1 ธ.ค. 2022 เวลา 04:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ปรับพอร์ต ลดความผันผวน ผ่านกลุ่ม “โครงสร้างพื้นฐาน”
ภาพรวมตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเป็นช่วงที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุน เพราะไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น หรือตลาดตราสารหนี้เอง ต่างก็ติดลบไปแล้วมากกว่า 20%
ปัจจัยหลัก ๆ ที่เข้ามากดดันราคาหุ้น และตราสารหนี้ก็จะมีเรื่องของ
- ความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจที่อาจถดถอยในอนาคต
- เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงในรอบหลายสิบปี
- การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัว จากธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศ
- ผลกระทบจากความขัดแย้งของต่างประเทศ
ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลให้ภาพรวมการลงทุนในปีนี้ กลายเป็นปีที่เหนื่อยอย่างมากสำหรับนักลงทุน
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะไม่เป็นใจ แต่เราก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารพอร์ตการลงทุน
ว่าแต่…เราจะบริหารพอร์ตการลงทุนอย่างไรดี วันนี้ BBLAM มีวิธีมาฝากทุกคนกัน ! 🙌
โดยหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดความกังวลใจของนักลงทุนเมื่อเกิดความผันผวนเช่นนี้ ก็คือ “การกระจายความเสี่ยง” ซึ่งการกระจายความเสี่ยงก็มีหลากหลายกลยุทธ์ให้เลือกใช้
ก่อนหน้านี้ เรามักได้ยินว่า หากตลาดมีความผันผวนสูง ควรกระจายความเสี่ยงด้วยกลยุทธ์ 60/40 อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ
- สัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น 60%
- และกระจายไปในตราสารหนี้อีก 40%
การใช้กลยุทธ์เช่นนี้ จะช่วยถัวเฉลี่ยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากตลาดใดตลาดหนึ่งได้ และจะช่วยลดความเสี่ยงได้ดี หากตลาดอยู่ในภาวะที่มีความผันผวนแบบปกติ
แต่สำหรับปีนี้ การใช้กลยุทธ์ 60/40 อย่างเดียวอาจไม่ได้ผล หากไม่มีการใช้กลยุทธ์อื่นร่วมด้วย เพราะผลลัพธ์ที่เกิดกับทั้ง 2 ตลาดนี้ ลดลงอย่างรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก
📍 เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรจะเลือกกระจายความเสี่ยงอย่างไร เพื่อไม่ให้พอร์ตติดลบ ?
จากข้อมูลของ Franklin Templeton ระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนที่มีการเพิ่มสัดส่วนในหุ้นโครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้กลยุทธ์กระจายความเสี่ยงแบบ 60/40 จะมีความผันผวนของพอร์ตที่ลดลง ในขณะที่ผลตอบแทนยังคงใกล้เคียงเดิม
นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงของหุ้นโครงสร้างพื้นฐาน มี Drawdown 13% เพียงเท่านั้น ในขณะที่หุ้นโลก และตราสารหนี้โลก มี Drawdown สูงกว่า 20%
ซึ่งตรงนี้ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า หากพอร์ตการลงทุนของเรามีสัดส่วน “หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน” อยู่บ้าง ก็มีโอกาสที่จะลดความรุนแรงของความผันผวนได้มากขึ้นนั่นเอง
💭 หากใครนึกไม่ออกว่า เพราะอะไร “โครงสร้างพื้นฐาน” ถึงสามารถช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้ BBLAM จะอธิบายให้ฟัง !
“โครงสร้างพื้นฐาน” ถือเป็นหุ้นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่งอย่างมาก เมื่อเทียบกับหุ้น หรือตราสารหนี้ทั่วไป เนื่องจากเป็นสิ่งที่ถูกใช้อยู่ในชีวิตประจำวันทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้า เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทางด่วน หรือสนามบิน ก็ตาม
โดยในทุก ๆ วันแทบจะไม่มีใครที่ไม่ใช้สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ทุกคนล้วนจำเป็นที่จะต้องใช้ทั้งสิ้น ไม่สิ่งใดก็สิ่งหนึ่ง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ “โครงสร้างพื้นฐาน” ได้กลายเป็นหุ้นที่น่าสนใจอย่างมากในเวลาเช่นนี้
สำหรับเหตุผลที่ BBLAM มองว่า “หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน” น่าจะปรับตัวได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่นนั้น ก็มีอยู่ 3 ประเด็นด้วยกัน แต่จะมีอะไรบ้างนั้น BBLAM ก็ได้ทำสรุปอธิบายทั้งหมดไว้ในรูปภาพนี้เรียบร้อยแล้ว
สำหรับนักลงทุนที่อยากจะกระจายความเสี่ยง ผ่านการลงทุนใน “หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน” ทาง BBLAM ก็มีกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกอย่าง B-GLOB-INFRA
นอกจากนี้ ยังมีกองทุนในรูปแบบ SSF และ RMF เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี มาให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนกันอีกด้วย
หากสนใจลงทุนในกลุ่ม “โครงสร้างพื้นฐาน” สามารถอ่านรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ :
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
โฆษณา