30 พ.ย. 2022 เวลา 11:30 • ธุรกิจ
สรุปนิยาม “ทำเลที่ดี” ของ ต๊อบ เถ้าแก่น้อย สมัยทำร้านเกาลัด
1
หลายคนคงรู้จัก คุณต๊อบ เถ้าแก่น้อย ในฐานะเจ้าของ
อาณาจักรสาหร่าย 10,000 ล้านบาท แต่รู้หรือไม่ว่า
4
ก่อนที่จะขายสาหร่าย คุณต๊อบ เคยขายเกาลัดมาก่อน โดยทำร้านที่มีชื่อว่า เกาลัดเถ้าแก่น้อย
2
และตอนนั้น ก็ทำให้เขาเข้าใจว่า การเลือกทำเลที่ดี มันทำให้ธุรกิจมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว
แล้วนิยามคำว่า “ทำเลที่ดี” ของคุณต๊อบ สมัยทำร้านเกาลัด มันเป็นอย่างไร ?
BrandCase จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
2
ต้องเล่าก่อนว่าในช่วงแรก คุณต๊อบขายเกาลัดขาดทุนทุกวัน และผ่านไป 2 เดือน เงินเก็บที่เคยมีก็เริ่มหมดลง จนเกือบต้องเลิกกิจการ
2
แต่เมื่อเริ่มจับจุดได้ และเข้าใจความหมาย ของคำว่า ทำเลที่ดี
เพียง 2 ปีต่อจากนั้น เกาลัดเถ้าแก่น้อย กลับขยายกิจการ
ได้กว่า 30 สาขา และมียอดขายเดือนละกว่า 3 ล้านบาท
2
ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น การขายเกาลัด ของคุณต๊อบ
เกิดจาก ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของคุณพ่อมีปัญหา จนที่บ้าน เป็นหนี้กว่า 40 ล้านบาท
1
ทำให้คุณต๊อบ ต้องพยายามหาเงินด้วยตัวเอง เพื่อไม่ให้
เป็นภาระของคุณพ่อและคุณแม่
จนวันหนึ่งขณะเดินเล่นในงาน World Food Exhibition
ที่เมืองทองธานี คุณต๊อบก็ได้พบกับ เครื่องคั่วเกาลัด
2
และจุดประกายให้เกิดคำถามว่า
ทำไม “เกาลัดต้องขายแค่ที่เยาวราช”
1
ถ้ามีเจ้าเครื่องคั่วนี้ ก็สามารถขายเกาลัดได้ทุกที่
โดยที่เราไม่ต้องใช้ฝีมืออะไรด้วย เพียงแค่กดปุ่ม และคอยป้อนวัตถุดิบก็พอ
คุณต๊อบจึงตัดสินใจ เช่าเครื่องคั่วเกาลัด มาในราคา
50,000 บาทต่อเดือน จากนั้นจึงเริ่มศึกษาเทคนิค และวิธีการจากร้านขายเกาลัดที่เยาวราช
หลังจากนั้นก็ถึงเวลาลงมือปฏิบัติ โดยคุณต๊อบเริ่มจาก
การไปขายในห้างเดอะมอลล์รามคำแหง
1
ซึ่งในเดือนแรก
คุณต๊อบขายเกาลัดได้วันหนึ่งไม่ถึง 1 กิโลกรัม เฉพาะค่าเช่าเครื่องคั่วเกาลัดที่ต้องจ่าย 50,000 บาททุกเดือน ก็ไม่คุ้มแล้ว แต่เพราะติดสัญญา จึงยกเลิกการขายในพื้นที่เดิมไม่ได้
2
ในเดือนที่สอง คุณต๊อบจึงตัดสินใจขยายกิจการต่ออีกสาขา
ที่ห้าง Big C บางใหญ่ ซึ่งแม้จะได้ทำเลใหม่
แต่ผลลัพธ์กลับขาดทุนเหมือนเดิม
ทำให้เงินเก็บที่คุณต๊อบเคยมีเริ่มหมดลง จนเริ่มรู้สึกท้อแท้ และคิดที่จะเลิกขายเกาลัดแล้ว
แต่เพราะมีห้าง Lotus แจ้งวัฒนะ โทรชวนให้คุณต๊อบ นำร้านเกาลัดมาออกงาน​ Event ทำให้คุณต๊อบ
นำเครื่องคั่วเกาลัดจากทั้ง 2 สาขาย้ายมาลองขายดู
1
ซึ่งผลปรากฏว่า ขายดีเกินคาด ปกติ 2 สาขารวมกัน
ขายได้แค่วันละ 1,000 บาท แต่ยอดขายจากสาขา Lotus เพียงแห่งเดียว ก็วันละ 8,000 บาทแล้ว
2
นั่นทำให้คุณต๊อบเกิดคำถามว่า ทำไมทำเลเก่า
ที่คนผ่านไปมาเยอะแยะ แต่กลับไม่มีคนซื้อ ?
และนี่คือสิ่งที่คุณต๊อบได้ จากการคิดทบทวน
- ทำเลสาขาแรก ตั้งอยู่หน้า Food Court ซึ่งคนมีเป้าหมายเพื่อมากินข้าวจานละ 25-30 บาท เมื่อเจอเกาลัดกิโลกรัมละ 280 บาท คนจึงไม่ซื้อ
1
- ทำเลสาขาสอง ตั้งอยู่หน้าประตูห้างก็จริง แต่เป็นประตู ซึ่งเชื่อมกับที่จอดรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งคนที่เดินผ่านส่วนใหญ่ มักมีกำลังซื้อที่น้อย ร้านลูกชิ้นไม้ละ 5-10 บาทแถวนั้นจึงขายดี
1
- ทำเลงาน Event ตั้งอยู่ใกล้แคชเชียร์ซูเปอร์มาเก็ต
แต่ที่สำคัญกว่าคือ คนที่มาเดินห้างส่วนใหญ่ เป็นคนไทย
เชื้อสายจีน ซึ่งมีความคุ้นเคยกับเกาลัดอยู่แล้ว แถมมีกำลังซื้อสูง จึงขายเกาลัดได้ไม่ยาก
4
สรุปก็คือ ทำเลที่ดี ไม่ใช่ทำเลที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะเพียงอย่างเดียว
แต่ต้องเป็นทำเล ที่มีกลุ่มเป้าหมายของเราเดินด้วย
13
ซึ่งหลังจากรู้ข้อนี้แล้ว ก็ทำให้ร้านเกาลัดเถ้าแก่น้อย
เติบโตอย่างก้าวกระโดด ภายในระยะเวลา 2 ปี สามารถขยายกิจการได้กว่า 30 สาขา
และมียอดขายเดือนละกว่า 3 ล้านบาทเลยทีเดียว..
1
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
หลังจากนั้นไม่นาน เกาลัดเถ้าแก่น้อย ก็ประสบปัญหา
เรื่องควันดำจากเครื่องคั่ว เลยต้องเปลี่ยนไปใช้ครัวกลาง แล้วค่อยกระจายเกาลัด ไปแต่ละสาขาแทน
ทำให้เอกลักษณ์ทั้งความแปลกใหม่ กลิ่นหอม ๆ และอุณหภูมิเสิร์ฟอุ่น ๆ หายไป จนยอดขายตกลง เหลือเพียงครึ่งเดียว
แต่สุดท้ายแล้ว เกาลัดเถ้าแก่น้อย ก็สามารถพลิกกลับมาโตได้ด้วย New S-Curve ใหม่ที่เปลี่ยนชีวิตของคุณต๊อบ
ไปตลอดกาล
นั่นคือ สาหร่ายเถ้าแก่น้อย นั่นเอง..
References
-หนังสือเรื่อง เถ้าแก่น้อย “ต๊อบ” Story โดย สรกล อดุลยานนท์, เชตวัน เตือประโคน
1
โฆษณา