19 พ.ย. 2022 เวลา 15:14 • หนังสือ
The Power of Input
• Mandala Model: ตาราง 9 ช่อง -> 64 เรื่อง -> สร้างห้องสมุดข้อมูลให้สมอง และเป็นเรดาร์ให้สมองตรวจจับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยากรู้ทั้ง 64 เรื่องโดยอัตโนมัติ
1
• DIKW model: data -> information -> knowledge -> wisdom
• ข้อมูลเหมือนอาหารสด ยิ่งสดใหม่ยิ่งมีคุณค่า แต่คุณค่าจะลดลงตามกาลเวลา vs ความรู้ (ได้จากการวิเคราะห์+ทำความเข้าใจข้อมูล) ไม่ได้ลดคุณค่ามากนักแม้เวลาผ่านไป (*ในหนังสือเล่มนี้บอกว่า “สิ่งที่ได้จากอินเทอร์เน็ต+นสพ. (น่าจะหมายถึงสื่อมวลชน) คือ ข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ มิใช่ความรู้)
• 15 นาทีก่อนนอน = เวลาทองของความจำ = เวลาทองของการ input *หลีกเลี่ยงการปะทะกันของข้อมูล
• สมองเรียนรู้สิ่งใหม่ได้คราละ 3 เรื่อง อยากโลภที่จะเรียนรู้มากเกินไป -> ใช้สูตร 3 + 3 + 3 ไปเรื่อย ๆ
• การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอระดับกลาง (หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยน้อย) ช่วยเพิ่มความจำ สมาธิจดจ่อ และความคิดสร้างสรรค์
• สังคมข่าวสารยุค AI ผู้คนเหนื่อยล้าจากการท่วมท้นของข้อมูล
• input ขั้นปฐมภูมิสุด = การอ่าน -> การอ่านหนังสือ = อ่าน + เขียน หรือ อ่านแล้วเล่าให้คนอื่นฟัง
• ตั้งโจทย์ที่ต้องการไว้ล่วงหน้า (ตั้ง output) จะเป็นไกด์ไลน์ในการ “อ่านโดยละเอียด” เพื่อเก็บ สาระสำคัญมาสร้าง output = เล่าให้คนอื่นฟังรู้เรื่อง -> อภิปรายเนื้อหา/หนังสือได้ -> นำไปปฏิบัติจริงได้ผล
• อ่านโดยวางเป้าว่าจะเขียน -> ทำให้อ่านไปจดไป เตรียมร่าง content outline ไป -> เก็บสาระสำคัญได้ + จำเนื้อหาได้ดีกว่าอ่านโดยไม่จด
• อ่านเอาสาระ อ่านเพื่อพัฒนาตนเอง -> อ่านโดยละเอียด is more priority than อ่านเร็ว/อ่านเยอะ -> แต่หากทำได้ทั้งสองอย่างยิ่งดี ได้ multiply 🎯
• อ่านแล้วรีวิวให้คนอื่นอ่าน/ฟัง -> แนะนำให้เปิดเพจเพื่อรีวิวหนังสือเลย
• ฟัง แล้วจด ประเด็นสำคัญช่วย input ได้ดี
• จดด้วยมือ ได้ผลดีกว่า จดด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ * ตรงนี้ส่วนตัวคิดต่างเท่าไหร่ ระหว่าจดลงกระดาษ กับจดลงมือถือ (tweet) แต่จดลงกระดาษช่วยเชื่อมโยงประเด็นได้ดีกว่า*
• สิ่งที่น่าสนใจที่ผู้เขียนเป็นนักจิตวิทยานักเขียนชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงบอกคือ 80% ของข่าวเป็นเรื่องไม่จำเป็นสำหรับเรา/เขา เขาไม่ดูข่าวทางโทรทัศน์ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ดู TL ในเฟส 3 นาที แต่อ่านนิตยสารและหนังสือ
• “ยิ่งใช้เวลากับ social media หรือ smartphone มาก ยิ่งได้ input มาก” นั้น ❌ ผิด … เพราะยิ่งใช้เวลากับ social media และ smartphone มากเท่าไร สมาธิจะยิ่งลดลง ประสิทธิภาพการทำงาน/การเรียนรู้ลดลง ความสุขลดลง
*ยิ่งเล่น facebook นานเท่าไร ความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัย (ความอยู่ดีมีสุขที่เกิดจากความพึงพอใจต่อการดำเนินชีวิต) ยิ่งลดลง *การวิจัยโดยม.มิชิแกน 📌 คนที่เล่น social media เป็นเวลานานมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนเล่น social media น้อย 2.7 เท่า (เล่นมากเล่นน้อยวัดกันยังไง - ผู้เขียนแนะนำใช้ไม่เกิน 1 ชม.ต่อวัน!!!)
• input แล้วต้อง output ทันที -> ดึงความจำ ที่ ลงรายละเอียด, เขียนเพิ่ม, เชื่อมโยง, เรียบเรียง สรุปความ, คิดซ้ำ -> ช่วยให้จดจำได้ดีขึ้น
ปล.ตอนหยิบเล่มนี้ ชอบชื่อ และคาดหวังพลังแห่งการ input มาก และเลยหยิบพลังแห่งการ output มาด้วยจะได้ครบ
การเป็นนักข่าว นักเขียน ที่ต้องเขียน สื่อสาร ทำให้ให้ความสำคัญกับการเติมของลงสมองมาก จึงอยากรู้เทคนิคการ input อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเลือกอ่านเล่มนี้ก่อน แต่ที่จริงผู้เขียนเขียนเทคนิคการปล่อยของก่อน (แอบสงสัยในใจ เดี๋ยวอ่านจบทั้งสองเล่มน่าจะได้คำตอบ)
• หนังสือเล่มนี้ แบ่ง chapter เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน เล็กเลือกอ่าน “หัวข้อที่สนใจที่สุด” ก่อนเลย หลังจากอ่านสารบัญทั้งเล่มแล้ว (หัวข้อที่สนใจที่สุด คือ ที่รีวิวอยู่บนสุด) แล้วค่อยมาไล่อ่านหัวข้อที่สนใจรองลงมา ค่อยไล่อ่านจากหน้าแรกไปหน้าสุดท้าย
… ปรากฎว่า ตรงกับเทคนิคที่ผู้เขียนบอกพอดีเลย ให้ “อ่านข้ามไปข้ามมา” ให้เห็นเนื้อหาโดยรวมก่อน เจาะอ่านเรื่องที่สนใจ แล้วค่อยลงรายละเอียด จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาสาระของเล่มนั้นได้ดี และช่วยให้เรา “อ่านจบ” และอ่านไวขึ้น 😊
• หนังสือแบ่งเป็น 7 chapte: chapter แรก พูดถึงกฎพื้นฐานของ input ส่วน chapter 2-3-4-5-6 เป็นทักษะการ input แต่ละแบบ คือ อ่าน-ฟัง-ดู-ท่องเน็ต-เรียนรู้ ตบท้ายด้วย chapter สุดท้าย วิธีเพิ่มขีดความสามารถในการทำ input ขั้นสูง
• มีเทคนิคการ “เลือกหนังสือ” ด้วย เทคนิคนึงที่ใช้ประจำคือ “อ่านจากการแนะนำหนังสือ” ของเหล่าหนอนหนังสือตัวยงที่โพสต์ในเฟส ผสมกับการ “เลือกหนังสือที่เหมาะกับตัวเอง” “หนังสือที่อยากอ่าน”
• น่าสนใจตรงที่ผู้เขียนแบ่งหนังสือออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ‘หนังสือโฮมรัน’ กับ ‘หนังสือสไตรทก์’ ซึ่งผู้เขียนนิยามว่าคือ หนังสือที่ให้ปย. อ่านเพื่อพัฒนาตัวเอง ได้สาระ ส่วนอีกแบบคือตรงข้าม ในใจแอบแย้งว่า “แต่ละคนจะแบ่งยังไง ไม่เหมือนกันแน่ ๆ” พออ่านไปก็เจอผู้เขียนปลายเปิดไว้ว่า ใครจะนิยามเล่มไหนเป็นโฮมรันหรือสไตรทก์ ก็ตามแต่ละคนไปไม่เหมือนกัน
• อ่านรวดเดียวจบ สนุก อ่านง่าย มีเทคนิคให้เอาไปใช้ ที่จะใช่แน่ ๆ ก็ตาราง 9 ช่อง (Mandala model) กับ DIKW model ที่จะนำมาใช้กับการพัฒนาปรับปรุงคอนเทนต์ของ #TheStoryThailand ต่อไป 🎯✌️
เล่มถัดไปน่าจะเป็น The Power of Output📌
#อ่านแล้วเล่า ช่วยเพิ่มความจำเนื้อหาในการอ่าน 😊
โฆษณา