13 ธ.ค. 2022 เวลา 06:54 • หนังสือ
Review หนังสือ: แค่ 30 นาที ก่อนนอน เปลี่ยนคนยอดแย่ เป็นยอดเยี่ยม (ตอนที่ 2)
บทที่ 2 : ทำไมจึงต้องเปลี่ยน “เวลาก่อนนอน 30 นาที”
บทนี้ว่าด้วยเรื่องของ “การหลับ” 😴
❓ทำไมนอนเยอะ แต่ยังรู้สึกอ่อนเพลีย
❓ทำไมอ่านหนังสือทั้งคืน แต่ทำข้อสอบไม่ได้
❓การนอนหลับ ถือเป็นการสิ้นสุดของวัน จริงหรือ
📌การหลับของคนเราแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
การหลับแบบ REM sleep (Rapid Eye Movement) และ NREM sleep (Non - Rapid Eye Movement)
📌การหลับแบบ REM เป็นระยะที่ร่างกายผ่อนคลายจากความตรึงเครียด ร่างกายได้พักผ่อน เรียกได้ว่าเป็นช่วง “การหลับของร่างกาย”
แต่ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ “ระดับสติจะสูง” เมื่อวัดคลื่นสมองแล้วพบว่าอยู่ในสภาพเดียวกับเวลาที่ตื่นอยู่ และเป็นช่วงเวลาที่เราเกิดการ “ฝัน” อีกด้วย เป็นการหลับที่ “ลูกตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว” (ก็ตามชื่อ Rapid Eye Movement นะแหละ)
📌ส่วนการหลับแบบ NREM เป็น “การหลับของสมอง” ช่วงนี้เราจะไม่ฝัน แต่ร่างกายจะไม่ผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดการนอนดิ้น พลิกตัวไปมา หรือเตะผ้าห่ม
📌การหลับแบบ REM และ NREM จะเกิดสลับกัน ในแต่ละรอบจะกันระยะเวลาประมาณ 90 นาที เป็นการหลับแบบ REM 20 นาที และ NREM 70 นาที เป็นชุด 90 นาที แต่สำหรับบางคนอาจกินเวลาชุดละ 80 นาที หรือ 100 นาที แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ดังนั้น คุณภาพของการหลับจึง ‘ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลา’ แต่อยู่ที่ “จังหวะ” ของการหลับที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ที่แต่ละคนต้องค้นหา และทำให้จังหวะนั้นกลายเป็น “ความเคยชิน” ให้ได้
🤔ทำไมการอ่านหนังสือตลอดคืนจึงไม่ได้ผล ?
การลดเวลานอนนั้นถือเป็นการทำลายสุขภาพและยังมีผลให้ความทรงจำถูกทำลายอีกด้วย
การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ หรือเทคนิคใหม่ๆ นั้นเราจะต้องนอนหลับมาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
เพราะในขณะที่นอนหลับ ความทรงจำจะถูกจัดเรียบเรียงและถูกบันทึก การอ่านหนังสือโดยการอดนอนจะทำให้ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกเก็บรักษาไว้เป็นความทรงจำระยะยาว แต่จะถูกลืม ภายใน 2-3 วัน
“การจัดเรียงข้อมูล” จะเกิดขึ้นในขณะที่เรากำลัง “ฝัน” หรือก็คือ ช่วงเวลาการหลับแบบ REM นั่นเอง
เป็นช่วงเวลาที่สมองฟื้นฟูความทรงจำ จัดเรียงและเสริมสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เราพบเจอมาแต่ละวัน ว่าความทรงจำไหนควรเก็บไว้และเรื่องไหนควรตัดทิ้ง สาเหตุที่สมองต้องใช้ช่วงเวลานี้ นั่นเพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีสิ่งอื่นจากภายนอกเข้ามารบกวน
🤯🍓นอกจากนี้ การหลับยังสามารถช่วยเรียก “ไอเดีย” ได้อีกด้วย
เวลานอน นอกจากสมองจะทำการจัดเรียงและบันทึกความทรงจำแล้ว ยังมีผลการทดลองที่ชี้ให้เห็นว่า สมองยังทำการเชื่อมโยงข้อมูลเก่าๆ ที่เป็นความรู้ที่ถูกบันทึกไว้ในอดีตด้วยลักษณะของการสุ่มขึ้นมาอีกด้วย จากการจับคู่ความรู้ใหม่กับความรู้เก่านี้เองอาจเป็นสิ่งที่นำคำตอบ (ความคิด) ที่ตอนตื่นเรานึกไม่ออกขึ้นมาได้
📌การหลับไม่ได้เป็นเพียงการพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยของแต่ละวัน แต่ยังเป็นการ “เตรียมตัว” ของสมองเพื่อเตรียมรับวันใหม่ เปรียบได้กับเป็น “เส้นสตาร์ท” ของวันใหม่นั่นเอง
📌หากเราต้องการ ‘การหลับ’ ที่ดี เราต้องเปลี่ยน “เวลาก่อนนอน 30 นาที” ให้กลายเป็น “ความเคยชิน” เสียก่อน
หากเราป้อนข้อมูลที่ดีให้กับสมองในช่วง “เวลาก่อนนอน 30 นาที” ทำให้เวลาหลับ ความทรงจำจะได้รับการเสริมสร้างอย่างเด่นชัดและมีประสิทธิภาพ เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็จะเป็นเช้าที่สดใส เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีด้วยเช่นกัน
(บทนี้ยาวหน่อย ค่อยๆ อ่านนะคะ 😅)
โฆษณา