18 ธ.ค. 2022 เวลา 02:29 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สหราชอาณาจักร

สตาร์ทอัพ : จับก๊าซคาร์บอนมาทำหิน

สตาร์ทอัพ : จับก๊าซคาร์บอนมาทำหิน
TheStartup.online l Start Story EP3
"44.01" เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มาแปลงสภาพให้กลายเป็นหิน
สตาร์ทอัพ "44.01" ก่อตั้งในปี 2020 โดย "Talal Hasan" ที่มาของชื่อ "44.01" มาจากน้ำหนักโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์
สตาร์ทอัพ "44.01" ได้จดทะเบียนบริษัทในสหราชอาณาจักร ในชื่อบริษัท "Protostar Group Limited"
บริษัทฯ ได้ลงนามใน MOU กับบริษัท "Mission Zero Technologies" เพื่อทำงานร่วมกันในโครงการ "Hajar"
โครงการนี้เริ่มต้นจากแนวคิดของ "Talal Hasan" ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ "44.01" เขาตั้งเป้าที่จะแปลงสภาพก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศในประเทศโอมาน ให้กลายเป็นแร่ธาตุจำนวน 1,000 เมตริกตันในแต่ละปีจนถึงปี 2024
นอกจากนี้เขายังหวังว่าจะขยายโครงการ "Hajar" ไปทั่วโลก เพื่อกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 1 พันล้านเมตริกตันภายในปี 2040
Project-Hajar
โครงการ "Hajar" ตั้งอยู่ในเทือกเขา "Al Hajar" ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศโอมาน และตามแนวชายฝั่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เทือกเขา "Al Hajar" เกิดขึ้นเมื่อ 96 ล้านปีก่อน จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เปลือกโลกที่เคลื่อนตัวขึ้นสู่พื้นโลกในทวีปอาหรับนี้ ได้กลายเทือกเขาที่มีความยาว 350 กิโลเมตร กว้าง 50 กิโลเมตร และหนาหลายกิโลเมตร
ในเทือกเขา "Al Hajar" มีหินเพอริโดไทต์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้ว หินเพอริโดไทต์จะก่อตัวอยู่ใต้ท้องทะเลลึกมากกว่า 20 กิโลเมตร แต่เนื่องจาก การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ทำให้หินเพอริโดไทต์เคลื่อนตัวตามมาอยู่ชั้นใต้ดินของโลก
Al Hajar Moutain
จุดประสงค์หลักของโครงการ "Hajar"คือ การดักจับก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ออกจากอากาศ แล้วเปลี่ยนสภาพให้กลายแร่แคลไซด์ในหินเพอริโดไทด์
สำหรับเครื่อ่งมือ เครื่องจักร ต่าง ๆ ที่ใช้งานในโครงการนี้จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
แผนการทำงานเริ่มต้นด้วยการขุดเจาะหลุมให้ลึกไปถึงชั้นหินแมนเทิล ซึ่งมีหินเพอริโดไทต์อยู่เป็นจำนวนมาก จากนั้นจะสูบน้ำจากใต้ดินที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง ฉีดเข้าไปในหินเพอริโดไทต์
ทั้งสองบริษัท แบ่งงานกันโดย บริษัท "Mission Zero Technologies" จะใช้ เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีของบริษัทตนเองซึ่งมีกำลังการผลิตสูงถึง 1,000 ตันต่อปี ในการดักจับก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ ออกมาจากอากาศในบริเวณโครงการ "Hajar" คาร์บอนด์ไดออกไซด์ที่ถูกดึงออกมาจากอากาศจะถูกเก็บไว้ภายใต้พื้นดิน
หลังจากนั้น สตาร์ทอัพ "44.01" จะรับหน้าที่ต่อด้วยการสูบน้ำจากใต้ดิน ซึ่งเป็นน้ำที่มีประจุคาร์บอนไดออกไซด์อยู่สูงมาก น้ำจะถูกฉีดเข้าไปในหินเพอริโดไทต์ ซึ่งอยู่ในหลุมที่ขุดเตรียมไว้แล้ว
เพอริโดไทต์เป็นหินอัคนีที่อุดมไปด้วยโอลิวีนและไพรอกซีน มันจะทำปฏิกิริยากับน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดเป็น "แร่แคลไซด์" ที่มีลักษณะเป็นคราบผงสีขาวขึ้นในชั้นหินเพอริโดไทต์ จนในที่สุดแร่แคลไซด์กับหินก็จะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
การฉีดน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูงเข้าสู่หินเพอริโดไทต์ จะช่วยเร่งระยะเวลาการเกิดแร่แคลไซด์ในรอยแตกของหินเพอริโดไทต์ ให้เกิดเร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้เกิดเองตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายสิบปี
ขั้นตอนนี้ จำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก แต่เนื่องจากโอมานเป็นประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งน้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่าและหายาก ดังนั้นในอนาคต ทางโครงการจะมีการทดลองใช้น้ำทะเลแทนน้ำจืดในพื้นที่บริเวณชายฝั่ง
Carbon-dioxide-reacts with peridotite
สตาร์ทอัพ "44.01" นอกจาก "Talal Hasan" ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแล้ว เขายังมีที่ปรึกษาอีกสองคน เป็นนักธรณีวิทยาซึ่งทำงานในทะเลทรายโอมาน มานานกว่า 15 ปีคือ "Dr. Peter Kelemen" และ "Dr. Jürg Matter" นักธรณีวิทยาทั้งสองคนได้รับการติดต่อครั้งแรกจาก "Talal Hasan" ในช่วงประมาณปี 2017
ตอนนั้น "Talal Hasan" ยังทำงานในกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของโอมาน เขาหวังที่จะโน้มน้าวให้รัฐบาลลงทุนในการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในหินชั้นเปลือกโลก แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายเขาก็ลาออกจากกองทุน และไปก่อตั้งสตาร์ทอัพ "44.01" ขึ้นมา
สตาร์ทอัพ "44.01" ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรงจาก "Clime works" บริษัทในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยอุปกรณ์นี้ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
พวกเขาได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาล ให้เริ่มโครงการศึกษานำร่องขนาดเล็ก ในไซต์งานที่เคยมีการขุดเจาะทางวิทยาศาสตร์ของโครงการอื่นก่อนหน้านี้ ที่เมืองมัสกัต ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองหลวงของประเทศโอมาน
Climeworks’ first commercial direct air capture plant, based in Hinwil, Switzerland. The fans draw in air, where the CO2 in that air reacts with chemicals that selectively bind it. Photo by Climeworks
นักธรณีวิทยา "Dr. Peter Kelemen" ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ สตาร์ทอัพ "44.01" ให้สัมภาษณ์ว่า "เราหวังว่ารัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐบางหน่วย จะจ่ายเงินให้เราสำหรับการกักเก็บคาร์บอนจากทั่วโลก ในอัตรา 30 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งค่าใช้จ่ายดัังกล่าวเทียบได้กับต้นทุนการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน"
และเขายังให้สัมภาษณ์ต่อไปอีกว่า "นอกจากจะสร้างแร่คาร์บอเนตที่เป็นของแข็งแล้ว ปฏิกิริยาของน้ำผิวดินกับชั้นหินแมนเทิล สามารถก่อตัวเป็นก๊าซไฮโดรเจน ที่สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าในต้นทุนต่ำได้ เรากำลังดำเนินการวิจัยเชิงวิชาการเกี่ยวกับอัตราการเกิดไฮโดรเจน และศึกษาแนวทางที่สามารถเร่งความเร็วได้"
"ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เรากำลังตรวจสอบว่าแร่ในเหมืองบางชนิด ไม่เพียงแต่กักเก็บคาร์บอนได้เท่านั้น แต่ยังช่วยในการสกัด นิกเกิลและโคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตพลังงานหมุนเวียน"
============================================
อ้างอิง :
โฆษณา