23 พ.ย. 2022 เวลา 12:18 • สุขภาพ
โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่ การทำงานของระบบสมอง และการทำงานของเอนไซม์
โกรทฮอร์โมน หรือ GH (Growth Hormones)(1) มีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนอยู่มากมายถึง 191 โมเลกุล ในแต่ละช่วงอายุก็จะมีการหลั่งไม่เท่ากัน แต่ฮอร์โมนตัวนี้จะสามารถหลั่งได้ตลอดชีวิต โดยระดับการหลั่งจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษในช่วงวัยเจริญเติบโตหรือวัยเจริญพันธุ์ และเริ่มน้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยชรา โดยระดับของโกรทฮอร์โมนจะลดต่ำลงเมื่ออายุมากขึ้น คือจะลดลง 14% ทุก 10 ปี แต่ก็อาจมีปัจจัยอื่นที่สามารถส่งผลกระทบต่อการหลั่งที่น้อยลงของโกรทฮอร์โมน เช่น โภชนาการอาหาร ความเครียด การนอนหลับ การออกกำลังกาย น้ำหนัก
การขาดโกรทฮอร์โมนมีผลทำให้เกิดการแก่ชรา และโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชรา มีผลต่อการลดลงของสมรรถนะ และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเพิ่มโกรทฮอร์โมนเป็นหนทางการเพิ่มความอ่อนเยาว์ และคืนความกระชุ่มกระชวยให้แก่ร่างกาย จึงจัดเป็นกลุ่ม anti-aging หรือสารชะลอวัย(1)
รูปที่ 1 การหลั่งโกรทฮอร์โมนของร่างกาย(2)
การทำงานของโกรทฮอร์โมน(1,3)
โกรทฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาจะถูกส่งไปยังตับเพื่อเปลี่ยนเป็นสารคล้ายอินซูลิน (Insulin-like growth factor-1 หรือ IGF-1) หรือโซมาโตเมดิน (Somatomedin) นำไปใช้ในร่างกายเพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ
จากการวิจัยจากวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England) พบว่า การทดลองให้คนอายุ 65 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับ HGH และกลุ่มที่ไม่ได้รับ HGH ผลคือ กลุ่มที่ได้รับ HGH ทำให้ผมที่เคยหงอกลดลง ผมเริ่มกลับมาดกดำขึ้น ในบางรายมีการลดลงของรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าและตามร่างกาย อีกทั้งมีสมรรถภาพทางเพศที่เพิ่มขึ้นด้วย ความเสื่อมจากความชราลดลง ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับ HGH จะมีความชราตามปกติโดยไม่มีการฟื้นฟูที่ดีขึ้น
ปัญหาจากการที่ร่างกายขาดโกรทฮอร์โมน(1,3)
ผมเริ่มหงอก ร่วง หรือผมบางจนเกือบล้าน ผิวหนังจะขาดความยืดหยุ่น ไม่ชุ่มชื้น ผิวแห้ง มีริ้วรอยเกิดขึ้น และเริ่มเหี่ยวย่น เพราะคอลลาเจนที่ช่วยทำให้ผิวเต่งตึงเริ่มลดน้อยลง สายตาจะเริ่มเปลี่ยน ความเปลี่ยนแปลงที่พบได้คือ เริ่มมีปัญหาสายตายาว อ่านหนังสือใกล้ ๆ จะเหมือนกล้องที่ไม่โฟกัส และยิ่งอายุเพิ่มขึ้น สายตาก็จะฝ้าฟางขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงระบบการเผาผลาญ การได้ยิน ความจำ กล้ามเนื้อ ฮอร์โมน และอื่น ๆ อีกที่เสื่อมถอยลงไป
ประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน(1-4)
ช่วยลดไขมันและช่วยลดน้ำหนัก ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
มีผลคล้ายยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) และไม่มีผลข้างเคียง ช่วยลดความเครียด มีสมาธิมากขึ้น ฟื้นฟูความจำ และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
ช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมกล้ามเนื้อ และเพิ่มความคงทนในการออกกำลังกาย
ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้นเหมือนดังผิวของคนหนุ่มสาว ทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดรอยเหี่ยวย่นบนผิวหน้าและตามร่างกาย ลดรอยตีนกา ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาหนุ่มสาว
มีผลช่วยต้านภาวะกระดูกพรุน และช่วย
เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
ช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือดของหัวใจ (Cardiac output) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้น ลดภาวะความดันโลหิตสูง ปรับสมดุลของคอเลสเตอรอล ช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจ
ช่วยให้การหายของบาดแผลเร็วขึ้น เพราะไปช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นสารที่ช่วยฟื้นฟูบาดแผล สร้างเนื้อเยื่อให้ประสานกัน เนื้อเยื่อจะแข็งแรงขึ้น ผิวหนังยืดหยุ่นได้ดีช่วยทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งฟื้นฟูการยึดติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหัก ในผู้ป่วยบาดแผลจากไฟไหม้ขั้นรุนแรงและแผลจากการผ่าตัดได้ผลดี แผลหายเร็วขึ้น
โดยปกติโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเฉพาะในตอนที่เราหลับลึกเท่านั้น ช่วงเที่ยงคืนจนถึงตีหนึ่งครึ่ง หลังจากหลับไปแล้ว 1 ชั่วโมง ดังนั้น ถ้าหลับหลังตีหนึ่งเราจะไม่ได้โกรทฮอร์โมนเลย ดังนั้น การหลับที่ถูกต้องคือ หลับตั้งแต่สี่ทุ่มเพราะกว่าจะหลับลึกต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าชั่วโมง และปริมาณโกรทฮอร์โมนจะลดลงหรือถูกสลายไปเมื่อมีน้ำตาลสูง ดังนั้น ก่อนนอนจึงไม่ควรบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต
ดังนั้น ข้อปฏิบัติตัวที่กล่าวมาแล้วนั้นจะช่วยให้เราได้โกรทฮอร์โมนและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ แต่ถ้าต้องการเสริมโกรทฮอร์โมนควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ
เอกสารอ้างอิง
โกรทฮอร์โมน (Growth hormones) คืออะไร. http://www.oknation.net/blog/30uphealthclub/2014/12/16/entry-1
HGH หรือฮอร์โมนเจริญวัยคืออะไร?. http://www.biospray-today.com/index.php/component/content/article/34-demo-category/58-what-is-hgh
โกรทฮอร์โมน (HGH/Human growth hormone) คือ. http://www.growthhormoneplus.com/โกรทฮอร์โมน-hgh-คือ/
4 เคล็ดลับเพิ่ม “โกรทฮอร์โมน” ฮอร์โมนแห่งการชะลอวัย อยากแข็งแรง สดใส ต้องลอง!
หน้าที่ของ โกรทฮอร์โมน
เมื่อมีการศึกษา โกรทฮอร์โมน อย่างจริงจังพบว่า
ฮอร์โมนชนิดนี้มีปริมาณสูงที่สุดเมื่อเข้าสู่อายุ 20 ปี ก่อนจะลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งเมื่ออายุ 40 ปี และเหลือกเพียงหนึ่งในสี่ของปริมาณสูงสุดเมื่ออายุ 60 ปี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า โกรทฮอร์โมน จะหมดความสำคัญเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เพราะมันยังคงทำหน้าที่ซ่อมบำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
มีส่วนสร้างเซลล์ของอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
สร้างเซลล์ชั้นผิวหนังใหม่
สร้าง ซ่อมแซม และเสริมความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อและกระดูก
เสริมภูมิคุ้มกันในแข็งแรง
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและการมองเห็น
ลดระดับคอเลสตอรอลในร่างกาย
 
ผิวเหี่ยวเสื่อมสภาพก่อนวัย อาจเป็นเพราะโกรทฮอร์โมน
ผู้สูงอายุหลายคนมักกังวลเรื่องสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป เช่น เหนื่อยตลอดเวลา หรือไร้เรี่ยวแรงโดยไม่มีสาเหตุ แต่ไม่เคยรู้เลยว่า ต้นเหตุที่แท้จริงมาจากการหลั่งโกรทฮอร์โมนลดลง จึงเป็นเหตุให้เซลล์ที่สึกหรอไม่ได้รับการซ่อมแซมอย่างเต็มที่
นอกจากนี้เมื่อปริมาณโกรทฮอร์โมนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ประสิทธิภาพของวงจรการผลัดเซลล์ผิวลดลง คนวัยนี้จึงมักเผชิญปัญหาผิวหนังต่างๆ เช่น ผิวหย่อนคล้อย และผิวหนังหมองคล้ำ แต่ปัจจุบันคนวัยทำงานกลับมีปัญหาผิวหนังไม่ต่างจากผู้สูงอายุทั้งๆ ที่มีอายุ 30 กว่าๆ เท่านั้น เนื่องจากคนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตปล่อยปละละเลย เป็นผลให้ฮอร์โมนลดลงไปเรื่อยๆ
นอน เพิ่มโกรทฮอร์โมน
สิ่งเดียวที่มีผลต่อการเพิ่มหรือลดลงของปริมาณโกรทฮอร์โมน คือ คุณภาพการนอน หากร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ ความสามารถของโกรทฮอร์โมนจะลดลงทันที
“งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า โกรทฮอร์โมนจะผลิตและหลั่งออกมามากที่สุดช่วงนอนหลับสนิทระหว่าง 23.00 – 7.00 น. ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนทำงานเป็นกะ แต่สำหรับคนทั่วไป หากได้นอนตามนี้ก็จะช่วยกระตุ้นให้โกรทฮอร์โมนผลิตออกมาอย่างพอเหมาะ”
คนวัย 40 – 50 ปี ที่มีอาการนอนหลับยากหรือนอนหลับไม่สนิท ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการนอนลดลง ด้วยเหตุนี้การนอนหลับในช่วงหลับลึกและช่วงหลับฝันจึงสั้นลง ตื่นบ่อย หรือลุกเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อย ทำให้ร่างกายตื่นบ่อยตามไปด้วย พอกลับมานอนเท่ากับต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (antidiuretic hormone) หรือวาโซเพรสซิน (vasopressin) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณปัสสาวะ เมื่ออายุย่างเข้า 50 ปี อัตราการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้กลับลดลงฮวบฮาบ เป็นเหตุให้กลไกควบคุมปัสสาวะเสื่อมยิ่งกว่าเดิม
เคล็ดลับเพิ่มโกรทฮอร์โมน
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเคล็ดลับที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนให้เพิ่มขึ้น คือ ปล่อยให้ท้องว่างและหิวปานกลาง รู้สึกเครียดเล็กน้อย และออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ
วิธีปล่อยให้หิวปานกลางแบบง่ายๆ ได้แก่ งดกินจุบจิบช่วงระหว่างมื้อ กินอาหารครบสามมื้อและตรงเวลา และอย่าปล่อยให้ท้องร้อง ควรปฏิบัติเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายหลั่งโกร๊ธฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายที่ส่งผลดีต่อการกระตุ้นโกร๊ธฮอร์โมน คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก คือการออกกำลังกายที่ต้องใช้อากาศเป็นตัวช่วยเผาผลาญ ผสมกับแบบแอนโรบิก คือการออกกำลังกายแบบไม่ต้องใช้อากาศในการเผาผลาญ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ ดีต่อหัวใจและปอด
เราใช้น้ำมันกัญชาทำให้หลับลึก
บวกกับการนอนที่ถูกต้อง
เป็นสุดยอดที่ร่างกายต้องการ ของผู้อายุ40ขึ้นไป
เชิญชมคลิปศิลปะการนอนได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
โฆษณา