26 พ.ย. 2022 เวลา 12:30 • สิ่งแวดล้อม
การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ไม่กระทบกับอุณภูมิโลก
ต้องยอมรับเลยว่า “ปัญหาภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change)” สาเหตุหลักมาจากมนุษย์ นับตั้งแต่เริ่มใช้เครื่องจักรไอน้ำและเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ถ่านหิน) ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้มีข้อตกลงปารีสเกิดขึ้นเมื่อปี 2015 ให้นานาประเทศร่วมกันรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม) เพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นกับทางด้านสภาพภูมิอากาศในอนาคต
จากเป้าหมายการรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้นานาประเทศหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พร้อมทั้งมีแนวทางที่แตกต่างกันออกไป เช่น ประเทศไทยมีการรณรงค์ให้งดการใช้ถุงพลาสติก การทำเกษตรรูปแบบใหม่โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย (Thai Rice NAMA) เป็นต้น รวมถึงในส่วนของภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัว อย่างเห็นได้ชัดโดยดำเนินการดังนี้
-การหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยบรรเทาหรือเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
-ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือใช้ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
-หันมาใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ ฯลฯ
-สนับสนุนการนำกลับมาใช้ซ้ำ ใช้ใหม่
-การจัดทำ CSR ของบริษัท
บริษัท IRPC ผู้ดำเนินธุรกิจด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจร ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัท ที่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ กระบวนการผลิต และการดำเนินการทางธุรกิจให้เข้ากับโครงการ CSR ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงาน เพื่อชีวิตที่ลงตัว โดยตั้งเป้าหมายให้กับองค์กรในการ Net Zero Emission ดังนี้
-ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 20% ภายในปี ค.ศ.2030
-สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ.2050
-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2060
อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนวัตกรรมช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำในบ่อน้ำดิบสำรอง ในเขตประกอบการอุตสาหกรรม IRPC จังหวัดระยอง
ซึ่งทุ่นลอยน้ำนี้ถูกผลิตโดยใช้นวัตกรรมเม็ดพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene หรือโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง) เกรดพิเศษสีเทา สามารถช่วยลดอุณหภูมิใต้แผงโซลาร์เซลล์ได้ถึง 5-8 องศา ส่งผลให้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูง และแนะนำให้ภาคเกษตรใช้โซล่าร์ลอยน้ำนี้ในการเพาะปลูกเพราะใช้งานพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า (เหมาะกับเกษตรกรที่มีบ่อแหล่งน้ำ),
ปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นและปรับคุณภาพน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 เพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5, ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมีขาว ที่ผลิตจากซิงค์ออกไซด์ที่ได้รับมาตรฐาน FDA หรือเป็น Food Grade ไม่เป็นพิษต่อร่างกายปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค ผู้ผลิต ไม่ทิ้งสารตกค้าง มีความเข้มข้นสูง จึงทำให้ใช้ในปริมาณน้อยลง ประหยัดต้นทุนแก่เกษตรกร,
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products) และผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Products) โดยมีนวัตกรรมเม็ดพลาสติก Green ABS ที่ใช้ยางธรรมชาติแทนยางสังเคราะห์ในการผลิตเม็ดพลาสติก ABS ซึ่งนับเป็นรายแรกในโลกเลยทีเดียว
ถ้าภาคอุตสาหกรรมหันมาเปลี่ยนแปลง รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นกระบวนการ เราเชื่อว่าไม่นานเกินรอประเทศไทยจะไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้อย่างแน่นอน
โฆษณา