19 พ.ย. 2022 เวลา 03:30 • สุขภาพ
"ประกันสังคม" หรือ "Social Security" คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?
ประกันสังคม หนึ่งในชื่อที่คนวัยทำงานได้ยินตั้งแต่เริ่มเข้างาน และได้เห็นซ้ำๆ จากการหักเงินออกจากเงินเดือนไปทุกๆเดือน
ในวันนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้มาบอกเล่าเรื่องราวของ "ประกันสังคม" ให้เพื่อนๆได้ทราบ
ถ้าจะสรุปง่ายๆ ประกันสังคม หักเงินจาก “ผู้ประกันตน” (ลูกจ้าง อย่างเราๆ) เพื่อเป็น “เงินสมทบ” เข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งเป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนที่มีปัญหา หรือมีความเดือดร้อนเช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะหฺ์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ผู้ประกันได้รับการรักษาพยาบาลและมีการชดเชยรายได้
นอกจากการทุนประกันสังคมที่เราคุ้นหูแล้วยังมี “กองทุนเงินทดแทน” ซึ่งเป็นกองทุนที่มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างเมื่อประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งจัดเก็บตามลักษณะความเสี่ยงภัยในการทำงาน
เนื่องจากเป็นกองทุนที่ลูกจ้าง ไม่ได้จ่ายเงิน และต้องเกิดอันตรายก่อนถึงจะได้ใช้เจ้ากองทุนตัวนี้ หลายๆคนจึงไม่ได้คุ้นชินกับชื่อดังกล่าวซักเท่าไหร
“ผู้ประกันตน”
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม แบ่งออกได้ 3 ประเภท (อ้างอิงตามกฏหมายประกันสังคม)
มาตรา 33: “ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60ปีบริบูรณในวันที่เข้าทำงานและทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป”
มาตรา 39: “บุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม”
มาตรา 40: “บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39
รู้จักกองทุนประกันสังคม (ภาพจาก สำนักงานประกันสังคม)
1.ผู้ประกันตน มาตรา 33
อัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องนำส่งคำนวณจากฐานค่าจ้างต่ำสุดคือ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดย ผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) ส่งเงินสมทบ 5% ของค่าจ้าง และนายจ้างส่งเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้างลูกจ้างเช่นกัน
สิทธิประโยชน์
1.กรณีเจ็บป่วย
2.กรณีคลอดบุตร
3.กรณีทุพพลภาพ
4.กรณีเสียชีวิต
5.กรณีชราภาพ
6.กรณีสงเคราะห์บุตร
7.กรณีว่างงาน
2.ผู้ประกันตน มาตรา 39 หรือที่เรียกกันว่า ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ
ลูกจ้างที่ออกจากงานมาไม่เกิน 6 เดือน โดยมีอัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องนำส่ง 432 บาท/เดือน
โดยมีสิทธิประโยชน์ 6 กรณีเหมือนกับผู้ประกันตน มาตรา 33 (ยกเว้น กรณีว่างงาน)
3.ผู้ประกันตน มาตรา 40 ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่ได้เข้าข่าย 2 มาตราแรกที่กล่าวมา
มีอัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องนำส่งทั้งหมด 3 ตัวเลือกได้แก่ 1. 70 บาท/เดือน 100 บาท/เดือน 300 บาท/เดือน ซึ่งสิทธิประโยชน์ก็จะแตกต่างตามจำนวนเงินที่นำส่ง ดังที่สรุปในรูปภาพ
ประกันสังคมมาตรา 40 (ภาพจาก สำนักงานประกันสังคม)
โฆษณา