25 พ.ย. 2022 เวลา 11:00 • ข่าวรอบโลก
การขึ้นดอกเบี้ยของ ‘สหรัฐฯ’ ส่งผลอย่างไรต่อค่าเงิน ‘เวียดนาม’
1
ในรอบล่าสุด ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งแข็งค่าขึ้น และส่งผลกระทบต่อค่าเงินต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงสกุลเงินเวียดนาม ‘ดอง’
1
การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ นั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกที่ค้าขายด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ การนำเข้านั้นมีราคาแพงขึ้นเมื่อต้องชำระหนี้ต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เอง ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) จึงทำทุกวิถีทางและใช้บรรดาเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ‘ดอง’
1
เริ่มจาก ‘ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ’ สกุลเงิน ‘ดอง’ ของเวียดนาม ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการซึ่งเป็นระบบที่ประเทศส่วนมากใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมถึงประเทศไทย โดยธนาคารกลางเวียดนามจะกำหนดราคาของสกุลเงินท้องถิ่นในแต่ละวัน และสกุลเงินดังกล่าวจะสามารถถูกซื้อขายภายในกรอบของอัตราที่ธนาคารกลางเวียดนามกำหนด โดยวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา เวียดนามได้ขยายกรอบซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 5.0% จากเดิม – 3.0% และมีสัญญาณที่เวียดนามจะเตรียมขยายกรอบซื้อขายเป็นครั้งที่ 2
1
นอกจากนี้ ธนาคารกลางเวียดนามยังใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศพยุงค่าเงิน ‘ดอง’ ด้วย โดยเวียดนามได้ใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศราว 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ในช่วงปลายปี 2564 ธนาคารโลกระบุว่าเวียดนามมีทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งสิ้นกว่า 109,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหมายความว่าเวียดนามใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 18% เพื่อซื้อเงิน ‘ดอง’
1
ตามมาด้วย ‘การจำกัดวงเงินสินเชื่อ’ ธนาคารกลางเวียดนามยังจำกัดการกู้ยืมของธนาคารเวียดนามอีกด้วย โดยข้อจำกัดต่าง ๆ เหล่านี้ถูกจะกำหนดตั้งแต่ต้นปีซึ่งอิงอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายและอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดต่าง ๆ ถูกปรับเปลี่ยนใหม่อยู่บ่อยครั้ง
1
โดยตลอดปี 2565 มีการปรับเปลี่ยนหลายครั้งเพื่อตอบสนองความต้องการสินเชื่อซึ่งธนาคารหลายแห่งได้ขยายวงจำกัดสูงสุดแล้ว เนื่องจากอุปสงค์สินเชื่อยังคงแข็งแกร่ง ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางเวียดนามได้เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 9 กันยายน และวันที่ 25 ตุลาคม ที่ผ่านมาด้วย
1
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปี 2565 สกุลเงิน ‘ดอง’ อ่อนค่าเงินราว 9% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แต่ว่ายังถือว่าน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทยบาทอ่อนค่าอยู่ที่ 15% รูเปียห์อินโดนีเซีย 11% ริงกิตมาเลเซีย 14% และ เปโซฟิลิปปินส์ 16% เป็นต้น (เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ)
1
แม้ว่าสกุลเงิน ‘ดอง’ ยังคงค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ แต่ค่าเงินของประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศนั้นอ่อนค่ายิ่งกว่า โดย VN Express รายงานว่ามูลค่าของเงินโอนระหว่างประเทศที่ส่งจากผู้ใช้แรงงานในต่างประเทศลดลง เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลีใต้ซึ่งคิดเป็น 90% ของแรงงานเวียดนามในต่างประเทศ ค่าเงินของประเทศดังกล่าวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเวียดนาม ‘ดอง’ เช่นกัน โดยเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าที่ 18% ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ 6% และวอนเกาหลีใต้ 10%
1
ในแง่ของผลกระทบต่อธุรกิจ เนื่องจากมีการควบคุมวงจำกัดสินเชื่อ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ เผชิญความยากลำบากและดิ้นรนที่จะเข้าถึงเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าเงิน ‘ดอง’ ลดลง แต่ตัวราคาน้ำมันเองก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงนำไปสู่ความท้าทายต่าง ๆ ต่อการรับรองอุปทานน้ำมันเชื้อเพลิงที่มั่นคงและการขาดแคลนน้ำมันในบางพื้นที่ของเวียดนาม
1
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะผ่านไปไม่กี่สัปดาห์นับตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ค่าเงิน ‘ดอง’ ก็ค่อย ๆ แสดงสัญญาณของการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการแทรกแซงค่าเงินอาจจะยังเป็นวิธีที่จำเป็นต้องใช้ แต่มาตรการเหล่านี้ก็มีข้อจำกัด เนื่องจากทุนสำรองระหว่างประเทศของเวียดนามนั้นมีขีดจำกัดและการจำกัดวงสินเชื่อก็สามารถใช้ได้เพียงระยะหนึ่งก่อนที่จะเริ่มฉุดเศรษฐกิจของเวียดนาม
1
ที่มา:
What the Latest Fed Rate Hike Might Mean for the Vietnamese Dong (vietnam-briefing.com)
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร (2545-ปัจจุบัน) (bot.or.th)
โฆษณา