20 ธ.ค. 2022 เวลา 03:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ยุโรป ไหวแน่นะ! เงินระเหยจากคลังหายไป 35 ล้านล้านเฉพาะคว่ำบาตรก๊าซรัสเซีย
16
ภายหลังจากสหภาพยุโรป (EU) ถูกสหรัฐฯ ยุยงให้คว่ำบาตรพลังงานก๊าซส่งทางท่อราคาถูกจากรัสเซีย แล้วลูกพี่ขาใหญ่ก่อวินาศกรรมท่อก๊าซ Nord Stream ได้รับความเสียหาย บีบยุโรปให้หันไปนำเข้าพลังงานก๊าซเหลว LNG ราคาแพงจากสหรัฐฯ และยี่ปั้วอื่นๆ กินส่วนต่างกำไร
ตามรายงานของ Bruegel เผยแพร่โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พบว่า EU จำนวน 27 ชาติ รัฐบาลจ่ายเงินจากคลังละเหยสูญเปล่าค่าพลังงานไปแล้วกว่า 700,000 ล้านดอลลาร์ (24.4 ล้านล้านบาท) ยังไม่นับรวมชาติอื่นในยุโรปที่อยู่นอกกลุ่ม EU อีก 14 ชาติ
10
ด้านสำนักข่าว Bloomberg คำนวณโดยใช้ข้อมูลตลาดพบว่า EU เสียเงินสูญเปล่าระเหยเสียหายไปแล้วมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ (34.8 ล้านล้านบาท)
นับเป็นบทเรียนค่าพลังงานที่มีราคาแพงที่สุดและเจ็บปวดชอกช้ำ ที่เสียรู้สหรัฐฯ สำหรับผู้บริโภคและบริษัทต่างๆ ที่ได้รับชดเชยเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยคืนเงินทั้งหมด 100%
12
ส่งผลร้ายแรงต่อความสามารถทางการคลังของรัฐบาล EU ราวครึ่งหนึ่ง ดันให้ก่อหนี้เกินขีดจำกัดเพดาน 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม GDP ภายในประเทศ
สภาพอากาศที่เย็นจัด หน่วยงานควบคุมเครือข่ายพลังงานของเยอรมนี ระบุว่าการประหยัดน้ำมันของประเทศไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
9
เยอรมนี จึงกำลังเสียเงินอีกมหาศาลสร้างคลังน้ำมันแห่งใหม่ เพื่อเก็บเชื้อเพลิงนำเข้าราคาแพงเพิ่มมากขึ้น และต้องหยุดชลอ นโยบายโลกสีเขียวพลังงานสะอาดลดโลกร้อนเอาไว้ก่อน
เพราะกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจเยอรมัน คือ ภาคอุตสาหกรรม ที่เคยดำรงอยู่ได้ด้วยพลังงานราคาถูกจากรัสเซีย ในการผลิต เช่น รถยนต์ไปจนถึงเคมีภัณฑ์
แต่ปัจจุบันต้นทุนพลังงานที่สูงทำให้เกิดสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับสหรัฐฯ และจีนในระยะยาว ที่พลังงานราคาถูกกว่า
13
การพุ่งสูงขึ้นของราคาพลังงานและความตระหนกต่อการล่มสลายภาคอุตสาหกรรมกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจเยอรมัน จึงเกิดผลกระทบทางการเมือง
กลุ่มชิงอำนาจโดยรัฐประหาร และความวุ่นวายก่อม็อบของพรรคฝ่ายค้าน ระดมมวลชนในสังคมประท้วงอย่างใหญ่หลวง
10
การแก้ไขวิกฤตด้วยแผนขยายพลังงานหมุนเวียนอย่างมหาศาลของเยอรมนี จำต้องใช้เงินทุนมหาศาล แต่บัดนี้เงินเหล่านั้นละเหยทิ้งไปแล้วกว่า 15.4 ล้านล้านบาท ดังนั้นในอนาคตระยะสั้นเยอรมนีจึงไม่มีเงินมากพอจะเดินหน้าพลังงานหมุนเวียนได้
Bloomberg Economics รายงานว่าสัญญาซื้อขายก๊าซในยุโรป ช่วงกลางปีเคยพุ่งสูงสุดที่ 345 ยูโร/เมกะวัตต์ชั่วโมง ตอนนี้เฉลี่ยราว 135 ยูโร/เมกะวัตต์ชั่วโมง ก็ยังแพงกว่าพลังงานรัสเซียราว 7 เท่า
13
คาดว่าปีหน้าราคาก๊าซนุโรปจะดีดขึ้นกลับขึ้นไปที่ 210 ยูโร แพงกว่ารัสเซีย 10 เท่า จะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าก๊าซมีสัดส่วนทะยานสูญเปล่าขึ้นเป็น 5% ของ GDP บวกปัจจัยนำเข้าน้ำมันแพงจากสหรัฐฯ และยี่ปั้ว จะทำให้ยุโรปเกิดภาวะเศรษฐกิจจากถดถอย เปลี่ยนเป็น "ตกต่ำอย่างรุนแรง"
ด้วยเงินจำนวนมากอย่างตกใจราว 35 ล้านล้านบาท ที่ระเหยทิ้งไปหมดแล้ว จึงยากมากสำหรับรัฐบาลยุโรปในการจัดการวิกฤตพลังงานในปีหน้า 2023 ที่ต้องการก๊าซเติมช่องว่างสต็อคมากถึง 27,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
11
ดังนั้นหลังจากฤดูหนาวนี้ไตรมาสที่ 2 ปีหน้า 2023 ยุโรป จะได้รับพลังงานก๊าซเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยจากรัสเซีย ทำให้ต้องไปเสาะหาก๊าซที่อื่นซึ่งก็ไม่มีอีกเช่นกัน
จะเกิดการแข่งขันแย่งชิงพลังงานจากทวีปอื่นอย่างรุนแรงจากเรือบรรทุกน้ำมันและก๊าซ ซึ่งยุโรป จะถูกสหรัฐฯ การ์ตา โขกสับราคาขายสูงลิ่วอย่างหนักไปอีกอย่างน้อย 4 ปีจนถึงปี 2026
11
จากข้อมูลของสถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงานแห่งชาติจีน (China National Offshore Oil Corp.) บริษัทของรัฐได้เริ่มนำเข้าก๊าซ LNG สำหรับปีหน้าแข่งแย่งชิงโดยตรงกับยุโรป
ประจวบกับจีนมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากแหล่งพลังงานรัสเซีย ทำให้สินค้าจีนแข่งขันยุโรปส่งออกได้มากขึ้น ส่งผลให้ปีหน้า จีนจะนำเข้าก๊าซเพิ่มขึ้นอีก 7% แต่ยุโรปจะหาไม่ได้
11
นอกจากจีนจะแย่งพลังงานก๊าซจนยุโรปเกิดปัญหาวิกฤติแล้ว ประเทศในเอเชียอื่นๆ ก็กำลังแย่งก๊าซยุโรปด้วย คือ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำเข้าก๊าซ LNG อันดับต้น ๆ ของโลก
แม้ว่าตอนนี้สหภาพยุโรป จะพยายามกำหนดเพดานราคาก๊าซรัสเซียเป็น 180 ยูโร/ เมกะวัตต์ชั่วโมง แต่ไม่กล้ากำหนดเพดานราคาก๊าซสหรัฐฯ นอร์เวย์ ก็ไร้ประโยชน์ใดๆ
9
ผู้ขายก๊าซคือผู้ครองตลาด ไม่ใช่ให้ผู้บริโภคกำหนดราคาขาย แล้วทำไมรัสเซีย ต้องขายให้ยุโรป? แค่เปลี่ยนทิศทางส่งออกให้จีนทางท่อ และเอเซียทางเรือ ทะเลจีนใต้ เพราะเอเซียก็ต้องการก๊าซราคาถูกทั้งหมดไม่อั้นที่รัสเซียส่งออก นำมาพัฒนาประเทศตนเช่นกัน
ด้วยอัตราดอกเบี้ยยุโรปที่เพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจเดินเข้าสู่โหมดถดถอยและตกต่ำ สหรัฐฯ , รัสเซีย , จีน , ตะวันออกกลาง พากันรุมทุบซ้ำ เงินระเหยไปกับค่าพลังงานแพงเลือดไหลไม่หยุดจนตัวซีด
12
ยุโรป ยังติดหล่มสงครามในยูเครน สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของ EU จะย่ำแย่กินเวลายาวนานหลายปี ถึงหลายสิบปี หมดความสามารถในการจ่ายเงินลดผลกระทบครัวเรือนและธุรกิจหลายล้านแห่ง
ต้นทุนค่าพลังงานแพงของยุโรปที่พุ่งสูงขึ้น เป็นวิกฤตที่จมดิ่งลึกที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ปีนี้แค่น้ำจิ้มเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น เพราะในปีต่อๆ ไป เงินชาวยุโรปจะระเหยเผาหายไปเร็วมากขึ้นกว่านี้อีกอย่างไร้จุดสิ้นสุด
11
คาดว่าอีกหลายปีต่อจากนี้ ยุโรป จะไม่มีสภาพแข่งขันกับทวีปอื่น และค่อยๆ ล่มสลายภาคอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจเป็น" วิกฤติต้มยำกุ้งภาคพิศดาร "ไปทีละชาติ
ยุโรปคว่ำบาตรรัสเซียต่อไป เผาเงินละเหยทิ้งเล่นทวีคูณขึ้นอีกแน่นอน 😭😁😂
9
🚫 สามารถแชร์ลิ้ง แต่หากต้องการทำซ้ำเผยแพร่เนื้อหาโปรดติดต่อรับอนุญาตทาง Inbox ข้อความก่อน 🚫
5
🤔 ยูเครน ขอเงินและอาวุธยุโรปมากกว่าอีก👇
🤗 กดถูกใจข่าวนี้ให้กำลังใจทีมงานหาข้อมูล โดยเลื่อนลงไปล่างซ้ายรูปหัวใจ 💗
ที่มา : บางส่วนจาก Blomberg , RT news , วิเคราะห์สถานการณ์
#WorldUpdate
7
ติดตามบทวิเคราะห์ข่าวเชื่อมโยงกัน
😘 VK :
🤭 Twitter :
😍 Instagram :
5
👇👇กดถูกใจที่รูปหัวใจหรือคอมเม้นท์มีส่วนร่วม เพื่อกำลังใจทีมงานหาข้อมูลข่าวใหม่ๆ ⤵️⤵️
5
โฆษณา