23 พ.ย. 2022 เวลา 15:06 • ข่าว
ไวรัสก่อโรคโควิดของไทยกำลังจะเปลี่ยนสายพันธุ์แล้ว โดยขยับมาเป็น BA.2.75
สถานการณ์โควิดของประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อต้นเดือนมกราคม 2563 ด้วยไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่น
หลังจากนั้น ก็มีการเปลี่ยนเป็นไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า และในปลายปี 2564 ได้เปลี่ยนเป็นไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
จนกระทั่งเข้าปี 2565 ไวรัสได้เปลี่ยนเป็นสายพันธุ์โอมิครอน และไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนยังคงเป็นสายพันธุ์หลักจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบครบหนึ่งปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน มีการแตกไปเป็นสายพันธุ์ย่อยต่างๆมากกว่า 500 สายพันธุ์แล้ว
และสายพันธุ์หลักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาคือ BA.5
รายงานจากอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แจ้งว่า ขณะนี้ไวรัสสายพันธุ์ที่เป็นหลักกำลังจะเปลี่ยนจาก BA.5 เป็น BA.2.75 แล้ว
โดยมีรายงานสถิติของการตรวจหาไวรัสว่าเป็นสายพันธุ์อะไร ในช่วงวันที่ 12-18 พฤศจิกายน 2565 พบว่า
BA.4/BA.5 พบ 50.4%
BA.2.75 พบ 42.4% เพิ่มจากสัปดาห์ก่อนที่พบเพียง 23.6%
BA.2 พบ 6.1%
โอมิครอนสายพันธุ์อื่นๆพบ 1.1%
จึงทำให้เชื่อได้ว่าไวรัส BA.2.75 จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของไทยภายในเร็ววันนี้
ไวรัสสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ยังคงถือว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนอยู่
พบเป็นครั้งแรกที่อินเดีย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 และพบในประเทศไทยปลายเดือนมิถุนายน 2565
มีความสามารถในการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า สามารถก่อความรุนแรงหรือทำให้เสียชีวิตมากขึ้นหรือไม่อย่างไร คงจะต้องติดตามข้อมูลกันต่อไป
1
ส่วนไวรัสสายพันธุ์ BQ.1 ซึ่งพบในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นจำนวนมาก เริ่มพบในประเทศไทยแล้ว 9 ราย
และไวรัสสายพันธุ์ XBB ซึ่งพบที่สิงคโปร์ เริ่มพบในประเทศไทยแล้ว 13 ราย
เราคงจะต้องติดตามชนิดของไวรัสสายพันธุ์ต่างๆกันต่อไป เพื่อที่จะได้วางแผนการรับมือกับไวรัสโคโรนาลำดับที่เจ็ดที่ก่อโรคโควิดให้ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด
2
การผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อให้มิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้เดินหน้าต่อไป ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสมและจำเป็น ได้มีการดำเนินการในหลายประเทศ
อย่างไรก็ตาม การใส่หน้ากากอนามัย สามารถป้องกันไวรัสได้ทุกสายพันธ์ จึงควรพยายามใส่หน้าการกันต่อไป เท่าที่สามารถจะทำได้
Reference
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา