26 พ.ย. 2022 เวลา 05:34 • การตลาด
ไทยเสียแชมป์“ข้าวหอมมะลิ” ข้าวดีที่สุดในโลกคาบ้าน บอกอะไรกับเราบ้าง?
จากข่าวที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆของไทย ในการประกวดข้าวที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2022 ที่จัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยการให้คะแนนของเชฟชั้นนำของโลก ผลปรากฏว่า “ข้าวหอมมะลิ” ของไทยที่เคยได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลก พ่ายแพ้แบบเฉียดฉิวต่อ “ข้าวผกาลำดวน” ของกัมพูชา โดยอันดับ 3 เป็นข้าวเวียดนาม และ 4 ข้าวจาก สปป.ลาว
2
หากเรามองดูกันแบบเผินๆ การพ่ายแพ้แบบฉิวเฉียดก็ดูว่าประเทศไทยก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร ข้าวไทยก็ยังได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอยู่ดี เพราะองค์ประกอบอื่นๆของไทยยังเหนือกว่า ทั้งเรื่องของมาตรฐานการผลิตและการส่งมอบที่ชัดเจน
แต่ในมุมมองของการตลาด นี่คือจุดเริ่มต้นของการตกต่ำ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างการเติบโตและตกต่ำในวงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) สัญญาณนี้ได้เตือนให้เห็นว่าคนไทยและประเทศไทยรวมทั้งหน่วยงานที่มี่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและการพัฒนาพันธุ์ข้าว ต้องรีบทำอะไรบางสิ่งบางอย่างเพื่อที่จะไม่ให้ข้าวไทยตกต่ำลงไปมากกว่านี้
ในทางปฏิบัติจุดที่แก้ไขยากที่สุดในวงจรผลิตภัณฑ์ก็คือจุดที่เติบโตสูงที่สุด รองลงมาคือช่วงที่กำลังเติบโต เพราะคนส่วนมากจะมองว่าข้าวไทยยังไม่ได้รับความเสียหายอะไรเลย ยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำไป หากไปทำอะไรในช่วงนี้ อาจจะทำให้เราสูญเสียโอกาสในการขายไปด้วย
ด้วยเหตุผลข้างต้นคนส่วนมากจึงเลือกที่จะรอให้เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนจึงดำเนินการแก้ไข
แม้ว่าจะแก้ไขในช่วงที่สถานการณ์เกิดขึ้นแล้วก็จริง แต่เป็นภาคบังคับที่ต้องดำเนินการอะไรบางสิ่งบางอย่าง อย่าลืมว่าความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานี้มีน้อยมาก เนื่องจากยอดขายตกกำไรก็บาง งบประมาณที่จะต้องใช้จึงมีน้อยหรืออาจจะไม่เพียงพอด้วยซ้ำไป เรียกง่ายๆว่าเป็นจุดที่ถูกบังคับให้เปลี่ยนนั่นเอง
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับข้าวไทยในช่วงนี้ชี้ให้เห็นว่า เราต้องรีบปรับปรุงคุณภาพข้าวเป็นการด่วน เพราะเรายังมีความพร้อมทั้งทุนในการดำเนินการ ตลาดที่ยังยอมรับคุณภาพข้าวไทยอยู่ โดยการดำเนินการต้องไปแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
Credit: Pattaya Mail
ระยะสั้น
1. เร่งแก้ไขปัญหากลิ่นหอมของข้าวที่ลดลง
2. เร่งการทำความเข้าใจกับลูกค้าและชี้ให้เห็นว่าคุณภาพรวมของข้างหอมมะลิ ไม่ได้ตกลงไปสักเท่าไหร่ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้
ระยะยาว
1. ทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ข้าวที่มีมาตรฐานตามที่ตั้งไว้
2. ส่งเสริมและพัฒนาให้ความรู้กับเกษตรกรที่ปลูกข้าว เพื่อให้ได้ข้าวคุณภาพดีที่สุด
3. จัดตั้งหน่วยงานกลางในการดูแลขบวนการผลิตข้าวหอมมะลิในระดับที่นานาชาติยอมรับ พร้อมกับการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีเป้าหมายที่มีความชัดเจน
4. จดสิทธิบัตรสายพันธุ์ข้าวพร้อมทั้งลักษณะภูมิศาสตร์ในการผลิตข้าว
นอกจากนี้แล้วต้องสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพันธุ์ข้าวไทย เช่น
1. หุงขึ้นหม้อมากกว่าข้าวจากประเทศอื่น
2. มีกลิ่นหอมกว่า
3. สามารถนำไปหุงขายแล้วลูกค้าชื่นชอบและกลับมาซื้อได้มากกว่า
4. ฯลฯ
โดยทั้งหมดคำนึงถึงประโยชน์ในองค์รวมทั้งหมด เกษตรกรผู้ผลิตขายข้าวในราคาสูงขึ้น ผู้ค้าส่งข้าวสามารถขายข้าวได้มากขึ้น ร้านค้าร้านอาหารลดต้นทุนการผลิตหรือสร้างมูลค่าเพิ่มจากการจำหน่ายข้าว ผู้บริโภคชื่นชอบที่จะบริโภคข้าวไทยมากยิ่งขึ้น
Credit: iStock
นี่คือสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนต้องรีบไปดำเนินการโดยด่วน ก่อนที่จะเกิดความเสียหายจนไม่สามารถแก้ไขได้ในอนาคต
โฆษณา