23 ธ.ค. 2022 เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วางแผนเกษียณอย่างไร ให้มีเงินใช้เดือนละ 30,000 บาท
2
“ชีวิตหลังเกษียณ” 🧓 อาจจะดูเป็นเรื่องที่ยังไกลตัวสำหรับคนวัย 30 ปี ที่ยังอยู่ในวัยทำงานและสามารถหาเงินได้ด้วยตัวเอง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ชีวิตหลังเกษียณถือเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเมื่อก้าวเข้าสู่วัยเกษียณ นั่นหมายถึงเราจะไม่มีรายได้จากงานประจำอีกต่อไป แต่สิ่งที่ยังคงมีอยู่คือค่าใช้จ่ายประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร หรือค่ารักษาพยาบาล
การเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า จึงช่วยให้เรามีชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องกังวลกับรายจ่ายในอนาคตนั่นเอง
1
คำถามสำคัญก็คือ แล้วต้องมีเงินก้อนเท่าไร จึงจะเพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ ? 💸
หากปัจจุบัน เราอายุ 30 ปี และอยากมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท ต้องมีเงินก้อนเท่าไหร่💰
เมื่อคำนวณจากมูลค่าเงินปัจจุบัน 30,000 บาทในวันนี้ อีก 30 ปี บวกเงินเฟ้อเข้าไป ทำให้ต้องมีเงินเท่ากับ 73,705.27 บาท ถ้าคำนวณเป็นเงินก้อนใหญ่ที่ต้องมี เท่ากับว่าตอนอายุ 60 ปี เราจะต้องมีเงินก้อนจำนวน 26,553,897.20 บาท จึงจะมีเงินใช้เดือนละ 30,000 บาทด้วยมูลค่าปัจจุบัน ไปยาว ๆ อีก 30 ปี หรือจนถึงอายุ 90 ปีเลยนั่นเอง
1
สำหรับคนวัย 30 ปี ที่ไม่ได้มีรายได้สูง 🧑‍💼 จำนวนเงินเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยาก หากรู้จักวางแผนการเงิน โดยการสร้างเงินให้งอกเงยผ่านการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อให้ถึงเป้าหมายระยะยาว ซึ่งเคล็ดลับที่ง่ายที่สุด นั่นคือวิธีทยอยลงทุน 📁
1
✅ เริ่มต้นด้วยการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้โอกาสได้รับผลตอบแทนประมาณ 10% ต่อปี โดยในช่วง 5 ปีแรก เริ่มทยอยลงทุนเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งเมื่อครบ 5 ปีแล้ว เงินที่ลงทุนไปก็จะเติบโตมากถึง 387,185.36 บาท
หลังจากนั้นให้ทยอยลงทุนเพิ่มขึ้นในทุก ๆ 5 ปี ตั้งแต่จำนวน 10,000 บาทต่อเดือน ไปจนถึง 30,000 บาทต่อเดือน รวมทั้งหมด 20 ปี เงินที่ได้จากการลงทุนก็จะเป็น 8,692,016.41 บาทเลยทีเดียว
ถึงตรงนี้เราจะมีเวลาเหลือสำหรับการลงทุนอีก 10 ปี ในตอนอายุ 50 ปีพอดี
จุดนี้ให้ปรับแผนการลงทุน โดยเลือกลดความเสี่ยงลง แต่ยังคงเพิ่มเงินลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยอีก 5 ปีที่เหลือ ให้เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 8% ต่อปี ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า และเพิ่มการลงทุนเป็นเดือนละ 40,000 บาทต่อเดือน และช่วง 5 ปีสุดท้าย
ให้ลงทุนทบเพิ่มอีกเดือนละ 50,000 บาท และปรับลดความเสี่ยงลงอีก ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 6% ต่อปี
หากลงทุนตามวิธีนี้ เท่ากับว่าเราจะได้เงินก้อนตอนอายุ 60 ปี เป็นจำนวนประมาณ 24,920,162.41 บาท แน่นอนว่าเงินจำนวนนี้ยังไม่เท่ากับเป้าหมายที่วางไว้ เราจึงแนะนำให้ยังคงลงทุนต่อเนื่องไปกับสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนไม่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อ (ประมาณ 3% ต่อปี)
โดยอาจปรับการลงทุน โดยลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 5% ต่อปีแทน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินที่ปรับลดลงตามเงินเฟ้อ และยังทำให้เราสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะถึงวัยเกษียณแล้วก็ตาม 🙌
ถึงแม้วิธีนี้จะเหมาะสมกับคนวัย 30 ปีก็ตาม แต่คนที่อายุน้อยกว่านั้นก็สามารถใช้แผนการลงทุนนี้ได้เช่นกัน 🧑 โดยอาจเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้โอกาสได้รับผลตอบแทนประมาณ 10% ต่อปี ด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่า และค่อย ๆ ทบเพิ่มไปจนถึงตอนอายุ 30 ปี หรือจะเลือกลงทุนในจำนวนที่เท่ากันเลยก็ได้ ซึ่งหากยิ่งลงทุนได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสได้เงินก้อนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำหรับใช้จ่ายในวัยเกษียณนั่นเอง
1
❗️ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักลงทุนไม่ควรมองข้ามนั่นคือ ระยะเวลา และความเสี่ยงของการลงทุน โดยหากต้องการลดความเสี่ยงให้กับการลงทุนระยะยาว ควรเลือกลงทุนกับกองทุนประเภทที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม อย่างเช่น การลงทุนในกองทุนรวม RMF หรือ SSF ซึ่งสามารถนำประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี ไปใช้ลงทุนเพิ่มเติมในปีถัด ๆ ไปได้
โดยกองทุนรวม RMF และ SSF ที่เหมาะสมกับวิธีทยอยลงทุนระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ มีด้วยกันหลากหลายกองทุนในทั้ง 2 รูปแบบ ซึ่งกองทุนรวม RMF และ SSF ที่จะขอแนะนำนั้น มีดังนี้
B-INNOTECHRMF / B-INNOTECHSSF กองทุนรวมต่างประเทศด้านเทคโนโลยี
B-SIPRMF / B-SIPSSF กองทุนสำหรับธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainability)
B-CHINAARMF กองทุนที่เน้นตลาดหุ้นจีน A-Shares
B-CHINESSF กองทุนที่เน้นหุ้นทุนที่ออกโดยบริษัทจีน
สามารถอ่านรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
1
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต
โฆษณา