21 ธ.ค. 2022 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
‘หาต้นตอของปัญหาการทำงานให้เจอ’ ผ่านแนวคิดการแบบญี่ปุ่น มุริ มุดะ มุระ
งานหนักอยู่หรือไม่ แต่ไม่รู้มันหนักที่ไหน ลองทำความรู้จักกับหลักการ 3M ดู
หลักการ 3M ประกอบไปด้วย มุริ มุดะ มุระ หรือบางทีเรียก กฎดะระริ ตามพยางค์สุดท้ายของแต่ละคำ เป็นวิธีการทำงานที่ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น มันเอาไว้ใช้หาต้นตอของปัญหา เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
มุริ (Muri : 無理) หรือภาระ คืองานหนักเกินไป เกินกำลังที่จะทำไหวจนส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ
มุดะ (Muda : 無駄) หรือความสูญเปล่า คือการทำงานที่ไม่จำเป็น หรือเกินความต้องการ เป็นการใช้ทรัพยากรไปอย่างเปล่าประโยชน์
มุระ (​​Mura : 斑) หรือความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน ทั้งเรื่องคุณภาพ เวลา และการควบคุม
ทั้งสามปัญหานี้ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ควรต้องรีบหาต้นตอให้เจอและกำจัดออกไปโดยเร็ว
วิธีแก้มุริคือการเพิ่มทรัพยากร หรือทบทวนความเหมาะสมของงานกับทรัพยากร ในขณะที่มุระ วิธีแก้คือให้สร้างมาตรฐานหรือเกณฑ์ในการทำงาน หรือการตั้งตารางเวลางาน
ส่วนสิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดคือมุดะ หรือการทำงานที่ไม่จำเป็น วิธีแก้ไขคือ ต้องพยายามกำจัดส่วนที่ไม่จำเป็นนี้ออกไป เช่น ยกเลิกขั้นตอนที่ไม่จำเป็น รวมงานที่คล้ายๆ กันเข้าด้วยกัน ลองสับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ทำงานให้ง่ายขึ้น ทำโดยใช้เวลาน้อยลง ฯลฯ
1
ยกตัวอย่างสถานการณ์ เช่น ต้องการขนกล่อง 6 ตันโดยใช้รถบรรทุกที่สามารถรับน้ำหนักได้มากสุด 3 ตัน
กรณีที่ 1 บรรทุกกล่อง 6 ตันในรถบรรทุก 1 คันเลย สิ่งนี้คือมุริ คือภาระงานหนักเกินไป รถบรรทุกรับน้ำหนักไม่ไหว
กรณีที่ 2 ใช้รถบรรทุก 2 คัน แต่แบ่งเป็น 4 ตันและ 2 ตันต่อคัน สิ่งนี้ทำให้เกิดมุริกับคันที่บรรทุก 4 ตัน รวมถึงเกิดมุระ คือความไม่สม่ำเสมอ
กรณีที่ 3 ใช้รถบรรทุกข์ 3 คัน คันละ 2 ตัน สิ่งนี้คือมุดะ เพราะเป็นการทำงานเกินความจำเป็น เราไม่จำเป็นต้องใช้รถถึง 3 คันในการบรรทุก
วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือบรรทุกโดยใช้รถสองคัน คันละ 3 ตัน จะเห็นได้ว่าสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างพอดี มีความสม่ำเสมอ และไม่เป็นภาระงานที่หนักเกินไปด้วย
วิธีการทำงานนี้สามารถประยุกต์ใช้กับการทำงานได้แทบทุกอย่าง สิ่งสำคัญคือต้องรีบหาวิธีการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ จัดเข้าหมวดหมู่ว่าอันไหนเป็นมุริ มุดะ มุระ คิดแผนการแก้ไขและรีบลงมือทำ
___
ติดตามข่าวอื่นๆ และบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่
___
Reference:
อ่านธุรกิจใน 69 แผนภาพ
โฆษณา