24 พ.ย. 2022 เวลา 15:08 • ข่าวรอบโลก
E.P. 3 การประชุมที่น่าสนใจ เขาคุยอะไรกันบ้างใน APEC 2022
และสามารถนำไปทำแผนธุรกิจได้ของเอกชน ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของประเทศในกลุ่ม APEC
การประชุมด้านการคลัง ครั้งที่ 29
The 29th APEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM
และผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ ๓๓
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
การประชุมด้านการคลังครั้งที่ 29
ประกอบด้วย
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ
2. ผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศ
ธนาคารพัฒนาเอเชีย
Asian Development Bank: ADB
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
International Monetary Fund: IMF
กลุ่มธนาคารโลก
World Bank Group: WBG
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา Organization for Economic Cooperation and Development: OECD
และ หน่วยงานสนับสนุนนโยบายของเอเปค
APEC Policy Support Unit: APEC PSU
สรุปผลประชุม
1. โดย IMF
คาดการณ์ว่าในปี 2566 เศรษฐกิจของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 เร่งขึ้นเล็กน้อยจากปี2565 โดยเศรษฐกิจโลกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานที่สูงขึ้น
1.2 โดยผู้แทนไทย
จากปี 2526 นี้
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวจาก
การบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัว
การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
1.3 นโยบายการคลังของไทย
ใช้นโยบาย มุ่งเป้าหมาย Targeted
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น
1.4 รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.5 ส่งเสริมการลงทุนในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
APRC FMM
2. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ADB และ OECDได้นำเสนอประสบการณ์ด้าน
การสนับสนุนโครงการต่างๆที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
การพิจารณาใช้กลไกของ
กองทุนสีเขียวของอาเซียน
ASEAN Catalytic Green Finance Facility: ACGF
ได้หารือทวิภาคีกับ Mr. Christopher Hui Ching-yu, Secretary for Financial Services and
the Treasury หัวหน้าคณะผู้แทนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
Mr. Christopher Hui Ching-yu, Secretary for Financial Services and the Treasury
เพื่อช่วยในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green infrastructure)
โดยมีการออกพันธบัตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่าง ๆ
1. การพันธบัตรสีเขียว (Green bond)
2. พันธบัตรเพื่อสังคม (Social bond)
3. พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability bond) และ 4. พันธบัตรสีฟ้า (Blue bond) หรืออื่นๆ
5. การร่วมมือการพัฒนาเครื่องมือ และมาตราฐานที่สอดคล้องร่มมือในการปล่อยถ่ายก๊าซเรือนกระจกให้หมดไป เป็นศูนย์ แบบยั่งยืน และการพัฒนาการซื้อขายกระดาษคาร์บอน ส่งเสริม SMEs
3. เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลและนโยบาย
ด้านภาษีในภูมิภาคเอเปค
Digitalization and tax policy in Asia and the Pacificของ ADB
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายด้านภาษี เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในการให้ความช่วยเหลือต่อกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
การเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
การอำนวยความสะดวกโดยการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลหรือธุรกิจเข้ากับเลขประจำตัวการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลต่าง ๆ เป็นต้น
Digitalization of Fiscal Measures and Policy Innovations during the COVID-19 Pandemic ที่กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้
การอำนวยความสะดวกด้านภาษี การเงิน การบริการของภาครัฐ การศึกษา และสาธารณสุข
กรณีศึกษาของไทยในการดำเนินนโยบายผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ National E-Payment
การเพิ่มการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
Electronic Data Capture: EDC
ระบบภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
Government e-Payment system
พิจารณาเชิงนโยบายการเชื่อมโยงการชำระเงินและการโอนเงินข้ามพรมแดน
APEC Policy Considerations for Developing Cross-border Payments and Remittances
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเขตเศรษฐกิจในเอเปคที่ต้องการเชื่อมโยงการโอนเงินและการชำระเงินระหว่างกันซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัยด้วยต้นทุนที่ถูกลง
รวมทั้งสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยวในภูมิภาคซึ่งจะช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในช่วงหลังโควิด-19
4. ผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเซบูที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของผลลัพธ์ภายใต้การประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อประสบการณ์และวิธีการ
4. การลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงาน
ของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค
APEC Experiences and Available Tools for Financing a Just Energy Transition
จากผู้แทนสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการเซบู ทำให้ได้ทราบถึงแนวทางในการจัดหาเงินทุน เพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน
Just Energy Transition
เพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละเขตเศรษฐกิจในอนาคต
แผนปฏิบัติการเซบู คือ
การดำเนินนโยบาย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคในการเสนอนโยบายที่จะดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์การนำแผนปฏิบัติการเซบูสู่การปฏิบัติฉบับใหม่ โดยแต่ละเขตเศรษฐกิจได้เลือกประเด็นที่จะดำเนินการภายใต้เสาหลักของแผนปฏิบัติการเซบูซึ่งได้แก่ การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางการเงิน การเร่งรัดการปฏิรูปและเพิ่มความโปร่งใสทางการคลัง การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน และการเร่งรัดการลงทุนและการระดมทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
รวมถึงแนวนโยบายรับมือกับภัยพิบัติต่างๆด้วย
ที่ประชุมได้รับทราบการจัดทำเอกสารจำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย
(1) Policy Recommendations Paper on APEC sustainable finance to embed a sustainability bond into Government Sustainable Finance
(2) Seminar Report on Developing the Ecosystem for Sustainable Finance in the Capital Market
(3) Policy Recommendations Paper on Digitalization of Fiscal Measures and Policy Innovations during the COVID-19 Pandemic
(4) Webinar Report on Digital Technology for Efficient Tax Collection
(5) Seminar Report on Digitalization for Inclusive Finance Embracing the Digital Fundraising
6) APEC Policy Considerations for Developing Cross-Border Payments and Remittances
ซึ่งเอกสารทั้ง 6 ฉบับดังกล่าว เป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมสำหรับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง ในปีนี้ และเป็นการสานต่อความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเพื่อการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค(APEC Business Advisory Council)
โดยจัดสร้างสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการให้บริการทางการเงินดิจิทัลที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้นใน3 ประเด็นหลัก ได้แก่
(1) การพัฒนาระบบข้อมูลเปิดที่เชื่อมโยงกัน (Inter-operable Open Data) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
(2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดดิจิทัลสำหรับสินเชื่อหมุนเวียน (Supply Chain Finance) เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ
(3) การส่งเสริมการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางที่เชื่อมโยงกัน (Inter-Operable Central Bank Digital Currencies (CBDCs)
เพื่อสนับสนุนให้มีสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับการทำธุรกรรมด้านการเงินและด้านธุรกิจ
ได้หารือทวิภาคีกับ Mr. Christopher Hui Ching-yu, Secretary for Financial Services and
the Treasury หัวหน้าคณะผู้แทนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
Hello Thailand ขอตั้งข้อสังเกตุจากการให้ความสำคัญของ เขตบริการพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนนี้ ถือได้ว่า ในช่วงต่อไปนี้ ฮ่องกงฯยังคงเป็นเกาะแห่งการกุมอำนาจเศรษฐกิจของกลุ่มเอเปคและยังคงเป็นศูนย์กลางของเงินตรา ที่สำคัญ
การประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29 สะท้อนความพยายามในการร่วมมือกันขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเปค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การใช้เทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งภาครัฐและเอกชนของ APEC และที่มีส่วนร่วม
ผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ ๓๓
33th APEC Ministerial Meeting ( AMM )
ในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค
ซึ่งเป็นเวทีที่รัฐมนตรีด้านการต่างประเทศและรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของแต่ละเขตเศรษฐกิจมาหารือร่วมกันเพื่อสรุปผลงานสำคัญจากการขับเคลื่อนกระบวนการเอเปค
ประเด็นหารือที่สำคัญของการประชุม สะท้อนหัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล”
Open Connect Balance
ได้นำแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและเติบโตระยะยาวอย่างสมดุล สร้างผลกำไรควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนซึ่งรวมถึงธุรกิจทุกขนาด ตลอดจนประชาชนทุกคน
BCG คือ the Bio-Circular-Green Economy Model
ประเทศไทยได้นำ Bio-Circular-Green Economy Model มาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การฟื้นฟูประเทศหลังการระบาดใหญ่
แบบจำลองเศรษฐกิจรวมแนวทางกระแสหลักสามแนวทางเพื่อความยั่งยืนสำหรับแนวทางแบบองค์รวมและสมดุลมากขึ้น
เพื่อพัฒนาเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมของเรา หัวใจสำคัญของ BCG Economy Model คือการรณรงค์ให้แต่ละคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ "ปรับสมดุลของทุกสิ่ง"
ผลงานที่โดดเด่นของการประชุมครั้งนี้ คือ
การที่รัฐมนตรีเอเปคเห็นชอบร่วมกันให้เสนอร่าง
เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG
ให้ที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปครับรอง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการทำงานเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในเอเปคอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ถือเป็นความสำเร็จที่จะเป็นภาพจำสำคัญที่สุดของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในครั้งนี้
ไทยยังได้จัดตั้งรางวัล BCG เพื่อมอบให้แก่บุคคลและหน่วยงานที่นำแนวคิด BCG มาใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบธุรกิจอีกด้วย
การมองภาพรวมของ Hello Thailand ถือว่าประเทศไทยมีน้ำหนักในการเป็นผู้นำ โมเดล BCG ที่สามารถใช้เป็นต้นแบบได้อย่างดี
เนื่องจากนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยรัฐมนตรีว่าการฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่มีนโยบายเพิ่มพื้นที่ เกษตรอินทรีย์ 1 ล้านไร่
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตามนโยบายของ ดร. ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แนวทางขับเคลื่อนความยั่งยืนให้กับระบบอาหารและเกษตรของประเทศด้วยเกษตรวิถีใหม่ เพื่อบรรลุเป้าหมาย "อิ่มและดี" ขององค์การสหประชาชาติ และสร้างความ "มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" สู่ภาคเกษตรไทย
ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรและเจ้าหน้าที่เกษตรในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ได้ดำเนินการ จัดการอบรมทั้งทางวิชาการและการปฏิบัติทางด้านชีวภัณฑ์ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง
เพิ่มพื้นที่ เกษตรอินทรีย์ ให้กับประเทศไทยมากขึ้น และมีประชาชนให้ความสนใจ หันกลับมาทำการเกษตรอินทรีย์ กันมากขึ้น
ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตาม แผนจำลอง กับ Bio-Circular-Green Economy Model
รวมถึง โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
เกษตรทฤษฎีใหม่
ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการฯพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา
พลเอกอนุพงศ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดย นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นายสุรศักดิ์ อักษรกุล
รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
จากทฤษฎีใหม่ของพระราชา มาสู่ หมู่บ้าน โคก หนอง นา อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาชุมชน
เป็นการนำการจัดการด้าน ความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยการสร้างอาหารในพื้นที่อยู่อาศัยของตนเอง ทั้งในการปลูกผัก ทำสวน การเลี้ยงไก่ ปลา และอื่นๆ ที่สามารถนำมาเป็นอาหาร ซึ่งเป็นวัฏจักร ที่สอดคล้องกับ โมเดล BCG ของ เอเปค APEC 2022 นี้อย่างลงตัว
นับว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการนำร่องของโมเดลนี้ โดยมีการปฏิบัติมานานหลายปี และประสบผลสำเร็จอย่างดี และการแบ่งปัน วิธีการ ให้ประเทศต่างๆได้นำไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างอาหารอย่างปลอดภัย และยั่งยืน จึงเป็นแบบจำลองที่นำไปใช้ได้จริงและสอดคล้อง ยอมรับในกลุ่มสมาชิก APEC
และประชาชนชาวไทยที่มีโอกาสในการเป็นผู้นำโมเดลมาใช้ ปฏิบัติ ทั้งเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ กล่าวคือการเป็นผู้ผลิต ผู้เก็บเกี่ยวและบริโภค ตามวิถีชีวิตของแต่ละคน ย่อมได้รับอาหารปลอดภัยในการผลิตแบบอินทรีย์และการใช้สารชีวภาพในการดูแล เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่ทำให้กับดิน แม่น้ำ ลำคลอง ระบบน้ำปลอดภัย ปราศจากสารเคมี
ยังผลให้เกิดสุขภาพที่ดี นำความปลอดภัยมาสู่ชีวิตอย่างยั่งยืน
ดังนั้นการประชุมเอเปค ในไทยครั้งนี้ จึงนำมาซึ่งความร่วมมือทุกระดับ รวมถึงประชาชนชาวไทย ที่มีส่วนให้ความรู้ต้นแบบให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกในกลุ่มเอเปค ในฐานะเจ้าภาพ
Hello Thailand ขออนุญาตท่านทั้งหลายที่จะกล่าวถึง พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น สำหรับทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ทรงคิดค้นเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อพสกนิกร และในปัจจุบันนี้ ยังนำไปสู่การประยุกต์ใช้ และเผยแพร่ไปยังหลายประเทศ เช่นรัสเซีย โดยประธานาธิบดีปูติน ได้นำทฤษฎีใหม่และรับคำแนะนำจากพระราชดำรัส ไปใช้ในประเทศจนเกิดผลที่น่าพอใจ
และยังสามารถเผยแพร่ไปยังประเทศอื่นๆในการประชุมเอเปคครั้งนี้ สำหรับประเทศสมาชิกและผู้สังเกตุการณ์
เป็นพื้นฐาน ของ BCG โมเดล
ซึ่งเป็นพระมหากรุณาเป็นล้นพ้น ที่กาที่สุดมิได้
ไม่ใช่เฉพาะชาวไทยเท่านั้น แต่เป็นชาวโลกด้วย
ขอสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ไม่เสื่อมคลาย
ขอขอบคุณ ข้อมูล
สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
วิกิพีเดีย
Hello Thailand
โฆษณา