงก์ https://www.bangkokbank.com/.../Save-And-Invest/Mutual-Funds
หรือลงทุนผ่าน BF Fund Trading จาก BBLAM ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://tinyurl.com/kfsebd74
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวน ได้ที่ BBLAM โทร 0 2674 6488 กด 8 www.bblam.co.th
หรือตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333
บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง โทร. 0-2231-3777 or 0-2618-1000
บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต โทร. 0-2777-8999
บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน โทร. 0-2638-5500
บจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส โทร. 0-2680-1234
บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) โทร. 0-2635-1700
บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2305-9449
บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) โทร. 0-2657-7000
บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี โทร. 0-2659-7000
บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) โทร. 0-2658-8889
บจ.หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์โทร. 0-2949-1000
บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา โทร. 0-2026-5100 กด 1
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า
ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
โฆษณา