6 ธ.ค. 2022 เวลา 15:16 • ครอบครัว & เด็ก
เมื่อลูกค้าท่านหนึ่งมาด้วยความกังวลใจ ไม่ใช่เพราะรายได้ไม่พอรายจ่าย กลับกันเธอมีรายรับจากสามีทุกเดือน ประมาณครึ่งแสน หน้าที่หลักของเธอคือบริหารเงินก้อนนั้น ส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายลูก ค่าใช้จ่ายในบ้านและใช้ส่วนตัว เธอมีเงินเก็บก้อนใหญ่ในบัญชีที่เก็บหอมรอมริบมาก่อนที่จะมีลูก ซึ่งก้อนนี้เธอตั้งใจจะเก็บเพื่อเก็บ เราคุยกันเพื่อที่จะบริการเงินก้อนนี้ ไม่เพียงเท่านั้น เนื่องจากเธอเป็นคนไม่ฟุ่มเฟือย ในแต่ละเดือนเลยเหลือเงินอีกจำนวนหนึ่ง
ฟังดูก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่เธอรู้สึกว่าการที่สามีทำงานและแบกรับค่าใช้จ่ายอยู่คนเดียว ดูจะเสี่ยงเกินไป เธอคิดจะหารายได้เพิ่มอยู่แล้วเมื่อลูกโตขึ้นกว่านี้อีกสักนิด แม้ตอนนี้ทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดี มีครอบครัวที่อบอุ่น แต่ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเป็นยังไง เมื่อตอนที่เธอเสียพ่อไป สิ่งที่พ่อทิ้งไว้ให้คือหนี้สินก้อนหนึ่งที่แม้แต่แม่ของเธอเองก็ไม่รู้ เธอและแม่ต้องแบกรับภาระนี้ต่อ #ทุนประกันชีวิต คือสิ่งที่เธอคิดว่าน่าจะตอบโจทย์ หากเสาหลักของบ้านเป็นอะไรไป
ประกันแบบทุนสูง สำหรับหัวหน้าครอบครัว
📍การคำนวณทุนประกันชีวิตโดยวิเคราะห์ความจำเป็นทางการเงิน (Financial Needs Analysis) โดยทั่วไปแล้ว คำนวณจากค่าใช้จ่ายหลักๆของครอบครัว เช่น ค่ากินอยู่ ค่าเรียนของลูก รวมถึงมูลค่าหนี้สินคงเหลือ เมื่อได้ตัวเลขก้อนนี้มาแล้ว ก็เทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่มี ถ้ามีทรัพย์สินมากกว่า อาจจะไม่จำเป็นต้องมีทุนประกันเลยก็ได้ แต่ถ้ามีน้อยกว่า เราอาจจำเป็นต้องปิด gap นี้ด้วยทุนประกันชีวิต
ไม่ใช่เรื่องแปลก หากลองคำนวณแล้วอาจต้องการทุนประกันถึงหลักล้าน โดยเฉพาะคนมีลูก หรือมีคนที่ต้องดูแล เช่น พ่อแม่ พี่น้อง นอกจากประกันสุขภาพแล้ว ประกันที่เน้นทุนสูง หรือเน้นความคุ้มครองสูง จึงตอบโจทย์คนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว
🔎ปัญหาก็คือ ควรเป็นประกันแบบไหน และเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายจะสอดคล้องกับเงินที่มี/เตรียมไว้ไหม?
📍วันนี้อุ้ยเลยนำตัวอย่างเบี้ยประกันมาให้ดู กรณีต้องการทุนประกันชีวิต 10 ล้านบาท สำหรับเพศชายอายุ 40 ปี
1. #แบบชั่วระยะเวลา (Term) มีระยะเวลาคุ้มครอง เบี้ยประกันไม่แพง เป็นแบบจ่ายทิ้ง
-คุ้มครอง 10 ปี เบี้ย 66,300 บาท
-คุ้มครอง 15 ปี เบี้ย 77,200 บาท
-คุ้มครอง 20 ปี เบี้ย 91,200 บาท
2. #แบบตลอดชีพ (Whole Life) คุ้มครองตลอดชีพ เบี้ยแพงกว่า Term แต่มีมูลค่าเงินสด
ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันขึ้นกับแผนที่เลือก เช่น
-แบบชำระ 20 ปี เบี้ย 258,000 บาท
3. #แบบประกันควบการลงทุน (Unit Linked) ออกแบบเบี้ยประกันและระยะเวลาชำระได้ หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว จึงนำเงินที่เหลือไปลงทุนในกองทุนรวม มีมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ไม่แน่นอน)
-เบี้ยประกัน 100,000 บาท
สิ้นปีที่ 15 มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ณ อัตราผลตอบแทน 2%) ~729,753 บาท
สิ้นปีที่ 20 มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ณ อัตราผลตอบแทน 2%) ~830,006 บาท
จะเห็นได้ว่าแบบประกันแต่ละแบบ เบี้ยต่างกัน จึงควรเลือกให้เหมาะกับความสามารถในการชำระเบี้ย ความสามารถในการรับความเสี่ยง และความต้องการของตนเองนะคะ
#ด้วยรัก ❤️
แม่อุ้ย #KanyaweeCFP
กัลยวีร์ โรจน์สุขพัฒนา
นักวางแผนการเงิน CFP®
📍สอบถาม/สนใจผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
#FinanceForMom #ฉบับคุณแม่ต้องรู้
#การเงินครอบครัว #ชีวิตคู่ #วางแผนประกัน #ทุนประกันชีวิต #ความคุ้มครองชีวิต #วางแผนการเงิน #CFP
📍พูดคุยปรึกษา/นัดหมายเวลาวางแผนการเงินแบบองค์รวม 📩 https://lin.ee/1jcI2lx
โฆษณา