25 พ.ย. 2022 เวลา 10:52 • ท่องเที่ยว
คราวนี้จะมาว่าด้วยเรื่องความสะดวกสบายในการเดินทาง จะดีกว่าไหมที่ไม่ต้องนั่งรถอ้อม แต่ผ่ากลางแม่น้ำแทน ตัดตรง ซึ่งจริงๆก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเรา เพราะตอนไปเกาะเกร็ด เราก็เคยใช้บริการมาแล้ว ที่เราพูดถึง คือ เรือข้ามฟากนั่นเอง
ซึ่งจุดเด่นของท่าเรือข้ามฟาก คือ ไม่ติด ค่าใช้จ่ายไม่สูง วิวดีสดชื่น
ส่วนท่าเรือที่เราใช้บริการเรื่อยๆ จะมี 2 คู่ ฟังไม่ผิดหรอก เพราะ 2 ท่านี้ค่อนข้างใกล้กัน คู่แรกท่าช้าง-วัดระฆัง และคู่ที่สองจะเป็นท่ามหาราช- ท่าพรานนก (วังหลัง)ในครั้งนี้ที่แชร์เราขอกล่าวเพียงคู่แรกเท่านั้น
ท่าช้าง มีการปรับภูมิทัศน์งดงาม มีการปรับปรุงโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปี 2559 ลักษณะเป็นตึกแถวสองชั้นที่ทาสีอาคารด้วยสีเหลืองสดใส หลังคาเป็นทรงปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องว่าว เป็นศิลปะยุโรป สถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก ซึ่งตัวตึกแถวจะตั้งอยู่ที่บริเวณท่าช้าง เรียงรายกันเป็นรูปตัวแอล L ซึ่งเป็นไฮไลท์ของท่าช้างใส่ส่วนหัวข้อแรก
ไฮไลท์ที่สอง คือการสร้างอุโมงค์ลอดใต้ถนน บันไดเลื่อนทันสมัย ซึ่งเรียกว่าอุโมงค์มหาราช มีระยะทาง 90 เมตร ความลึก 4.7 เมตร ออกแบบด้วยทางลงบันไดเลื่อนแบบไม่มีหลังคา เพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพความงามของพระบรมมหาราชวัง
ภายในอุโมงค์ด้านล่างยังเพิ่มมิติของการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ ที่เสมือน “มินิมิวเซียม” มีการจัดแสดงภาพถ่ายหาชมยากในอดีตของย่านท่าช้างวังหลวง และกรุงเทพยุคก่อน มีซากกำแพงโบราณ รวมถึงนิทรรศการให้ความรู้ประวัติศาสตร์ว่าด้วยป้อมอินทรรังสรรค์และกำแพงเมือง (ทั้งนี้อุโมงค์มหาราช เปิดให้บริการสัญจรตั้งแต่ 8.00-18.00 น.ทุกวัน)
ถือได้ว่าเป็นย่านชุมชนการค้าเก่าแก่ริมน้ำเจ้าพระยา ชื่อเต็มของย่านเก่าแห่งนี้ คือ “ท่าช้างวังหลวง” ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ พื้นที่ริมแม่น้ำตรงนี้เป็นสถานที่ที่เหล่าคชบาล (คนเลี้ยงช้าง) นำช้างจากวังหลวง หรือพระบรมมหาราชวัง มาอาบน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากชื่อเรียกท่าช้างวังหลวงแล้ว ที่นี่ยังเคยถูกกล่าวขานกันในนาม “ท่าพระ” ใน พ.ศ. 2351 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แต่นิยมเรียกชื่อเดิมมากกว่า
ส่วนอาคารรูปตัวแอล (L) อาคารตึกแถงสูงสองชั้นสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีสร้างเพิ่มเติมเป็น 34 คูหารวมกับอาคารเดิม ต่อมาทางทิศเหนือเพิ่มเติมอีก ในสมัยรัชกาลที่ 6 และกรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ตึกแถวริมถนนมหาราชบริเวณท่าช้างวังหลวง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2544
บริเวณท่าเรือมีมาตรฐานที่มีความสวยงาม มีความปลอดภัยมากขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ พร้อมห้องน้ำบริการ ตัวเรือข้ามฟากมีขนาดใหญ่ดังภาพ ไม่น่ากลัว
ท่าช้าง มีเรือผ่านหลายประเภท ได้แก่ เรือด่วนเจ้าพระยา เรือท่องเที่ยว เรือหางยาวท่องเที่ยว เรือข้ามฟาก และเรือโดยสารประจำทาง
ท่าเรือท่าช้าง ทาง​ลงเรือ​
เรือด่วนพิเศษ พร้อมเวลาให้บริการและค่าโดยสาร (Time Service and Boat Fares) ของบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด สามารถศึกษาเส้นทางการเดินเรือได้ที่นี่
เรือด่วนพิเศษธงส้ม (Orange Flage Boat) 05.50 - 19.00 น. ราคา 15 Baht
เรือด่วนพิเศษธงเหลือง (Yellow Flage Boat) 06.15 - 08.20 น. และ 16.00 - 20.00 น. ราคา 20 Baht
เรือด่วนพิเศษธงเขียว (Green Flage Boat) 06.10 - 08.100 น. และ 16.00 - 16.30 น. ราคา 13, 20 และ 32 Baht
เรือด่วนพิเศษธงแดง (Red Flage Boat) 06.15 - 08.20 น. และ 16.00 - 20.00 น. ราคา 30 Baht
เรือโดยสารประจำทาง (Local Line) 06.45 - 07.30 น. และ 16.00 - 16.30 น. ราคา 9, 11 และ 13 Baht
สำหรับใครอยากนั่ง เรือท่องเที่ยว และเรือหางยาวท่องเที่ยว (ทัวร์เรือหางยาว) มี 2 วิธี ดังนี้
-ไปหาเจ้าของเรือหางยาวที่ประจำอยู่ตามท่าเรือ พร้อมต่อรองราคาเอง
-บริษัททัวร์ โดยเราสามารถหาข้อมูลของต่าง ๆ ได้จากเว็บไซต์ เช่น ราคา ตารางเวลา และโปรแกรมทัวร์
โดยที่ทั้ง 2 วิธี สามารถสอบถามข้อมูลบริเวณท่าเรือประจำจุดที่เราจะขึ้นเรือได้เลย
มีบริการเรือข้ามฟาก (Ferry Boat) โดยเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ 06.00 - 18.00 น. อัตราค่าโดยสาร (Ferry Fare) 3.50 Baht ในกรณีที่ผู้โดยสารมีสัมภาระ (Luggage)5 Baht, จักรยาน (Bicycle) และหาบเร่ (Vendor) 10 Baht
ไว้คราวหน้ามีโอกาสเราจะแชร์คู่หลังบ้าง ซึ่งเป็นท่ามหาราช- ท่าพรานนก (วังหลัง)ซึ่งท่านี้มีความยูนิคพอสมควร แถมมีคอมมูนิตี้ด้วย วิวสวยเหมาะกับการถ่ายรูปเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับเราถ้าต้องการไปวัดพระแก้ว หรือวัดระฆังฯ หรือแม้แต่อุโมงค์มหาราช ท่าช้าง-วัดระฆังฯ น่าจะสะดวกสุด ส่วนอยากชิม ช๊อป ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหวาน แชะ วิวชิคๆ ซื้อยารักษาโรค รวมทั้งไปโรงพยาบาลศิริราช ท่ามหาราช-วังหลัง น่าตอบโจทย์
อาคารสีเหลือง
ลานกว้างทำกิจกรรม
บริเวณท่าเรือ
ในส่วนตัวเรือข้ามฝาก
วิวแม่น้ำเจ้าพระยา
ท่าวัดระฆัง
ที่อยู่ : ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
อ้างอิง
โฆษณา