28 พ.ย. 2022 เวลา 08:52 • ความคิดเห็น
1. การใส่บาตรพระสงฆ์หรือสมมติสงฆ์ เรียกว่าการให้ทาน หรือทานมัย คือการสละ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของ เงินทอง เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนียว ผลของการให้ทานดังกล่าว ทำให้ผู้ให้ เกิดความอิ่มเอิบใจ
2. ปัจจัยที่จะส่งผลให้ได้บุญมากน้อยประกอบด้วย "ผู้รับ" จะต้องเป็นผู้มีศีล ไม่จำเป็นต้องเป็นพระหรือนักบวช เป็นบุคคลธรรมดาก็ได้เช่นกัน หากผู้รับ มีศีลพร่อง บุญก็ลดน้อยลง, "สิ่งของที่ให้" ต้องบริสุทธิ์หรือได้มาโดยสุจริต และ "ผู้ให้" ต้องมีจิตอันเป็นกุศล กล่าวคือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ ต้องตั้งใจดี
โยมเจ้าของกระทู้ น่าจะพูดผิดตรงคำว่า "อย่าเอา....ใส่บาตรนะ" เพราะขณะพูดนั้น เกิดอุกศลจิตทันที! แม้ตามหลักพระวินัยพุทธองค์จะทรงตรัส "ห้ามไม่ให้พระปรุงอาหาร" ก็เพราะทรงมีเหตุผลเกรงว่า พระจะติดในรสชาติ จะเลือกที่ชอบ จะลือกที่ไม่ชอบ ดังนั้น โยมจะถวายอย่างไรมาก็ควรฉันไปตามนั้น เพื่อลด เพื่อละ หัวใจของพระวินัยอยู่ตรง "โยมจะถวายมาอย่างไรก็ฉันไปตามนั้น"
มาถึงตรงนี้ อาจมีศรีธนญชัย กล่าวลอยๆขึ้นว่า ถ้าอย่างนั้น! พระก็ต้องฉันข้าวสารและมาม่าดิบใช่ม้าา? แต่ศรีธนญชัย ควรใช้สติปัญญาใคร่คราญว่า ครั้งพุทธกาล ชาวบ้านจะตื่นเช้า หุงข้าวปรุงอาหารสดเพื่อรอใส่บาตร และยุคนั้นก็คงไม่มีอุตสาหกรรมผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือยังไม่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั่นเอง
โฆษณา