21 พ.ย. 2022 เวลา 01:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กลไกธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรอย่างไร้ขีดจำกัดได้ สุดท้ายจะต้องมีสิ่งมีชีวิตอื่นคอยทำหน้าที่ควบคุมปริมาณไม่ให้เยอะเกินไป เช่น การมีผู้ล่า
แต่สำหรับมนุษย์ สิ่งที่ควบคุมประชากรไม่ใช่สิงโตที่มีกรงเล็บแหลมคม ไม่ใช่งูที่มีพิษสงปะปนในคมเขี้ยว แต่กลับเป็นเมลงตัวเล็ก ๆ ที่สามารถทิ้งโรคภัยอันตรายจนถึงแก่ความตายให้กับมนุษย์ได้ รวมแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านคนจากทั่วโลก แมลงที่ว่านั่นคือ “ยุงลาย
ยุงลายที่กินเลือดก็มีแค่ยุงลายตัวเมีย แถมยุงลายตัวนิดเดียว กินเลือดก็แค่หน่อยเดียว ตลอดทั้งช่วงชีวิตตั้งแต่เป็นไข่จนเติบโตมาเป็นยุงที่บินเสียง “หึ่ง ๆ” อยู่ข้างหู มันก็กินเลือดมนุษย์แค่เพียงครั้งเดียว แค่ประมาณ 0.005 มิลลิลิตรเท่านั้น หลายคนคงสงสัยว่าทำไมยุงกัดแต่นี้ถึงกับเสียชีวิตได้?
สาเหตุการเสียชีวิตจากยุงลาย ไม่ได้มาจากตัวยุงโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่พ่วงตามมาจากการกัดของยุง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคจากปรสิต เช่น เท้าช้าง มาลาเรีย หรือโรคจากไวรัส เช่น ไข้เหลือง ไข้ซิก้า ไข้สมองอักเสบ รวมถึงหนึ่งในโรคที่ประเทศไทยให้ความสำคัญไม่น้อยอย่าง โรคไข้เลือดออก ซึ่งเกิดจากยุงลาย
ยุงลายจะวางไข่ไว้ตามขอบภาชนะที่ใกล้แหล่งน้ำนิ่ง ซึ่งเมื่อไข่ได้รับน้ำก็จะฟักตัวออกมาเป็นลูกน้ำตัวน้อย แต่ถ้าไข่ไม่โดนน้ำมันจะต้องตายอย่างแน่นอน ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นั่นหมายถึงว่าตลอดระยะเวลา 365 วัน ไข่เหล่านี้รอโอกาสที่จะสัมผัสกับน้ำได้ตลอด โดยเฉพาะฤดูฝนที่มีโอกาสสูงที่น้ำจะสัมผัสกับไข่ของยุง
สำหรับการป้องกันนั้น ควรรีบดำเนินการแต่ต้นโดยการกำจัดแหล่งเพาะยุงคือบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หรือหากต้องการขังน้ำไว้ตามขาโต๊ะควรใส่สารกำจัดลูกน้ำยุงลาย ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัดใช้สเปรย์ไล่ยุงฉีดพ่น หรือครีมทาป้องกันยุง หากพบยุงเป็นจำนวนมากกว่าปกติควรติดต่อทางผู้ดูแลชุมชนให้มีการฉีดพ่นสารกำจัดยุงอย่างเร่งด่วน
อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมภาพประกอบที่:
โฆษณา