30 พ.ย. 2022 เวลา 05:34 • การตลาด
โลกเรามีจำนวนประชากรมากกว่า 8,000 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อย แล้วส่งผลกระทบกับประเทศไทยอย่างไรบ้าง?
ทารกแรกคนที่ 8,000 ล้าน เกิดที่สาธารณรัฐโดมินิกันเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 65 : Orlando Barría/EPA
ทารกคนที่ 8,000 ล้านได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วในโลกใบนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 65 ที่ผ่านมา ด้วยน้ำหนักเกือบ 3 กิโลกรัม ความสูง 52 เซนติเมตร หนูน้อยคนนี้เกิดที่โรงพยาบาล Nuestra Señora de la Altagracia ในซานโตโดมิงโก เมืองหลวงของสาธารณรัฐโดมินิกัน ที่เป็นหมู่เกาะตั้งอยู่ระหว่างประเทศคิวบาและหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา
ประชากรโลก ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ 8,002,069,100 คน ในปี พ.ศ.2565 มีจำนวนคนที่เกิดแล้วจำนวน 121,110,727 คน มีผู้เสียชีวิตจำนวน 60,646,660 คน หากเทียบสัดส่วนอัตราการเกิดจะสูงกว่าอัตราการสียชีวิตประมาณ 2 เท่า
Credit: www.worldometers.info
ประชากรของโลกได้เพิ่มเป็น 2 เท่าตัวในรอบ 47 ปี และคาดว่าจะมีจำนวนประชากรที่ 9,000 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2581 หรืออีกประมาณ 16 ปี (เฉลี่ยปีละ 62.5 ล้านคน) จากนั้นประชากรของโลกก็จะเริ่มลดลง เพราะคนที่สูงวัยจะมีมากขึ้นและทยอยจากโลกนี้ไป ในขณะที่คนเกิดใหม่จะลดลง
ประเทศจีนยังคงครองอันดับ 1 ที่มีประชากรจำนวน 1,439 ล้านคน ตามมาด้วนอินเดียอยู่ที่ 1,380 ล้านคน และสหรัฐอเมริกา 331 ล้านคน ส่วนประเทศไทยมีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 20 ของโลก มีจำนวน 70.2 ล้านคน
แค่เมื่อดูสัดส่วนประชากรเกิดใหม่ของจีนอยู่ที่ 1.7 อินเดียอยู่ที่ 2.2 คาดว่าไม่ปลายปี พ.ศ. 2566 หรือไม่ก็ต้นปี พ.ศ. 2567 ประชากรอินเดียจะแซงหน้าจีน ยิ่งมาดูอายุเฉลี่ยยิ่งเห็นได้ชัดว่าอินเดียจะมีประชากรวัยทำงานมากกว่าจีน เพราะอายุเฉลี่ยของคนอินเดียอยู่ที่ 28 ปี ของจีน 38 ปี
Credit: www.worldometers.info
แต่เมื่อมามองภาพรวมแล้วก็พบว่าอัตราประชากรที่สูงขนาดนี้ แต่เกิดขึ้นจากประชากรโลกมีอายุขัยเฉลี่ยที่ยาวนานขึ้น
จึงกลายเป็นว่าสิ่งที่น่าห่วงมากกว่าการเกิดใหม่ของประชากร ก็คืองบประมาณที่แต่ละประเทศต้องจัดหาให้กับคนสูงวัย เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลิตของโลกที่เพิ่มขึ้น แต่จะเป็นกลุ่มที่คอยความช่วยเหลือมากกว่า
สิ่งที่น่ากังวลสำหรับคนไทยและประเทศไทยก็คือ อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของผู้สูงวัยมีมากกว่าหลายประเทศ ทั้งยังมีอัตราการเพิ่มสูงในลำดับต้นๆของโลกด้วย ในขณะที่รายได้ต่อหัวต่อปีของคนไทยยังต่ำ เฉลี่ยคนละ 6,579 ดอลลาร์หรือประมาณ 236,844 บาท/คน/ปี อยู่ในอันดับที่ 89 จาก 190 ประเทศทั่วโลก (ตรงกลางพอดีเลย)
Credit: www.worldometers.info
อายุเฉลี่ยของคนไทยปัจจุบันอยู่ที่ 40 ปี ญี่ปุ่น 48 อิตาลี 47 โปรตุเกส กรีซ เยอรมัน เฉลี่ยประเทศละ 46 ปี
1
ผลกระทบโดยตรงของคนในวัยทำงานก็คือ
1. ต้องแบกรับภาระทางตรงมากขึ้น จากค่าใช้จ่ายที่ต้องนำไปดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในครอบครัว
2. ต้องแบกรับภาระทางอ้อมมากขึ้น จากการจัดเก็บภาษีของภาครัฐสูงขึ้น เพื่อที่จะนำมาเลี้ยงดูกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทำงานใดๆได้แล้ว
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศ คือ
1. ต้องจัดงบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
2. รายได้หรือผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลง
3. จะมีนักลงทุนน้อยลงในภาคการผลิต เพราะนอกจากที่จะไม่มีกำลังคนทำงานที่เพียงพอแล้ว ตลาดภายในประเทศก็มีกำลังซื้อลดลงด้วย
นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับสถานการณ์ของประชากรของเทศไทย ในขณะที่ประชากรของชาวโลกเขาเพิ่มขึ้น
Credit: News18
ทางออกมี 2 ทางหลักคือ มาร่วมกันเพิ่มประชากรกัน หรือเร่งสร้างรายได้สำรองไว้ตั้งแต่วันนี้ รวมถึงสินทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน (Passive) หรือจะทำทั้ง 2 แนวทาง
โฆษณา