30 ธ.ค. 2022 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Warren Buffett มีวิธีการหาบริษัทชั้นเยี่ยม อย่างไร ?
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เป็นการลงทุนระยะยาวในบริษัทที่มีธุรกิจอันยอดเยี่ยม และมีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
1
ซึ่งคุณ Warren Buffett สุดยอดนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาล ก็ใช้หลักการลงทุนนี้ มาตลอดชีวิต
แล้วรู้ไหมว่าคุณ Warren Buffett มีวิธีการประเมินธุรกิจ เพื่อหากิจการชั้นเลิศอย่างไร ถึงสามารถสร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำ ให้เขาได้
3
BillionMoney จะมาสรุป ให้เข้าใจแบบง่าย ๆ
หลักการในการตรวจสอบว่า บริษัทมีธุรกิจอันเยี่ยมยอดหรือไม่นั้น คุณ Mary Buffett อดีตลูกสะใภ้ของคุณ Warren Buffett เคยเล่าเอาไว้ในหนังสือ Buffettology ว่า
1
มีคำถามง่าย ๆ อยู่ 9 ข้อ ที่เราต้องถามตัวเองทุกครั้ง
ก่อนที่จะนำเงินไปลงทุนในบริษัทนั้น ได้แก่
1. สินค้าของบริษัท มีลักษณะเป็นสินค้าผูกขาดหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็นข้อย่อย ๆ เช่น
- บริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร
- เรารู้จักผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นอย่างดีหรือไม่
- บริษัทมีแบรนด์ของสินค้าและบริการ ที่เป็นที่นิยมและครองใจลูกค้ามาอย่างเหนียวแน่นด้วยหรือไม่
การตรวจสอบนี้ มีเพื่อให้เราแน่ใจได้ว่า ธุรกิจของบริษัท จะไม่มีวันตกยุค และสามารถผูกขาดอยู่ในตลาด จนคู่แข่ง แทบไม่มีโอกาส ที่จะแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปได้
2. รายได้และกำไรของบริษัท มีความแข็งแกร่ง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
- รายได้และกำไรโดยรวมที่บริษัททำได้ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นหรือลดลง
- กำไรต่อหุ้น มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1
บริษัทที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจได้ดี จะสามารถขยายธุรกิจออกไป และสร้างกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ในระยะยาว
ที่สำคัญ บริษัทควรต้องมีกำไรต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้เราสามารถคาดการณ์แนวโน้มของการดำเนินธุรกิจได้ง่ายขึ้น
3. บริษัทมีโครงสร้างทางการเงินที่มั่นคงหรือไม่
- ตรวจสอบภาพรวม ปริมาณทรัพย์สิน หนี้สิน
และส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากหรือน้อย
- ตรวจสอบ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) เพื่อวัดสภาพคล่อง ในระยะสั้นของบริษัท
- ตรวจสอบ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) เพื่อวัดความสามารถในการใช้จ่าย และการสร้างภาระผูกพันทางการเงิน ของบริษัทในระยะยาว
2
- ตรวจสอบหนี้สินระยะยาวต่อกำไรสุทธิของบริษัท
เพื่อให้รู้ว่า บริษัทต้องใช้เวลากี่ปี ถึงจะสามารถชำระคืนหนี้สินระยะยาวได้หมด จากกำไรที่บริษัททำได้
โดยหนี้สินระยะยาว ไม่ควรเกิน 5 เท่า เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ
- ตรวจสอบ กระแสเงินสดอิสระ เพื่อให้เข้าใจ
สุขภาพการเงินของบริษัทในเชิงลึก
1
ถ้าพบว่าบริษัทมีภาระหนี้ ทั้งระยะสั้น และระยะยาวน้อย
มีรายได้และกำไร ที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ก็ถือว่าบริษัทมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
1
4. บริษัทมีผลตอบแทน เมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ หรือ ROE และผลตอบแทน เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ ROA ในระดับสูงอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
การมี ROE และ ROA ที่สูงอย่างสม่ำเสมอ หมายถึง บริษัทสามารถใช้ประโยชน์ จากส่วนของผู้ถือหุ้น และสินทรัพย์ ได้เป็นอย่างดี
ธุรกิจที่มี ROE สูงกว่า 15% และ ROA สูงกว่า 7% อย่างสม่ำเสมอนั้น มักจะถือว่าเป็นธุรกิจที่มีความสามารถ ในการแข่งขันที่ยั่งยืนในระยะยาว และส่วนใหญ่แล้ว มักจะเป็นธุรกิจที่มีสินค้าผูกขาด
1
5. ธุรกิจสามารถรักษาผลกำไรที่ทำได้ ไว้เป็นกำไรสะสมได้หรือไม่
ในแต่ละปี ถ้าบริษัททำธุรกิจแล้วมีกำไร เราก็ต้องดูว่า เงินปันผลที่จ่ายคิดเป็นอัตราส่วนเท่าไรของกำไร และส่วนเกินที่เหลืออยู่นี้ บริษัทได้เก็บสะสมเอาไว้ หรือนำไปทำอะไรต่อ
2
หากที่ผ่านมา บริษัทสามารถเก็บกำไรสะสมมาได้
อย่างสม่ำเสมอ บริษัทก็จะมีเงินสดมากขึ้น
1
ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถนำกำไรสะสมไปใช้ขยายธุรกิจได้เลยทันที เมื่อเห็นโอกาสในการต่อยอดทางธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องไปกู้เงินมาลงทุน
การที่บริษัทไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาลงทุนนี้เอง ก็ยังทำให้ไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่าย จากดอกเบี้ยเงินกู้ อีกด้วย
6. ธุรกิจมีค่าใช้จ่าย ไปกับอะไรบ้าง
- บริษัทจะต้องใช้เงินลงทุนในแต่ละปี เพื่อรักษาความสามารถในการทำธุรกิจต่อไป มากหรือน้อยเพียงใด
- บริษัทจะต้องลงทุน เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาสูงหรือไม่
- บริษัทจะต้องลงทุนปรับปรุงโรงงานให้ทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต หรือเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้หรือไม่
การที่ธุรกิจ มีต้นทุนสินค้าสูง จะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นต่ำ
โดยอุตสาหกรรมที่หลายธุรกิจมีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำนั้น ก็มักจะมีการแข่งขันกันด้านราคา ทำให้ไม่มีบริษัทใดที่มีแบรนด์ของสินค้าที่แข็งแกร่ง จนเป็นผู้กำหนดราคาเองในตลาดได้
 
ถ้าบริษัทมี งบในการวิจัยและพัฒนา และงบลงทุนเพื่อใช้ในการปรับปรุงโรงงาน อยู่ในระดับที่สูงมาโดยตลอด
วันหนึ่ง ถ้าบริษัทลดงบเหล่านี้ลง ก็มีโอกาสสูงมาก
ที่บริษัทจะสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันไป
และต้องสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด ไปให้กับคู่แข่งเจ้าอื่น
7. บริษัทมีอิสระหรือไม่ เมื่อต้องตัดสินใจนำกำไรสะสม ไปใช้ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีอนาคต เพื่อขยายกิจการเดิม หรือเพื่อซื้อหุ้นของบริษัทคืน และผู้บริหารมีความสามารถในการตัดสินใจเรื่องเหล่านี้ ได้ดีเพียงใด
- กำไรในแต่ละปีที่บริษัททำได้ และถูกสะสมไว้ ผู้บริหารมีแผนการจะนำเงินสะสมก้อนนี้ไปใช้ทำอะไรต่อไป
- ถ้าบริษัทเลือกที่จะนำกำไรสะสม ไปขยายกิจการเดิม หรือลงทุนสร้างธุรกิจใหม่เพิ่มเติม บริษัทมีแผนงานชัดเจน
และมีโอกาสที่แผนงานนี้จะประสบความสำเร็จ
รวมถึงสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าแผนงานของบริษัท มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้ค่อนข้างต่ำ บริษัทก็สามารถนำเงินไปซื้อหุ้นคืน เพื่อทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าหุ้นของผู้ถือหุ้น ให้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องตรวจสอบความสามารถในการบริหารกิจการของผู้บริหารว่า ที่ผ่านมา
มีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจอย่างไร
1
8. บริษัทมีอิสระในการปรับราคาสินค้า ตามอัตราเงินเฟ้อหรือไม่
ในการทำธุรกิจ ก็จะต้องมีภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าจ้างแรงงาน ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าปรับปรุงโรงงาน และค่าบำรุงเครื่องจักรเพื่อการผลิต
เมื่อเวลาผ่านไป เงินเฟ้อจะไปทำให้ต้นทุนเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้น
บริษัทที่ผลิตสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าผูกขาด มักจะอยู่ในธุรกิจที่แข่งขันกันทางด้านราคา
ดังนั้น โอกาสที่จะปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามเงินเฟ้อ ก็จะเป็นไปได้ยาก
เพราะถ้าบริษัทหนึ่ง ปรับราคาสินค้าสูงขึ้น ในขณะที่บริษัทเจ้าอื่น ๆ ในตลาดเลือกที่จะไม่ขึ้นราคาสินค้า
1
บริษัทที่ปรับราคาสินค้าขึ้นไป ก็จะเสียส่วนแบ่งทางการตลาดไป
ดังนั้น บริษัทที่มีแบรนด์ของสินค้าที่แข็งแกร่ง จะไม่ต้องกังวลเรื่องเงินเฟ้อมาก เพราะเป็นสินค้าที่สามารถปรับราคาตามเงินเฟ้อได้เสมอ
9. มูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้นจากกำไรสะสม ส่งผลให้มูลค่าตามราคาตลาดของบริษัท เพิ่มขึ้นหรือไม่
ในระยะยาวแล้ว ราคาหุ้นจะเป็นไปตามผลประกอบการของบริษัท ซึ่งก็คือกำไร
ดังนั้น ในการลงทุนระยะยาว มูลค่าที่แท้จริงของบริษัท
จะเป็นภาพสะท้อน ของผลประกอบการที่ดีของบริษัท
ยิ่งกำไรสะสมเพิ่มมากขึ้น และบริษัทนำกำไรที่ได้ไปใช้ในการขยายธุรกิจให้เติบโต
สุดท้ายเมื่อราคาหุ้นได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทออกมา ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นก็จะเพิ่มพูนขึ้น จากการถือหุ้นลงทุนในธุรกิจชั้นเลิศ เป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอ
และทั้งหมดนี้ ก็คือ 9 คำถาม ที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ทุกครั้ง เวลาที่เราเจอบริษัทใดก็ตาม ที่เราอยากนำเงินไปลงทุน
ถ้าพบว่า เมื่อเราใช้ 9 คำถามนี้ มาประเมินเกี่ยวกับบริษัทนั้น
และได้คำตอบว่า “ใช่” ในทุกคำถาม
ก็ขอให้รู้เลยว่า เราได้เจอบริษัทที่มีธุรกิจชั้นยอด ที่เราสามารถลงทุนในระยะยาวได้แล้ว
แต่เราก็ต้องไม่ลืม ขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งก็คือการประเมินมูลค่าหุ้นว่า ราคา กำลังอยู่ในจุดที่มีความสมเหตุสมผลให้ซื้อ แล้วหรือไม่..
References
-Buffettology (1997) โดย Mary Buffett และ David Clark
-The New Buffettology (2002) โดย Mary Buffett และ David Clark
-Getting Started in Value Investing (2007) โดย Charles S. Mizrahi
-Gone Fishing with Buffett (2012) โดย Sean Seah
โฆษณา