30 พ.ย. 2022 เวลา 06:38 • ข่าว
พบไวรัสเดลตาครอน(Deltacron) เคสแรกของประเทศไทยแล้ว
2
จากสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นระลอกที่ 4 หรือระลอกโอมิครอน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นมานั้น
โดยที่โอมิครอนมีความสามารถในการแพร่ระบาดได้เร็วกว่าเดลต้าหลายเท่าตัว จึงทำให้โอมิครอนได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักของผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศไทย และไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้หายไป
ตลอดระยะเวลา 11 เดือนที่ผ่านมา ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้มีการกลายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ย่อยมากกว่า 500 สายพันธุ์ย่อย เช่น BA.1 , BA.2 , BA.5 , BQ และ XBB เป็นต้น
1
แต่โชคดี ที่ความรุนแรงของสายพันธุ์ย่อยต่างๆนั้น ไม่ได้มากไปกว่าไวรัสโอมิครอนตัวแม่แต่อย่างใด
1
อย่างไรก็ตาม การกลายพันธุ์ของไวรัส ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
2
และได้พบการกลายพันธุ์ครั้งสำคัญคือ เป็นการกลายพันธุ์ออกไปนอกตระกูลโอมิครอน กล่าวคือเป็นการผสมของไวรัสสองสายพันธุ์หลักเข้าด้วยกันคือ เดลต้ากับโอมิครอน เรียกชื่อว่าเดลตาครอน (XBC)
2
ล่าสุดอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้แถลงว่า ตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาครอนเคสแรกของประเทศไทยแล้ว หลังจากที่มีการพบทั่วโลกจำนวน 153 ราย
ปัจจุบันเคสดังกล่าวนี้หายดีแล้ว และยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น
1
ขณะเดียวกัน ไวรัสสายพันธุ์หลักของผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ก็ได้มีการเปลี่ยนจาก BA.5 มาเป็น BA.2.75 แล้ว โดยในการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสในช่วง 19-25 พฤศจิกายนพบ BA.2.75 เป็นสายพันธุ์หลัก จำนวน 63.3% เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่พบ 42.9%
กล่าวโดยสรุป
1) ไวรัสสายพันธุ์หลักของไทยได้เปลี่ยนจาก BA.5 มาเป็น BA.2.75 ซึ่งยังคงอยู่ในตระกูลโอมิครอน และไม่มีความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น แต่แพร่เร็วและกว้างขวางมากกว่า BA.5.
1
2) ประเทศไทยพบเดลตาครอน (Deltacron) เป็นเคสแรกแล้ว ยังไม่มีหลักฐานความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
คงจะต้องติดตามสถานการณ์ของการกลายพันธุ์ของไวรัสกันต่อไป และหวังว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ จะมีระดับความรุนแรงของโรคที่ไม่มากกว่าสายพันธุ์เดิม
1
ก็จะทำให้การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคทางสาธารณสุขยังเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ต้องกลับมาเข้มงวดเหมือนเมื่อสองปีก่อน
1
Reference
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา