18 ธ.ค. 2022 เวลา 15:36 • สิ่งแวดล้อม
สหราชอาณาจักร

สตาร์ทอัพ : รับรางวัล 6 ล้านดอลลาร์ จากเจ้าชายวิลเลียม

สตาร์ทอัพ : รับรางวัล 6 ล้านดอลลาร์ จากเจ้าชายวิลเลียม
TheStartup.online l Start Update
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปี 2022 ที่บอสตัน
เจ้าชายวิลเลียมมอบรางวัล "Earthshot Prize 2022" ให้แก่ผู้ชนะทั้ง 5 ทีม เป็นเงินรางวัลทีมละ 1 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.2 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งสิ้น 5 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 6 ล้านดอลลาร์
Prince Willam & Princess Kate
สำหรับผู้ชนะทั้ง 5 ทีมได้แก่
ทีม "Notpla" สตาร์ทอัพจาก : ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
ผู้บุกเบิกการนำสาหร่ายทะเลมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกทางเลือก แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และย่อยสลายได้ทั้งหมด
ทีม "44.01" สตาร์ทอัพจาก : ประเทศโอมาน
ผู้ใช้เทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มาทำหิน
ทีม "KHEYTI" สตาร์ทอัพจาก : ประเทศอินเดีย
ผู้ผลิตโรงเรือนอัจฉริยะ ราคาถูกกว่าทั่วไปถึง 90% ประหยัดน้ำกว่า 98% และให้ผลผลิตมากกว่าถึง 7 เท่า
ทีม "INDIGENOUS WOMEN OF THE GREAT BARRIER REEF" สตาร์ทอัพจาก : ประเทศออสเตรเลีย
เป็นกลุ่มผู้หญิงชาวพื้นเมืองในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ที่ช่วยกันปกป้องป่าไม้และแนวปะการัง "Great Barrier Reef" ซึ่งถูกตั้งค่าสถานะเป็น มรดกโลก ที่ตกอยู่ในอันตราย
ทีม "Mukuru Clean Stoves" สตาร์ทอัพจาก : ประเทศเคนยา
ผู้ผลิตเตาชีวมวลแปรรูปที่ทำจากถ่านไม้และอ้อย สร้างมลพิษน้อยกว่า และราคาถูกเพียง 10 ดอลลาร์เท่านั้น
Winners The Earthshot Prize Boston 2022
รางวัล " Earthshot Prize" ก่อตั้งขึ้นในปี 2020
โดยเจ้าชายวิลเลียม แห่งราชวงศ์อังกฤษ
ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากสุนทรพจน์ “Moonshot”
ของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ในปี 1962 ที่ระดมทุนจากสาธารณะ
เพื่อโครงการ ส่งนักบินอวกาศชาวอเมริกันขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์
JFK's "Moonshot" Speech
โครงการ "Earthshot Prize" ตั้งเงินรางวัลรวมทั้งสิ้นไว้ที่ 50 ล้านปอนด์
หรือประมาณ 61 ล้านดอลลาร์ สำหรับระยะเวลาโครงการ 10 ปี สิ้นสุดปี 2030
โดยแบ่งเป็นเงินรางวัลรวม 5 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 6 ล้านดอลลาร์ต่อปี
ซึ่งในแต่ละปีจะมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะ 5 ทีม เป็นเงินรางวัลทีมละ 1 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.2 ล้านดอลลาร์
รางวัล "Earthshot Prize" ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่สองแล้ว
ในการคัดเลือกผู้ประกอบการ ที่เสนอวิธีแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ โดยพิจารณาจากใบสมัครของผู้ประกอบการมากกว่า 1,000 ทีมจากทั่วโลก
เพื่อคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้าย 15 ทีม จาก 10 ประเทศ
สำหรับผู้ชนะ 5 ทีมสุดท้ายจะได้รับการคัดเลือกโดย "Earthshot Prize Council"
ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจตัดสินใจ ประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงอิทธิพล เช่น
เจ้าชายวิลเลียม / สมเด็จพระราชินีราเนีย อัล อับดุลลาห์แห่งจอร์แดน
/ เซอร์เดวิด แอตเทนโบโรห์ / ดร. อินโคซิโอ เอ็นโจ ไอเวลล่า / อินทรา นูยี
/ ชากีรา เมบารัค / คริสเตียนา ฟิเกอเรส / ลุยซา นอยบาวเออร์ / เคต แบลนเชตต์ / เหยา หมิง / ดาเนียล อัลเวส ดา ซิลวา / เออร์เนสต์ กิบสัน
/ ฮินดู โอมารู อิบราฮิม / แจ็ค หม่า / และ นาโอโกะ ยามาซากิ
รางวัล "Earthshot Prize" แบ่งเป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่
"การสร้างโลกที่ปราศจากขยะ" (BUILD A WASTE-FREEWORLD)
"แก้ไขสภาพอากาศของเรา" (FIX OUR CLIMATE)
"ปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ" (PROTECT AND RESTORE NATURE)
"ฟื้นฟูมหาสมุทรของเรา" (REVIVE OUR OCEANS)
"ทำความสะอาดอากาศของเรา" (CLEAN OUR AIR)
=====================================
หมวดหมู่ "การสร้างโลกที่ปราศจากขยะ" (BUILD A WASTE-FREEWORLD)
ผู้ชนะคือ ทีม "Notpla" สตาร์ทอัพจาก : ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
London-based start-up Notpla, founded by Pierre Paslier and Rodrigo Garcia Gonzalez
"Notpla" เป็นผู้บุกเบิกการนำสาหร่ายทะเลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ทางเลือก แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งสามารถย่อยสลายตัวเองได้ทั้งหมดภายใน
4-6 สัปดาห์ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับโลก ไม่เหลือเศษขยะให้รกโลก
ในการปลูกสาหร่ายทะเล ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ดินบนบก ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้น้ำจืดเพื่อรดน้ำให้มัน ไม่ต้องใช้แรงงานในการดูแลมากนัก และมันเติบโตเร็วกว่าพืชบนบก 20-30 เท่า
นอกจากนี้ การทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายในทะเล ยังช่วยลดความเป็นกรด
ของน้ำในทะเล และสาหร่ายสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง
20 เท่าของต้นไม้บนบก โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกดูดซับผ่านสาหร่ายและจมลงสู่ใต้ท้องทะเล
"Notpla" ก่อตั้งขึ้นในปี 2014
โดย "โรดริโก การ์เซีย กอนซาเลซ" และ "ปิแอร์ ปาสลิเยร์" ในช่วงเวลานั้นทั้งสองคนยังเป็นนักศึกษา Innovation Design Engineering ที่ Imperial College London และ Royal College of Art
แต่เดิมบริษัทใช้ชื่อว่า "SKIPPING ROCKS LAB" ตั้งแต่วันที่เริ่มก่อตั้งคือ
25 กรกฎาคม ปี 2014 จนถึงวันที่ 22 กรกฎาคม ปี 2019 หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "Notpla" มีที่มาจากคำว่า "Not-P-L-A" ซึ่งแปลว่า "ไม่ใช่พลาสติก "P-L-A"
P-L-A คืออะไร?
PLA หรือชื่อเต็มว่า "Polylactic Acid" เป็นโพลิเอสเตอร์ชีวภาพ ซึ่งทำจากพืช เช่น แป้งข้าวโพด อ้อย และหัวบีท พืชเหล่านี้จะถูกหมักเพื่อให้เกิดกรดแลคติก
จากนั้นจะนำไปผ่านกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน เพื่อสร้าง PLA ให้เป็นเทอร์โมพลาสติก จากนั้นจะผลิตโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การอัดขึ้นรูป การฉีดขึ้นรูป การเทอร์โมฟอร์ม และวิธีการอื่น ๆ เช่น การพิมพ์ 3 มิติโดยใช้เส้นใย PLA
PLA จัดเป็นพลาสติกทางเลือกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น แก้วชานมไข่มุก แก้วกาแฟเย็น กล่องใส่ผักผลไม้
PLA
ความแตกต่างระหว่าง "Not-P-L-A" และ "P-L-A"
"Not-P-L-A" เป็นพลาสติกทางเลือกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และ "P-L-A" ก็เป็นพลาสติกทางเลือกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเช่นกัน
แต่มีความแตกต่างกัน คือ
"Not-P-L-A" สามารถย่อยสลายตัวเองได้ทั้งหมด ภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ไม่เหลือเศษขยะให้รกโลก
แต่ "P-L-A" ไม่สามารถย่อยสลายด้วยตัวเองได้ นำกลับมารีไซเคิลไม่ได้ มีทางเดียวคือต้องส่งไปโรงงานทำปุ๋ยหมักที่มีความรู้ ความชำนาญ เพราะการจะย่อยสลาย "P-L-A" ให้เป็นปุ๋ยหมักได้นั้น มีขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยาก ต้องควบคุมอุหณภูมิ และเลือกใช้จุลินทรีย์ที่เหมาะสม
คนส่วนมากไม่รู้ถึงปัญหานี้ จึงทิ้งขยะพลาสติก "P-L-A" รวมไปกับขยะพลาสติกทั่วไปที่รีไซเคิลได้ เพราะคิดว่ามันจะถูกนำไปรีไซเคิล หรือบางคนอาจรู้ถึงที่มาว่า "P-L-A" ผลิตมาจากพืช ก็เลยคิดว่ามันน่าจะย่อยสลายได้อย่างง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ "P-L-A" และพลาสติกทั่วไป ไม่สามารถรีไซเคิลได้อีกต่อไป พวกมันก็จะถูกนำไปทิ้งรวมกัน ก่อให้เกิดขยะ เกิดมลพิษจากพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายนี้ไปอีกนานหลายปี
ผลิตภัณฑ์ตัวแรก และเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ "Notpla" คือแคปซูล "Ooho"
ซึ่งผลิตจากวุ้นสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล โดยมีลักษณะเป็นถุงแคปซูลเล็ก ๆ สำหรับใส่น้ำดื่ม น้ำผลไม้ หรือ ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ หรืออะไรก็ได้ที่เราต้องการ
เนื่องจาก "Ooho" ผลิตจากวุุ้นสาหร่ายทะเล ดังนั้น เมื่อเราต้องการดื่มน้ำ เราสามารถหยิบ "Ooho" ใส่ปาก เคี้ยว แล้วกลืนกินลงไปได้เลย หรือถ้าเราต้องการแค่ดื่มน้ำจากถุง เสร็จแล้วโยนถุงทิ้งได้เลย เพราะมันจะย่อยสลายตัวเองได้ทั้งหมด โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
Ooho ball can eat
แคปซูล "Ooho" เปิดตัวครั้งแรกในงานแข่งขันวิ่งมาราธอน ที่ลอนดอน ปี 2019
Ooho London marathon 2019
โดยสตาร์ทอัพ "Notpla" ร่วมมือกับ "ลูคอนซาเด้ สปอร์ต" (Lucozade Sport) ด้วยการใช้แคปซูล "Ooho" จำนวน 36,000 แคปซูล เพื่อทดแทนถ้วยและขวดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำหรับนักกีฬาในการแข่งขันวิ่งมาราธอนที่ลอนดอน
( "ลูคอนซาเด้ สปอร์ต" เป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ออกกำลังกายที่สูญเสียโซเดียม อิเล็กโทรไลต์ไปกับเหงื่อ ในเครื่องดื่มนี้ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต และอิเล็กโทรไลต์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น และช่วยรักษาประสิทธิภาพความอดทนของร่างกาย)
ปกติแล้ว ขวดพลาสติกหนึ่งขวดจะต้องใช้เวลาประมาณ 450 ปีถึง 1,000 ปีในการย่อยสลาย
ในปี 2018 การวิ่งมาราธอนในลอนดอน ได้สร้างขยะขวดพลาสติกมากถึง 920,000 ขวด
London marathon 2018 plastic
นอกจากนี้ "Notpla" ยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายตัวที่ทำจากสาหร่ายทะเล เช่น
- กล่องอาหารสำหรับซื้อกลับบ้าน เพื่อร้านอาหารในแอปฟู๊ดเดลิเวอรี่ "Just Eat"
- สารเคลือบกันน้ำสำหรับกล่องอาหาร ซึ่งทำจากวุ้นของสาหร่ายทะเล
- ฟิล์มห่ออาหาร ซึ่งทำจากวุ้นของสาหร่ายทะเล
- กระดาษแข็ง ซึ่งทำจากเส้นใยของสาหร่ายทะเล ที่เป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตสินค้าหลัก
- พลาสติกแข็ง ซึ่งทำจากเส้นใยของสาหร่ายทะเล ที่เป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตสินค้าหลัก
*วัตถุดิบสาหร่ายทะเลที่นำมาผลิตสินค้าหลัก จะนำวุ้นสาหร่ายมาใช้ได้เพียงแค่ 15%-20% ส่วนที่เหลืออีกกว่า 80% คือกากใยของต้นสาหร่าย ต้องทิ้งสูญเปล่า ทาง "Notpla" จึงคิดค้นวิธีที่จะนำส่วนที่เหลือทิ้งนี้มาผลิตเป็นสินค้าตัวใหม่ขึ้นมา นั่นคือ กระดาษแข็ง และพลาสติกแข็ง
Brown seaweed
=====================================
หมวดหมู่ "แก้ไขสภาพอากาศของเรา" (FIX OUR CLIMATE)
ผู้ชนะคือ ทีม "44.01" สตาร์ทอัพจาก : ประเทศโอมาน
44.01-Jurge-Talal-Peter
"44.01" เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
มาแปลงสภาพให้กลายเป็นหิน
สตาร์ทอัพ "44.01" ก่อตั้งในปี 2020 โดย "Talal Hasan" ที่มาของชื่อ "44.01"
มาจากน้ำหนักโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์
สตาร์ทอัพ "44.01" ได้จดทะเบียนบริษัทในสหราชอาณาจักร ในชื่อบริษัท "Protostar Group Limited"
บริษัทฯ ได้ลงนามใน MOU กับบริษัท "Mission Zero Technologies"
เพื่อทำงานร่วมกันในโครงการ "Hajar"
โครงการนี้เริ่มต้นจากแนวคิดของ "Talal Hasan" ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ "44.01"
เขาตั้งเป้าที่จะแปลงสภาพก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศในประเทศโอมาน ให้กลายเป็นแร่ธาตุจำนวน 1,000 เมตริกตันในแต่ละปีจนถึงปี 2024
นอกจากนี้เขายังหวังว่าจะขยายโครงการ "Hajar" ไปทั่วโลก เพื่อกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 1 พันล้านเมตริกตันภายในปี 2040
Project-Hajar
โครงการ "Hajar" ตั้งอยู่ในเทือกเขา "Al Hajar" ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศโอมาน และตามแนวชายฝั่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เทือกเขา "Al Hajar" เกิดขึ้นเมื่อ 96 ล้านปีก่อน จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เปลือกโลกที่เคลื่อนตัวขึ้นสู่พื้นโลกในทวีปอาหรับนี้ ได้กลายเทือกเขาที่มีความยาว 350 กิโลเมตร กว้าง 50 กิโลเมตร และหนาหลายกิโลเมตร
ในเทือกเขา "Al Hajar" มีหินเพอริโดไทต์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้ว
หินเพอริโดไทต์จะก่อตัวอยู่ใต้ท้องทะเลลึกมากกว่า 20 กิโลเมตร แต่เนื่องจาก
การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ทำให้หินเพอริโดไทต์เคลื่อนตัวตามมาอยู่ชั้นใต้ดินของโลก
Al Hajar Moutain
จุดประสงค์หลักของโครงการ "Hajar"คือ การดักจับก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ออกจากอากาศ แล้วเปลี่ยนสภาพให้กลายแร่แคลไซด์ในหินเพอริโดไทด์
สำหรับเครื่อ่งมือ เครื่องจักร ต่าง ๆ ที่ใช้งานในโครงการนี้จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
แผนการทำงานเริ่มต้นด้วยการขุดเจาะหลุมให้ลึกไปถึงชั้นหินแมนเทิล ซึ่งมีหินเพอริโดไทต์อยู่เป็นจำนวนมาก จากนั้นจะสูบน้ำจากใต้ดินที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง ฉีดเข้าไปในหินเพอริโดไทต์
ทั้งสองบริษัท แบ่งงานกันโดย บริษัท "Mission Zero Technologies"
จะใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีของบริษัทตนเองซึ่งมีกำลังการผลิตสูงถึง 1,000 ตันต่อปี ในการดักจับก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ ออกมาจากอากาศในบริเวณโครงการ "Hajar" คาร์บอนด์ไดออกไซด์ที่ถูกดึงออกมาจากอากาศจะถูกเก็บไว้ภายใต้พื้นดิน
หลังจากนั้น สตาร์ทอัพ "44.01" จะรับหน้าที่ต่อด้วยการสูบน้ำจากใต้ดิน
ซึ่งเป็นน้ำที่มีประจุคาร์บอนไดออกไซด์อยู่สูงมาก น้ำจะถูกฉีดเข้าไป
ในหินเพอริโดไทต์ ซึ่งอยู่ในหลุมที่ขุดเตรียมไว้แล้ว
เพอริโดไทต์เป็นหินอัคนีที่อุดมไปด้วยโอลิวีนและไพรอกซีน มันจะทำปฏิกิริยากับน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดเป็น "แร่แคลไซด์" ที่มีลักษณะเป็นคราบผงสีขาวขึ้นในชั้นหินเพอริโดไทต์ จนในที่สุดแร่แคลไซด์กับหินก็จะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
การฉีดน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูงเข้าสู่หินเพอริโดไทต์
จะช่วยเร่งระยะเวลาการเกิดแร่แคลไซด์ในรอยแตกของหินเพอริโดไทต์
ให้เกิดเร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้เกิดเองตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายสิบปี
ขั้นตอนนี้ จำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก แต่เนื่องจากโอมานเป็นประเทศ
ในตะวันออกกลาง ซึ่งน้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่าและหายาก ดังนั้นในอนาคต
ทางโครงการจะมีการทดลองใช้น้ำทะเลแทนน้ำจืดในพื้นที่บริเวณชายฝั่ง
Carbon-dioxide-reacts with peridotite
สตาร์ทอัพ "44.01" นอกจาก "Talal Hasan" ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแล้ว เขายังมีที่ปรึกษาอีกสองคน เป็นนักธรณีวิทยาซึ่งทำงานในทะเลทรายโอมาน มานานกว่า 15 ปีคือ "Dr. Peter Kelemen" และ "Dr. Jürg Matter" นักธรณีวิทยาทั้งสองคนได้รับการติดต่อครั้งแรกจาก "Talal Hasan" ในช่วงประมาณปี 2017
ตอนนั้น "Talal Hasan" ยังทำงานในกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของโอมาน
เขาหวังที่จะโน้มน้าวให้รัฐบาลลงทุนในการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในหินชั้นเปลือกโลก แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายเขาก็ลาออกจากกองทุน และไปก่อตั้งสตาร์ทอัพ "44.01" ขึ้นมา
สตาร์ทอัพ "44.01" ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรงจาก "Clime works" บริษัทในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยอุปกรณ์นี้ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
พวกเขาได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาล ให้เริ่มโครงการศึกษานำร่องขนาดเล็ก
ในไซต์งานที่เคยมีการขุดเจาะทางวิทยาศาสตร์ของโครงการอื่นก่อนหน้านี้
ที่เมืองมัสกัต ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองหลวงของประเทศโอมาน
Climeworks’ first commercial direct air capture plant, based in Hinwil, Switzerland. The fans draw in air, where the CO2 in that air reacts with chemicals that selectively bind it. Photo by Climeworks
นักธรณีวิทยา "Dr. Peter Kelemen" ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ สตาร์ทอัพ "44.01" ให้สัมภาษณ์ว่า "เราหวังว่ารัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐบางหน่วย จะจ่ายเงินให้เราสำหรับการกักเก็บคาร์บอนจากทั่วโลก ในอัตรา 30 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งค่าใช้จ่ายดัังกล่าวเทียบได้กับต้นทุนการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน"
และเขายังให้สัมภาษณ์ต่อไปอีกว่า "นอกจากจะสร้างแร่คาร์บอเนตที่เป็นของแข็งแล้ว ปฏิกิริยาของน้ำผิวดินกับชั้นหินแมนเทิล สามารถก่อตัวเป็นก๊าซไฮโดรเจน
ที่สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าในต้นทุนต่ำได้
เรากำลังดำเนินการวิจัยเชิงวิชาการเกี่ยวกับอัตราการเกิดไฮโดรเจน และศึกษาแนวทางที่สามารถเร่งความเร็วได้"
"ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เรากำลังตรวจสอบว่าแร่ในเหมืองบางชนิด
ไม่เพียงแต่กักเก็บคาร์บอนได้เท่านั้น แต่ยังช่วยในการสกัด นิกเกิลและโคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตพลังงานหมุนเวียน"
=====================================
หมวดหมู่ "ปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ" (PROTECT AND RESTORE NATURE)
ผู้ชนะคือ ทีม "KHEYTI" สตาร์ทอัพจาก : ประเทศอินเดีย
Kheyti's greenhouse. Credit SaumyaKheyti
"KHEYTI" เป็นสตาร์ทอัพ ผู้ผลิตโรงเรือน "Greenhouse-in-a-Box" ซึ่งมีราคาถูกกว่าโรงเรือนทั่วไปถึง 90% โดยพืชที่ปลูกในโรงเรือนนี้ต้องการน้ำน้อยกว่าพืชที่ปลูกในกลางแจ้งถึง 98% และให้ผลผลิตสูงกว่าพืชที่ปลูกในกลางแจ้งถึงเจ็ดเท่า
เมื่อมีการใช้น้ำน้อยลง และการใช้ยาฆ่าแมลงน้อยลง จึงเป็นการปกป้องโลกไปด้วยในตัว
โซลูชั่นของ "KHEYTI" ช่วยให้กับเกษตรกรเข้าถึงการลงทุนเพื่อทำฟาร์มได้มากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น กว่าสองเท่า
ปัจจุบัน ฟาร์มกว่า 1,000 แห่งมีโรงเรือน "Greenhouse-in-a-Box" ของ "KHEYTI" และภายในปี 2027 "KHEYTI" ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 5,000 แห่ง
=====================================
หมวดหมู่ "ฟื้นฟูมหาสมุทรของเรา" (REVIVE OUR OCEANS)
ผู้ชนะคือ ทีม "INDIGENOUS WOMEN OF THE GREAT BARRIER REEF"
สตาร์ทอัพจาก : ออสเตรเลีย
QIWRN
แนวปะการัง "Great Barrier Reef" ถูกตั้งค่าสถานะเป็นมรดกโลกที่ ตกอยู่ในอันตราย
แนวปะการัง "เกรตแบร์ริเออร์รีฟ" ซึ่งอยู่ในทะเลคอรัล นอกชายฝั่งควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน และอยู่ถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บนบก พืชและสัตว์ถูกทำลายโดยไฟป่าที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
"The Queensland Indigenous Women Rangers Network" หรือ "QIWRN" ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โครงการนี้ได้รวบรวมความรู้กว่า 60,000 ปีของ "First National" เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปกป้องผืนป่าและท้องทะเล รวมถึงแนวปะการัง "Great Barrier Reef"
มีเพียงประมาณ 20% ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าพื้นเมืองในควีนส์แลนด์ที่เป็นผู้หญิง
โครงการนี้ได้ฝึกอบรมผู้หญิงมากกว่า 60 คน ซึ่งในเวลาต่อมาหลายคนที่ผ่านการอบรมจากโครงการนี้ ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า หรือในหน่วยอนุรักษ์ในควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าหญิงพื้นเมืองสามารถขยายพื้นที่ไปทั่วโลก เพื่อช่วยซ่อมแซมระบบนิเวศ ตั้งแต่ฮาวายไปจนถึงเนปาลและแทนซาเนีย
=====================================
หมวดหมู่ "ทำความสะอาดอากาศของเรา" (CLEAN OUR AIR)
ผู้ชนะคือ ทีม "MUKURU" CLEAN STOVES สตาร์ทอัพจาก : ประเทศเคนยา
MUKURU CLEAN STOVES
ทั่วแอฟริกา ผู้คนกว่า 700 ล้านคนใช้เตาปรุงอาหารแบบดั้งเดิม ซึ่งปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายและขาดระบบป้องกัน
"Charlot Magayi" เติบโตใน "Mukuru" หนึ่งในสลัมที่ใหญ่ที่สุดของไนโรบี
เป็นเวลาหลายปีที่ "Charlot Magayi" ขายถ่านเพื่อเป็นเชื้อเพลิง ละอองจากผงเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอติดเชื้อทางเดินหายใจ
ในปี 2017 "Charlot Magayi" ได้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ "Mukuru Clean Stoves" ซึ่งใช้ชีวมวลแปรรูปที่ทำจากถ่านไม้และอ้อย เผาไหม้ได้สะอาดกว่า สร้างมลพิษน้อยกว่า และเตานี้มีราคาถูกเพียง 10 ดอลลาร์เท่านั้น และการใช้เตานี้ยังช่วยลดค่าเชื้อเพลิงลงจากเดิม 50%
ทุกวันนี้ ผู้คนกว่า 200,000 คนในเคนยาใช้ "Mukuru Clean Stoves"
ในพื้นที่ชนบท เด็กสาวต้องใช้เวลากว่าสามชั่วโมงต่อวันในการเก็บฟืน เตานี้ทำให้พวกเธอประหยัดเวลาอันมีค่าได้อีกด้วย
"Mukuru" เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยผู้หญิง มีพนักงานและตัวแทนจัดจำหน่ายเป็นผู้หญิง เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงสามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง
=====================================
อ้างอิง :
โฆษณา