27 ธ.ค. 2022 เวลา 10:57 • การศึกษา
ปรมัตถ์ : อกุศลจิต (อกุศลจิต ๑๒ ดวง)
นโม.....
ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา.....
พระมงคลเทพมุนี (สด) จนฺทสโร
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงเทศน์พระปรมัตถ์ครั้งแรกที่ดาวดึงส์ ถวายพระพุทธมารดาและหมู่เทวดา เป็นเวลา ๓ เดือน ในเวลารุ่งเช้า เมื่อพระองค์เสด็จบิณฑบาตและเสวยในป่าหิมพานต์ ทรงแสดงพระปรมัตถ์นี้ แก่พระสารีบุตรที่ปฏิบัติพระองค์ ในป่าหิมพานต์ทุกวัน เพื่อพระสารีบุตรจะได้นำมาเทศน์ให้มนุษย์ฟัง
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศน์พระปรมัตถ์จบ เสด็จลงจากดาวดึงส์ที่เมืองสังกัสนคร ทรงเปิดโลกให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์เห็นกันและกัน พร้อมกัน ในคราวนั้นสรรพสัตว์ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า แม้กระทั่งมดดำ มดแดง
"ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าจะเทียบละก็ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ฉันใดก็ดี ปรมัตถปิฎกเป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ"
"คัมภีร์ปรมัตถ์นี่เป็นหลัก เป็นประธาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ "เนื้อความในพระปรมัตถ์จัดเป็น ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต เป็นดวง จำแนกออกไปถึง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง ถ้าแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง ๕
เจตสิก จำแนกออกไปถึง ๕๒ ดวง
รูป จำแนกออกไปถึง ๒๘ รูป (มหาภูต ๔ อุปาทยรูป ๒๔)
นิพพาน ๓ (คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน)
หลวงพ่อวัดปากน้ำได้แสดงตัวอย่างเรื่องอกุศลจิต ๑๒ ดวงเอาไว้ดังต่อไปนี้
ในจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น มีอกุศลจิต ๑๒ ดวง อันเป็นต้นเหตุให้บุคคลทั้งหลายทำชั่ว
"อกุศลจิต ๑๒ ดวง" แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก คือ
จิตโลภ ๘ ดวง
จิตโกรธ ๒ ดวง
จิตหลง ๒ ดวง
จิตโลภ มี ๘ ดวง
ดวงที่ ๑ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก มีความเห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง ไม่มี
ใครกระตุ้น ไม่ว่าในที่ลับหรือที่ใดๆ
จิตโลภเกิดขึ้นแล้วเป็นอกุศล ต้องไปนรก รับทุกข์แน่นอน
ดวงที่ ๒ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก มีความเห็นผิด โดยการถูกกระตุ้นหรือชักจูง
ดวงที่ ๓ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก แต่ไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง
ดวงที่ ๔ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่มีความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นชักจูง
ดวงที่ ๕ จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ แต่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นตาม
ลำพัง ได้ก็เอาไม่ได้ก็แล้วไป
ดวงที่ ๖ จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ มีความเห็นผิด และมีผู้กระตุ้น
ดวงที่ ๗ จิตที่อยากได้พอประมาณ แต่ไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง
ดวงที่ ๘ จิตที่อยากได้พอประมาณ แต่ไม่มีความเห็นผิด มีคนกระตุ้น
จิต ๔ ดวงก่อน กับ ๔ ดวงหลัง ไม่ได้ต่างกัน เพียงแต่สี่ดวงก่อนเกิดขึ้นด้วยความอยากมาก ๔ ดวงหลังยินดีพอประมาณ จิต ๘ ดวงนี้ มันก็อยู่ในตัวเรานี่เอง เกิดขึ้นกับเรามาบ้าง แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน ยังมีกว้างกว่านี้ แค่นี้เป็นเพียงชั้นหนึ่งโดยย่อ
จิตโทสะ มี ๒ ดวง
ดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยลำพัง
ดวงที่ ๒ เกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้น
จิตหลง มี ๒ ดวง
ดวงที่ ๑ คือ จะทำอะไรไม่ตัดสินใจแน่นอนลงไป เมื่อลังเลไม่ตกลงใจ ก็ทำอะไรไม่ได้ และเมื่อทำลงไปก็จะมีทั้งผิดกับถูก
ดวงที่ ๒ คือ อาการทำโดยจิตฟุ้งซ่าน ครึ่งบ้าครึ่งดี
จิตหลง ๒ ดวงนี้ ต้องคอยระวัง เพราะทำไห้เราเดินทางผิด
"จิต ๑๒ ดวงนี้แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เราตกต่ำ
เลวทรามลงไปด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต ๑๒ ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้อง
เล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้ว มันก็จะข่มเหงเราตาม
ชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น"
"วัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้ว พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอน ปรมัตถปิฎกนี้ ผู้สอนปรมัตถ์ ไม่ใช่เล่นๆ หนา ต้องมีภูมิพอ ต้องมีการศึกษาพอ ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก็ ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว ไม่ต้องสงสัยละ เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งนัก ถามเจ้งแน่ ถามติดแน่ทีเดียว"
"ปรมัตถปิฎก เป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้าม ข้อ
ปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกาย วาจา สุดตันตปิฎกเป็นตัวอย่างว่าทำอย่างนี้ได้สุข พ้น
ทุกข์ไตรวัฏฏ์ ไปนิพพาน ยังไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม"
"ส่วนปรมัตถปิฎกนี้ เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่
เกิดขึ้น ในประเทศไทยเรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ เพราะมารขวาง
กีดกันไว้ ให้ศึกษาผิวเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลาย เพราะเนื้อธรรมไม่มี
ใครรู้แน่แท้ลงไป เหตุนี้เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี"
๑ ตุลาคม ๒๔๙๖
ปรมัตถ์ : อกุศลจิต (อกุศลจิต ๑๒ ดวง)
หนังสือ สาระสำคัญพระธรรมเทศนา (หน้า ๓๔-๓๖)
โฆษณา