21 พ.ย. 2022 เวลา 02:12 • ข่าว
โควิดไทยขยับตัวชัดเจน ผู้ติดเชื้อเพิ่ม 24.98%
1
โควิดระลอกที่ 4 ของไทย หรือระลอกโอมิครอน หรือระลอกมกราคม 2565 ขณะนี้ได้ดำเนินการมาเกือบ 11 เดือนเต็มแล้ว
และได้มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคต่างๆโดยการปรับระดับจากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565
ในช่วงแรก โควิดยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง จนถึงจุดต่ำสุดในช่วงสัปดาห์ที่ 23-29 ตุลาคม 2565 ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อ 2515 รายต่อสัปดาห์ หรือ 359 รายต่อวัน และผู้เสียชีวิต 33 รายต่อสัปดาห์ เฉลี่ย 5 รายต่อวันนั้น
หลังจากนั้นโควิดได้มีการขยับตัวเพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ จนกระทั่งสัปดาห์ล่าสุดรายงานจากกรมควบคุมโรคในช่วง 13-19 พฤศจิกายน 2565 เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้านั้น 6-12 พฤศจิกายน 2565 พบการขยับตัวขึ้นของสถิติทุกตัวดังนี้
จำนวนผู้ติดเชื้อ
เพิ่มจาก 3166 รายต่อสัปดาห์
เป็น 3957 รายต่อสัปดาห์
หรือเพิ่มจาก 452 รายต่อวัน
เป็น 565 รายต่อวัน
เพิ่มขึ้น 24.98%
จำนวนผู้เสียชีวิต
เพิ่มขึ้นจาก 42 รายต่อสัปดาห์
เป็น 69 รายต่อสัปดาห์
หรือเพิ่มขึ้นจาก 6 รายต่อวัน
เป็น 9 รายต่อวัน
เพิ่มขึ้น 64.28%
จำนวนผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ
เพิ่มขึ้นจาก 329 เตียง
เป็น 432 เตียง
เพิ่มขึ้น 31.30%
ผู้ป่วยหนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
เพิ่มจาก 178 เตียง
เป็น 252 เตียง
หรือเพิ่มขึ้น 41.57%
สถานการณ์โควิดของไทย สอดคล้องกับอีกหลายประเทศที่ดำเนินนโยบายหรือมาตรการในทิศทางเดียวกันคือ
เมื่อพบว่าไวรัสโอมิครอนมีความรุนแรงน้อยลง ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตลดลงเมื่อเทียบกับไวรัสเดลต้า
และจากแรงกดดันทางด้านมิติเศรษฐกิจและสังคมซึ่งต่อเนื่องยาวนานมาสองปี
ทำให้ต้องมีการผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อกระตุ้นมิติเศรษฐกิจและสังคม
จึงพบจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตขยับตัวขึ้น และในสัปดาห์ที่ผ่านมาตัวเลขก็ยังคงขยับขึ้นต่อเนื่อง
ซึ่งการผ่อนคลายมาตรการของรัฐเกี่ยวกับเรื่องทางสาธารณสุข เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น
แต่ในส่วนประชาชนที่จะสามารถดูแลตนเองและครอบครัว เพื่อช่วยกันทำให้มาตรการที่ได้ผ่อนคลายไปแล้วนั้น ไม่ต้องกลับมาเข้มงวดใหม่อีกครั้ง
ก็โดยการระมัดระวัง ทำให้ติดเชื้อน้อย เสียชีวิตน้อย โดยการใส่หน้ากากอนามัยในสถานที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยงอย่างต่อเนื่องต่อไป เท่าที่สามารถจะทำได้
ตลอดจนการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3
ซึ่งปัจจัยดังกล่าว จะช่วยทำให้สถานการณ์ของโควิดไทย ไม่ขยับตัวเพิ่มมากจนเกินไป จนกระทบการตัดสินใจในอนาคต ที่จะต้องปรับมาตรการต่างๆอีกครั้ง
Reference
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา