21 พ.ย. 2022 เวลา 10:30 • ไอที & แก็ดเจ็ต
รวมกลวิธีหลอกเงินในบัญชีที่โดนกันบ่อย พร้อมขั้นตอนเมื่อโดนแฮ็ก
ในช่วงปีที่ผ่านมา มีข่าวการหลอกลวงเอาเงินในบัญชีธนาคารให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ ถึงแม้เราจะพยายามหาวิธีหรือมาตรการมาป้องกัน แต่มิจฉาชีพก็มักจะหาวิธีใหม่ๆ มาลวงสติของผู้ใช้อยู่บ่อยๆ จึงขอรวบรวมกลวิธีที่ถูกใช้บ่อยและวิธีแก้ไขปัญหา มาให้ทราบกัน
1
การโจมตีทางไซเบอร์ หลักๆ มี 2 ประเภท คือ
1. การแฮ็ก (hacking) ใช้คำสั่งทางคอมพิวเตอร์ เจาะเข้าระบบธนาคารเพื่อควบคุมหรือแก้ไข แล้วเอาเงินของเราไป
2. การฟิชชิง (phishing) ใช้กลวิธีทางจิตวิทยา เช่น หลอกขอข้อมูลพาสเวิร์ด หรือ OTP เพื่อใช้รหัสนั้นเข้าถึงบัญชีของเรา ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มักโดนกันบ่อย เพราะเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย มิจฉาชีพแค่เล่นกับจิตใจของคนที่อาจจะกำลังอ่อนไหวหรืออยู่ในภาวะจำเป็นต้องใช้เงิน
เคล็ดลับ #ใช้สติป้องกันสตางค์ 4 ข้อ ใช้ได้ง่าย ๆ จากธนาคารกสิกรไทย
  • สติที่ 1 : รู้ทัน SMS ปลอม
หากมีเบอร์แปลกๆ ส่งข้อความมา อย่ากด อย่ากรอก อย่าตอบ เราควรตั้งสติ และใจเย็นๆ พิจารณาดูว่าใครเป็นคนส่ง SMS รูปแบบของ SMS ฟิชชิงโดยส่วนใหญ่มักอาศัยประโยชน์จาก ความโลภ และ ความตื่นตระหนก เช่น บัญชีของคุณถูกล็อก คุณได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และมักจะลงท้ายเพื่อเป็นการกระตุ้นด้วยคำว่า “ด่วน” “มิเช่นนั้นจะเสียสิทธิ์”
3
หากเจอแบบนี้ให้เอะใจไว้ก่อน ว่าเนื้อเนื้อหาเกินจริงหรือเปล่า แล้วทำไมต้องเร่งรีบ ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ หากเป็น SMS จากบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องใช้ภาษาที่สุภาพ เป็นทางการ และไม่ใช้เนื้อหาที่เกินจริงและดูเร่งด่วนผิดปกติ
1
  • สติที่ 2 : สังเกตอีเมลปลอม
1
หากได้รับอีเมลแปลก สิ่งที่เราควรสักเกตุเป็นจุกแรก ๆ คือ ที่อยู่อีเมลของผู้ส่ง เขียนถูกหรือเปล่า หรือหากเห็นว่าเป็นผู้ส่งและเนื้อหาแปลก หรือแนบลิงก์แปะมาด้วย ต้องระวังไม่ควรคลิกหรือดาวน์โหลด เพราะอาจฝังมัลแวร์หรือสคริปต์ดูดข้อมูลเอาไว้
เพราะแค่กดเข้าไปก็ถือว่าเสี่ยงแล้ว ข้อสังเกต ชื่อผู้ส่ง มิจฉาชีพมักใช้ความแนบเนียนโดยการใช้ตัวอักษรที่คล้ายคลึงกัน เช่น ตัว i (ไอ) กับ ตัว l (แอล) และการเพิ่มหรือตัดตัวอักษรบางตัวออกจากชื่อ หรืออาจมีไฟล์แนบรวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ที่ส่งมาด้วย หากไม่มั่นใจ อย่ากดหรือคลิก ควรตรวจสอบให้เรียบร้อยสะก่อนไม่ควรละเลย
  • สติที่ 3 : ไม่หลงกลแชตปลอม
1
หากวันหนึ่งมีญาติหรือเพื่อนสนิททักมาขอยืมเงิน อย่าเพิ่งรีบโอน ถึงแม้จะใช้ชื่อหรือรูปโปรไฟล์ที่เหมือนกัน แต่เป็นสิ่งที่ปลอมง่ายที่สุด เช็คให้มั่นใจว่าเป็นคนรู้จักเราจริง ๆ เพราะคุยผ่านแชตนั้นไม่เห็นหน้า หากเป็นไปได้ ลองโทรไปหาโดยตรงเลยดีกว่า เพื่อความชัวร์ เพราะคนที่รู้จักเราเขาอาจจะทำมือถือหาย หรือเผลอล็อกอินโซเชียลมีเดียทิ้งไว้ที่อื่น
จึงทำให้พวกมิจฉาชีพเข้ามาสวมรอยได้ หรือหากเป็นคนแปลกหน้าทักแชตมาอย่าเพิ่งโอน เพราะการอ้างตัวเป็นบริษัทหรือหน่วยงาน แล้วบอกว่า คุณเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล โดยจะใช้อุบายบอกให้เราจ่ายค่าธรรมเนียม ภาษี ก่อนรับรางวัล ให้เราเอะใจก่อนว่ารางวัลนั้นเราร่วมกิจกรรมจริง ๆ หรือเปล่า
หากไม่เคย ก็ปิดแชตทิ้งได้ทันที ข้อสังเกต หากมีแชตแปลกๆ มา ให้คลิกดูโปรไฟล์ก่อนเสมอ ว่าใช่ตัวจริงหรือไม่ หรือให้มีการยืนยันตัวตน เพื่อป้องกันการสวมรอย เช่น โทรศัพท์หรือวิดีโอคอลไปหาโดยตรง
  • สติที่ 4 : ไม่หลงเชื่อคอลเซ็นเตอร์ปลอม
หากมีเบอร์แปลกโทรมาไม่มั่นใจอย่าให้ข้อมูล เพราะพวกมิจฉาชีพอาจได้เบอร์ของคุณมาจากการสุ่มหรือช่องทางอื่น ๆ มักใช้อุบายที่ทำให้เราเกิดความกลัว ตื่นเต้น หรือรู้สึกตกใจ มักพบบ่อยในรูปแบบของการใช้ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ ข้ออ้างที่ใช้บ่อยๆ เช่น บัญชีเงินฝากของคุณพัวพันกับการค้ายาเสพติด ฟอกเงิน หรือมีคดีความ ต้องตรวจสอบบัญชีของคุณ หรือโอนเงินผิด โทรมาให้เราโอนเงินคืน หรือบัญชีเงินฝาถูกอายัด หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต หากเราไม่มั่นใจ ไม่น่าไว้ใจ อย่าให้ข้อมูลเด็ดขาด
2
ย้ำอีกทีว่าข้อมูลส่วนตัวทั้งหลายเป็นสิ่งสำคัญไม่ควรเปิดเผย ไม่ว่าจะทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขและรหัสบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ยิ่งรหัส OTP ไม่ควรให้ใครรู้เด็ดขาด เพราะการทำธุรกรรมในแต่ละครั้งต้องใช้รหัสนี้ เป็นรหัสแบบใช้ครั้งเดียว หากมิจฉาชีพไม่ได้เลขนี้ไปอย่างน้อยก็อุ่นใจได้ว่าบัญชีของเราน่าจะยังปลอดภัยอยู่
1
โฆษณา