Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โหราทาสเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
20 พ.ย. 2022 เวลา 17:12 • ประวัติศาสตร์
ต้นกำเนิดอักษรไทย
พศ 1 ฟินิเชียนประดิษฐอักษรใช้แทนเสียงต่อมาเป็นต้นกำเนิดให้กรีก ละติน อินเดีย
พศ 300 จารึกอโศกใช้อักษราพราหมี
ต่อมา... อินเดียเหนือชอบใช้กระกระดาษบันทึกเขียนตัวอักษรเป็นเหลี่ยมเรียกเทวนาครี
.อินเดียใต้ใช้ใบลานบันทึกเขียนตัวอักษรเป็นรูปกลมเช่นคฤนถ์(ครนถ์์)
พศ 1100-1200 จารึกเก่าสุดในสุวรรณภูมิพบเยธมมาที่นครปฐม กถาวัตถุแผ่นทองคำที่พม่า และภววรมันที่1ของเขมรเป็นตัวอักษรชนิดเดียวกันเหมือนของอินเดียฝ่ายใต้ราชวงศ์กทัมพะและปัลละวะ
ต่อมา... ฟากตต.แปลงเป็นอักษรขอมจารึกปราสาทนครธม
ฟากตอ.แปลงเป็นอักษรมอญ เก่าสุดพจ.อนิรุทธ์
พศ.1500 อักษรขอม
ปรับจากอักษรอินเดียด้วยการ
เขียนตัวบรรจงกว่า
หนามเตยหรือขีดบนตัวอักษรปรับเป็นเส้นใหญ่เรียกว่าสก(เส้นผม)
อินเดียใต้ที่เป็นรูปกลมถูกปรับเป็นรูปเหลี่ยม
อักษรขอมมีสองแบบ
อักษรบรรจง(ขอมโบราณ) ไว้จารึกบนแผ่นหิน ต่อมาดัดแปลงเป็นขอมธรรม(ขอมไทย) สำหรับเขียนหนังสือธรรมในสยามและเขมร
อักษรหวัดไว้เขียนบนใบลาน ต่อมาเสียหายสูญหายหมด
พศ1500 ขอมขยายดินแดนถึงฝั่งริมน้ำยม(เมืองเชลียงและสุโขทัย) จึงรับอักษรขอมหวัดมาใช้ ดัดแปลงเป็นอักษรตนเป็นมอญโบราณ
พศ1800 ขอมเสื่อมอำนาจ เริ่มใช้ภาษาไทยแทนเขมร ไม่สะดวกใช้อักษรขอมและมอญ พข.รามคำแหงจึงดัดแปลงขอมหวัดเป็นอักษรไทย ให้สะดวกและง่ายต่อการเขียน
การดัดแปลง
เอาหนามเตยออกหรือขดไปกับอักษร
ตัวที่มีขีด2-3เส้น ปรับเหลือเส้นเดียว
พยัญชนะ2ตัวซ้อนกันให้เขียนเรียงลำดับ แทนที่จะแปลงรูปตัวย่อ(เชิง)
สระบนและล่างพยัญชนะให้เขียนเรียงไปทางซ้ายขวาข้างพยัญชนะ (สมัยพญาลือไทเปลี่ยนเอาสระมาไว้บนล่างพยัญชนะตามเดิม)
เพิ่มวรรยุกต์ไม้เอก(')กับกากบาท(+) เพื่อออกเสียงไทยได้ชัด เพราะภาษาเขมรมอญไทยเหนือเวลานั้นไม่มีเสียงสูงต่ำ
พศ 1835 จารึกพ่อขุนรามคำแหง
พศ1893 พระเจ้าอู่ทองตั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้อักษรไทยสุโขทัย และปริวัติมาเรื่อยโดยเฉพาะตัวอักษร ก ช ท ม พอสมัยพระนารายณ์ก็ใกล้เคียงกับอักษรไทยที่ใช้ปัจจุบัน
พศ1905 จารึกวัดป่ามะม่วงมีอักษรไทยสุโขทัย และขอมสองแบบ แบบแรกเป็นภาษามคธใช้อักษรขอมธรรม (จารเมื่อ1800) แบบหลังเป็นภาษาเขมรใช้อักษรขอมแบบที่เขมรปัจจุบันใช้ แสดงว่าสมัยพญาลือไทมีการใช้อักษรขอมสองแบบแล้ว
พศ2050 ชาวล้านนาไทยเลิกใช้ตัวอักษรไทยสุโขทัย ไปใช้อักษรลื้อ(ตัวกลมคล้ายอักษรพม่่่่่า อักษรตัวกลมได้อิทธิพลจากอินเดียเหนือ มีใช้มาแต่ไทยน้อยแถบสิบสองปันนา และมอญโบราณ ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากเขมร )
พศ 2101-2317 พม่าเริ่มมีอิทธิพลเหนือเชียงใหม่
พศ.2124 จารึกวัดเชียงมั่นเมืองเชียงใหม่ยังใช้อักษรไทยสุโขทัยอยู่
พศ2339 พย.กาวิละขึ้นไปครองเมืองเชียงใหม่กลับมาใช้อักษรไทยสุโขทัย
พศ2380 หมอบรดเลทำตัวพิมพ์อักษรไทยแบบที่ใช้กันปัจจุบัน
พศ2400 ถึงปัจจุบัน อักษรขอมใช้กันมี4แบบ
ขอมบรรจง เขียนพระไตรปิฎกใบลาน รูปแบบเหมือนอักษรขอมสมัยสุโขทัย
ขอมหวัดบรรจง เขียนหนังสือแปลร้อยกรองรูปแบบคล้ายจารึกขอมโบราณ
ขอมหวัด เขียนบันทึกและคำอธิบายในคัมภีร์ใบลาน
ขอมย่อ เขียนหนังสือสวด ใช้จารไม่ได้ต้องเขียนด้วยปากกา
สรุปความต่างของอักษเกิดจากความสะดวกในการจารลงในวัสดุที่ใช้บันทึกที่แตกต่างกัน ต่อมาเป็นเรื่องของการแทนการออกเสียงที่ต่างกัน
หมายเหตุ: ดัดแปลงสรุปจาก ตำนานอักษรไทยของยอร์ช เซเดส์ ปีที่อ้างอิงแค่ประมาณการ
โหราทาส
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ือ
1 บันทึก
3
2
1
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย