5 ธ.ค. 2022 เวลา 02:55 • ธุรกิจ
ไปรษณีย์ไทย ขาดทุน แต่ Lazada Express ได้กำไร
5
หากถามว่าหนึ่งในธุรกิจที่กำลังแข่งขันกันจนเลือดอาบ
จนสามารถพูดได้ว่า เป็นการแข่งขันของตลาด Red Ocean หรือ ทะเลสีเลือด
หนึ่งในนั้นต้องมี ธุรกิจขนส่งพัสดุ รวมอยู่ด้วย
7
แล้วเรื่องนี้มันเป็นเพราะอะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
4
พามาดูผู้ให้บริการขนส่งพัสดุรายใหญ่ ในประเทศไทย กันก่อน
บจ.ไปรษณีย์ไทย
3
- ปี 2563 รายได้ 23,712 ล้านบาท กำไร 238 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 21,227 ล้านบาท ขาดทุน 1,730 ล้านบาท
3
บมจ.เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย)
- ปี 2563 รายได้ 19,010 ล้านบาท กำไร 1,405 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 18,972 ล้านบาท กำไร 47 ล้านบาท
- ปี 2565 9 เดือนแรก รายได้ 13,057 ล้านบาท ขาดทุน 1,898 ล้านบาท
2
เรียกได้ว่า ผลประกอบการมีทิศทางย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง และหนักถึงขั้นขาดทุน
ก็ต้องบอกว่าอุตสาหกรรมนี้ ไม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด หรือ Barrier to Entry มากนัก
ทำให้ผู้เล่นรายใหม่ เข้าสู่อุตสาหกรรมนี้กันมากมาย
3
รวมไปถึง ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจ E-Commerce ก็หันมาทำธุรกิจขนส่งพัสดุเอง อย่างเช่น Lazada แพลตฟอร์ม E-Commerce ชื่อดัง ก็มีบริษัทในเครืออย่าง Lazada Express ซึ่งปัจจุบันมีกำไรแซง Lazada ไปแล้ว
2
มาดูผลประกอบการปีล่าสุด (ปีบัญชี 2565) ของสองบริษัทนี้..
2
บริษัท ลาซาด้า จำกัด (เจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Lazada)
-รายได้ 20,675 ล้านบาท
-กำไร 413 ล้านบาท
-อัตรากำไร 2%
3
บริษัท ลาซาด้า เอ็กซ์เพรส จำกัด
-รายได้ 16,060 ล้านบาท
-กำไร 2,700 ล้านบาท
-อัตรากำไร 17%
4
พอเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ บริษัทขนส่งพัสดุหลายราย มีการทำสงครามราคา หรือ Price War อัดโปรโมชันต่าง ๆ เพื่อแย่งลูกค้าให้มาใช้บริการของตัวเอง
3
หากเราลองมาดูส่วนแบ่งตลาดที่ผ่านมา
1
ปี 2561
- ไปรษณีย์ไทย มีส่วนแบ่งตลาด 41%
- เคอรี่ เอ็กซ์เพรส มีส่วนแบ่งตลาด 39%
- อื่น ๆ 20%
2
ปี 2563
- เคอรี่ เอ็กซ์เพรส มีส่วนแบ่งตลาด 29%
- ไปรษณีย์ไทย มีส่วนแบ่งตลาด 20%
- อื่น ๆ 51%
1
พูดง่าย ๆ ว่า จากเดิมที่มีผู้เล่นรายใหญ่ 2 รายที่แทบจะครองตลาดนี้ ซึ่งเคยครองตลาดรวมกันถึง 80%
แต่มาในวันนี้ ผู้เล่นรายอื่นกำลังแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดตรงนี้ไปเรื่อย ๆ
4
และดูเหมือนว่าผู้ที่ได้เปรียบก็คือ ผู้ที่คุมช่องทางการขายสินค้า ซึ่งก็คือ E-Commerce รายใหญ่ อย่าง Shopee และ Lazada
6
ซึ่งแพลตฟอร์ม E-Commerce เหล่านี้ สามารถกำหนดค่าขนส่งสินค้าที่ทำให้ตนเองได้กำไร ไม่ว่าจะเป็นการส่งสินค้าเอง หรือการที่จะ Outsource ออกไปให้ผู้ส่งพัสดุรายอื่น โดยบีบราคาให้ต่ำลง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมขนส่งพัสดุยังคงมีศักยภาพในการเติบโต
2
แต่การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้มีคู่แข่งเข้ามามากขึ้น และคนที่ได้เปรียบ กลับเป็นผู้ทำธุรกิจอื่น ที่เข้ามาทำธุรกิจขนส่งพัสดุ
1
สุดท้ายแล้ว การที่ทำธุรกิจขนส่งพัสดุเพียงอย่างเดียวไปตลอด จะต้องเจ็บตัวแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน คงต้องติดตามดูกัน..
2
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งจอง ได้ที่
2
References
- แบบแสดงรายการข้อมูลปี 2564, บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
โฆษณา