7 ธ.ค. 2022 เวลา 08:16 • การตลาด
เรือไททานิกอาจไม่เคยจมลงใต้มหาสมุทรและอาจจะไม่ได้ชนภูเขาน้ำแข็งอย่างเราทราบกับและการจมของเรืออาจไม่ใช่อุบัติเหตุด้วย
1
Credit: Pinterest
เรือไททานิก ตำนานในภาพยนตร์ระหว่างแจ็คกับโรส ที่ยืนกางมือรับลมทะเลที่หัวเรือ เป็นภาพยนต์อมตะอีกเรื่องหนึ่งที่ว่ากันว่าสร้างมาจากเรื่องจริง
เรือลำนี้ได้ชื่อว่าเรือที่ปลอดภัยที่สุดในยุคนั้น ชื่อเต็มคือ เรือไปรษณีย์หลวงไททานิก (Royal Mail Ship Titanic) ได้อับปางลงจากการชนภูเขาน้ำแข็งในระหว่างการเดินทางจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
Credit: WallpaperAccess
ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1,514 คน จัดได้ว่าเป็นอุบัติเหตุทางทะเลที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการเดินเรือในช่วงที่ปลอดสงคราม
จัดได้ว่าเป็นอุบัติเหตุทางทะเลที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการเดินเรือในช่วงที่ปลอดสงคราม
เรือไททานิก เคยถูกจัดให้เป็นเป็นสิ่งของเคลื่อนได้ที่ใหญ่ที่สุดที่ทำด้วยฝีมือมนุษย์ในขณะการเดินทางเที่ยวแรก ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของเรือขนาดยักษ์ ที่ดำเนินการสร้างโดยไวต์สตาร์ไลน์ ในระหว่าง ค.ศ. 2452-2554 ณ อู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนดวูล์ฟฟ์ ในเบลฟาสต์ สามารถบรรทุกผู้โดยสารรวม 2,223 คน
1
สายการเดินเรือไวต์สตาร์ คือ เจ้าของเรือไททานิก ที่ถูกต่อขึ้นมาพร้อมกับเรือในขนาดใกล้เคียงกันอีก 2 ลำ คือ โอลิมปิก (Olympic) และไจแอนติก (Giantic) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นไบร์แทนนิก (Britannic ) ที่ต่อขึ้นในปี พ.ศ. 2454 และปี 2456 ส่วนไททานิกถูกต่อขึ้นในปี 2455
Credit: Redbubble
ด้วยการต่อเรือขนาดใหญ่จึงมีการขยายพื้นที่ไว้สำหรับการเป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์ข้ามชาติและบริษัทจัดส่งของอังกฤษ หรือ Royal Mail เรือทั้ง 3 ลำจึงได้ชื่อขึ้นต้นว่า RMS หรือ Royal Mail Ships
ข่าวที่ออกมาทั้งโลกก็ต่างรับรู้ว่าเรือไปรษณีย์หลวงไททานิก (Royal Mail Ship Titanic) ได้อับปางลงสู่พื้นมหาสมุทรแอตแลนติตหลังจากที่ได้ชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง
แต่ก็ยังมีข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่มีการตั้งข้อสังเกตขึ้นมาจากการพบความไม่ชอบมาพากล ที่มีสาเหตุมาจากการออกเดินเรือของ เรือไปรษณีย์หลวงโอลิมปิกในรอบที่ 5 ที่ได้เกิดอุบัติเหตุชนกับเรือรบหลวง HMS Hawke ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2454 นอกชายฝั่ง Isle of Wight
 
เหตุการณ์นี้ได้สร้างยากลำบากให้ธุรกิจการเดินเรือไวต์สตาร์เป็นอย่างมาก เพราะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับทางรัฐบาล ไม่มีรายได้เพราะต้องหยุดให้บริการในระหว่างการซ่อมแซม ส่งผลทำให้บริษัทต้องขาดสภาพคล่องอย่างหนัก
Credit: Wikimedia Commons
แต่ก็ยังมีข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่มีการตั้งข้อสังเกตขึ้นมาจากการพบความไม่ชอบมาพากล
ผู้บริหารจึงได้คิดแผนเพื่อหาทางออกโดยการเปลี่ยนชื่อเรือโอลิมปิกที่ทำการซ่อมแซมแล้วทาสีใหม่ มาเป็นเรือไททานิก โดยครั้งนี้ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาได้เปลี่ยนเรือ ยกเว้นผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ที่ประกอบไปด้วย J.Bruce Ismay, Lord Pirrie, Thomas Andrews และ JPMorgan
เรือได้รับการปรับเปลี่ยนจนผู้คนในขณะนั้นไม่มีใครสามารถสังเกิดเห็นความแตกต่างได้ ทั้งพรมปูพื้นผืนใหม่ การนำห้องโดยสารบนดาดฟ้าเรือไททานิกออกไป แทนที่ด้วยทางเดิน เพื่อทำให้เรือโอลิมปิกเป็นเรือที่ดูใหม่และเหมือนกับเรือไททานิกนั่นเอง
Credit: Retiring Shorthand Social - Shorthand
แต่ก็มีความแตกต่างที่ทำให้สังเกตได้ก็คือช่องหน้าต่างบนดาดฟ้า 'C' เพราะเรือไททานิคมีชิ่งหน้าต่าง 14 ช่องในช่วงแรก แต่ในวันที่ 10 เมษายน 2455 ก่อนเดินทางไม่กี่วันกลับพบว่ามี 16 ช่อง
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานอีกหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่ามีการสลับเรือกัน เช่น คำยืนยันจากผู้ต่อเรือไททานิกที่อู่ต่อเรือ Harland and Wolff ใน Belfast แล้วก็จดหมายจากชายชาวออสเตรเลีย ที่ระบุว่ามีการอ่านกฏหมายที่เป็นความลับทางราชการต่อลูกเรือที่รอดชีวิต ให้ห้ามบอกเหตุผลที่แท้จริงของการจมของเรือ เพราะจะมีโทษจำคุก 20 ปี และยังจะไม่ได้รับบรรจุเข้าทำงานหลังจากที่พ้นโทษด้วย
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานอีกหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่ามีการสลับเรือกัน
การดำเนินการนี้ทางสายการเดินเรือไวต์สตาร์ จึงได้วางแผนในการจมเรือเพื่อที่จะได้เสียกร้องค่าสินไหมชดเชยจากบริษัทประกันภัย จากจากการอับปางของเรือโอลิมปิกภายใต้การสวมชื่อเป็นเรือไททานิกนั่นเอง
Credit: Retiring Shorthand Social - Shorthand
ดังนั้นเรือที่จมอยู่ใต้ท้องมหาสมุทรแอตแลนติกมาถึง 113 ปี จึงไม่ใช่เรือไททานิกและการจมของเรือก็อาจจะไม่ได้เป็นอุบัติเหตุ
โฆษณา