2 ม.ค. 2023 เวลา 04:16 • หนังสือ
DEEP WORK : by CAL NEWPORT
: ดำดิ่งท่ามกลางสิ่งรบกวน
หนังสือแห่งทักษะที่สำคัญที่สุดในโลกที่เวลาและความสนใจมีอยู่อย่างจำกัด
การทำงานแบบดำดิ่ง
คือ การทำงานในสภาวะที่มีสมาธิจดจ่อและปราศจากสิ่งรบกวน ซึ่งกระตุ้นความสามารถด้านการรู้คิดให้อยู่ในจุดสูงสุด การทำงานรู้แบบนี้ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่าใหม่ ซึ่งลอกเลียนแบบได้ยากและช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ
อย่างไรก็ตามในโลกที่แสนวุ่นวายของเรายังมีงานอีกประเภทหนึ่งซึ่งตรงกับข้ามกับแนวคิดของการทำงานแบบดำดิ่ง นั่นคือ "งานที่ตื้นเขิน"
กิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องอาศัยการคิดอย่างลึกซึ้ง ซึ่งผู้คนมักทำเมื่อเสียสมาธิ งานประเภทนี้มักไม่สามารถก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่าและลอกเลียนแบบได้ง่าย
การทำงานแบบดำดิ่งนั้นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญที่เรียกว่า "พลังใจ" ในการจดจ่อกับงานต่างๆ ปัญหาคือพลังใจนั้นมีอยู่อย่างจำกัด สำหรับมือใหม่ที่ฝึกการทำงานแบบดำดิ่งนั้นโดยเฉลี่ยจะใช้ พลังใจ หมดภายใน 1 ชัั่วโมง (จดจ่อได้ 1 ชั่วโมง) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของผู้เชียวชาญอยู่ที่ 4 ชั่วโมง
แล้วทำอย่างไรเราจึงจะสามารถทำงานแบบดำดิ่ง ท่ามกลางสิ่งรบกวนมากมายในโลกนี้ได้กันละ
:
:
ในหนังสือเล่นนี้ได้แนะนำกฏในการทำงานแบบดำดิ่งไว้ 4 ข้อ ดังนี้
กฏข้อที่ 1 บอกลาโซเซียลมีเดีย
ในกฏข้อที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงการทดลอง การตัดขาดโลกออนไลน์ 25 วัน ของบาราทุนเด เธิร์สตัน ซึ้งได้สรุปประเด็นสำคัญสองข้อเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างสังคมกับเครื่อข่ายสังคมออนไลน์
ประเด็นสำคัญประการแรก คือ เราตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆว่าเครื่องมือเหล่านี้แบ่งเวลาของเราออกเป็นช่วงๆ และทำให้เราจดจ่อได้น้อยลง (และจะมีผลเสียเป็นอย่างมากหากคุณกำลังพัฒนาทักษะการทำงานแบบดำดิ่ง) เมื่อมีสิ่งที่น่าดึงดูดใจในโลกออนไลน์ที่คอยเบี่ยงเบนความสนใจของคุณ การจะจดจ่อกับสิ่งสำคัญเป็นเรื่องที่ยากมาขึ้น ( อย่าลืมว่าพลังใจที่ใช้ในการจดจ่อมีอยู่อย้างจำกัด )
ประการที่สอง คือ คนส่วนใหญ่มองว่าพวกเขาไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องมือเชื่อมต่อเครื่องข่ายกับการจดจ่อได้ และทางเลือกเดียวที่จะสามารถช่วยให้หลุดพ้นจากปัญหานี้ได้ คือการเลิกใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสิ้นเชิง (แน่นอนว่าแบบชั่วคราว) โดยการตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตระยะยาว (การปลีกตัวออกมาจากโลกออนไลน์อย่างจริจังเป็นเวลานานหลายสัปดาห์หรือมากกว่านั้น)
อย่างไรก็ตาม การตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงแนวคิดที่ฉาบฉวย และทำได้ยาก ผู้เขียนได้เสนอให้คุณ หลีกเลี่ยงภาวะที่เชื่อมต่อกับโลกออนไลน์มากเกินไปจนเสียสมาธิ (แทนที่จะตัดขาดจากโลกออนไลน์ไปอย่างชินเชิง ลองกำหนดเวลาดูว่าเราจะเชื่อมต่อและไม่เชื่อต่อกับโลกออนไลน์ตอนไหน เพื่อให้มีเวลาโฟกัสกับการทำงานแบบดำดิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ )
กฏข้อที่ 2 เปิดใจรับความเบื่อ
" คุณไม่อาจมองว่าตัวเองทำภารกิจประจำวันของกิจกรรมต่างๆสำเร็จได้ หากคุณไม่ได้พยายามเต็มที่เพื่อใช้พลังสมองให้เต็มกำลัง"แรบไบ (นักบวชยิว)
ความสามารถในการจดจ่ออย่างแรงกล้าคือทักษะที่ต้องฝึกฝน แต่หลายคนกลับมองว่าการจดจ่ออย่างแน่วแน่คือ กิจวัตรง่ายๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งทุกคนรู้ดีว่ามันสำคัญอย่างไรและรู้ว่าต้องทำยังไง แต่กลับไม่มีใครลงมือทำเพราะขาดแรงจูงใจ
คุณต้องเลิกหันไปพึ่งสิ่งรบกวนทุกครั้งที่คุรรู้สึกเบื่อหน่ายเพียงน้อยนิด
งานวิจัยของ คลิฟฟอร์ด แนสส์ อาจารย์ภาควิชาการสื่อวารจากมหาวิทยาลัย
สแตนฟอร์ด เผยว่าการสลับไปให้ความสนใจโลกออนไลน์เป็นประจำส่งผลกระทบเชิงลบต่อสมองในระยะยาว " บรรดาผู็เข้าร่วมการทดลองนั้น พวกเขาหลุ่มหลงในสิ่งที่ไม่สำคัญและไม่สามารถจดจ่อกับงานได้อย่างแท้จริง "
สามประเด็นสำคัญในการช่วยฝึกการจดจ่อ
1. กำหนดเวลาให้ชัดเจนว่าจะใช้อินเทอร์เน็ตตอนไหนและนานแค่ไหน
2.ไม่ว่าคุณจะกำหนดเวลาแบบไหนจงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3.การกำหนดช่วงเวลาสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตควรกำหนดเวลาทั้งช่วงที่ทำงานและช่วงนอกเวลางานจะทำให้ฝึกจดจ่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
( สำหรับประเด็นที่ 2 ถ้าคุณกำหนดเวลาไว้อย่างชัดเจนแล้วไม่สามารถทำตามได้หรือมีการแหกกฏที่คุณตั้งขึ้นในการใช้อินเทอร์เน็ตเพียง 2-3 ครั้ง จะทำให้สมองของคุณคิดว่าเรื่องนี้ไม่ได้มีความสำคัญมากและสามารถละเลยได้)
( สำหรับประเด็นที่ 3 การไม่กำหนดช่วงเวลาการเล่นอินเทอร์เน็ตหลังเลิกงานอาจทำให้การฝึกการทำงานแบบจดจ่อที่ทำมาตลอดช่วงเวลาทำงานนั้นศูนย์เปล่า)
กฏข้อที่ 3 การทำงานอย่างจดจ่อ
การเปลี่ยนความวอกแวกเป็นการจดจ่อเป็นเรื่องยาก ผู้คนส่วนใหญ่ต่อสู้กับความปรารถนาของตัวเองตลอดทั้งวัน ความปรารถนาที่จะทำงานที่ตื่นเขิน การเช็คอีเมล์ เช็คเฟสบุ๊ก (อย่าลืมว่าการทำงานเหล่านี้ก็ต้องใช้พลังใจ)
พลังใจเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดซึ่งจะหดหายไปเรื่อยๆเมื่อถูกใช้ พลังใจเป็นเหมือนกล้ามเนื้อที่จะเกิดอาการล้าเมื่อถูกใช้งานไปในระยะหนึ่ง
แต่การทำงานแบบดำดิ่งจะใช้พลังใจน้อยลงเป็นอย่างมากถ้าคุณมีกิจวัตรและพิธีกรรมเฉพาะตัวที่เหมาะสม
เริ่มที่การสร้างพิธีกรรมเฉพาะตัวกันก่อน
การสร้างพิธีกรรมเฉพาะตัว คือการสร้างอุปนิสัยในการทำงาน การว่างแบบแผนการทำงานที่ชัดเจนและเคร่งครัด จะทำให้คุณสามารถเริ่มทำงานแบบดำดิ่งได้ง่ายและนานยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องรอแรงบรรดาลใจจึงจะสามารถเริ่มทำงานได้ โดยมี 3 องค์ประกอบดังนี้
1. คุณจะทำงานแบบดำดิ่งที่ไหนและนานเท่าไหร่
คุณต้องกำหนดสถานที่ (สถานที่ ที่เงียบสงบและคุณสบายใจที่จะอยู่ )และระยะเวลาในการทำงานแบบดำดิ่งอย่างชัดเจน ( การทำงานแบบไร้จุดสิ้นสุดจะทำให้เปลืองพลังใจได้ง่าย) เพื่อที่จะสามารถจดจ่อกับงานได้มากยิ่งขึ้น
2.คุณจะทำงานอย่างไรเมื่อเริ่มทำงานอย่างดำดิ่ง
เป็นการตั้งกฏในการทำงานให้กับตัวเอง เพราะหากไม่มีกฏที่ชัดเจนก็จะเป็นการเถียงกับตัวเองว่าอะไรต้องทำและอะไรไคือสิ่งที่ไม่จำเป็น
3.คุณจะสนับสนุนการทำงานของตัวเองอย่างไร
ตัวอย่างเช่น การเปิดแอร์เย็นๆ ดื่มกาแฟ หรือการเปิดเพลง เพื่อที่จะทำให้คุณสามารถจดจ่อกับงานได้อย่างเต็มที่และไม่วอกแวก
แนวทางการทำงานแบบดำดิ่ง
เมื่อคุณสร้างพิธีกรรมเฉพาะตัวได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องค้นหาแนวทางการทำงานของตัวคุณเอง สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องเลือกแนวทางที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของตัวเอง เพราะแนวทางที่ไม่เหมาะสมนั้น อาจขัดขวางการบ่มเพาะอุปนิสัยในการทำงานแบบดำดิ่งได้
มี 4 แนวทางดังนี้
1. แนวทางแบบปลีกวิเวก
เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำงานคนเดียวหรือ Introvert เป็นอย่างยิ่งเพราะตามชื่อของแนวทางเลย มันคือการทำงานคนเดียวหรือการทำงานกับกลุ่มคนเล็กๆที่ไม่จำเป็นต้องสื่อสารอะไรมากมาย และเน้นการทำงานที่เงียบสงบ
( ผมชอบวิธีนี้ที่สุด )
2. แนวทางแบบสองโหมด
คือการจัดสรรเวลาไว้อย่างชัดเจน โดยการทุ่มเวลาส่วนหนึ่งไปกับการทำงานแบบดำดิ่ง ส่วนนอกเหนือเวลาที่คุณกำหนดไว้ก็สามารถทำงานอื่นได้อย่างอิสระ
3. แนวทางบ่มเพาะความเคยชิน
เป็นการเปลี่ยนการทำงานแบบดำดิ่งให้กลายป็นนิสัยที่สามารถทำได้ทุกวัน โดยการกำหนดเวลาในแต่ละวันอย่างชัดเจนและทำมันทุกวัน ในไม่ช้าการทำงานแบบดำดิ่งจะกลายเป็นนิสัยของคุณโดยไม่รู้ตัว และคุณก็ไม่จำเป็นต้องบังคับตัวเองให้ทำงานแบบดำดิ่งอีกต่อไป
4. แนวทางแบบนักข่าว
แนวทางนี้คือการทำงานแบบดำดิ่งทันทีที่มีโอกาส แนวทางนี้เป็นแนวทางที่ยืดหยุ่น โดยที่ไม่จำเป็นต้องกำหนดเวลาและสามารถทำที่ไหนก็ได้ ปัญหาคือการสลับโหมดการทำงานอย่างรวดเร็วนี้ต้องใช้พลังใจเป็นอย่างมาก และการทำงานแบบไม่เลือกสถานที่จะทำให้คุณวอกแวกได้ง่าย เป็นแนวทางที่ไม่แนะนำสำหรับมือใหม่ แนวทางนี้จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน
กฏข้อที่ 4 ลดงานที่ตื่นเขิน
แนวทางของกฏข้อนี้ คือการลดปริมาณงานที่ไม่จำเป็นให้ได้มากที่สุด เพื่อให้คุณสามารถโฟกัสกับการทำงานที่สำคัญได้อย่างเต็มที่ แต่การลดปริมาณงานที่ตื่นเขินก็มีเงื่อนไขอยู่ที่ว่า งานที่ตื่นเขินบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนงานที่คุณทำ
ดั้งนั้นคุณควรพิจารณาให้ดีว่างานที่ตื่นเขินแบบไหนคืองานที่สำคัญและงานแบบไหนคือสิ่งที่ไม่จำเป็น เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเปลืองพลังงานไปอย่างเปล่าประโยชน์
ส่วนผู้เขียน
 
บทความนี้คือการสรุปเนื้อหาที่ผมคิดว่าสำคัญในหนังสือเล่มนี้มาแบบคร่าวๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้อย่างง่ายๆ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในหนังสือมีลายละเอียดยิบย่อยอีกมากมาย ที่จะช่วยให้คุณสามารถทำงานแบบดำดิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมกล้าพูดได้ว่าเลยหนังสือเล่มจะสามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานของคุณได้อย่างแน่นอน
ในส่วนท้ายนี้ขอขอบคุณผู้อ่านที่อ่านมาถึงตอนนี้ และถ้ามีความคิดเห็น
ข้อติชม หรือเรื่องราวอะไรอยากแบ่งบปัน ก็สามารถเขียนลงในช่องแสดงความคดิเห็นได้เลย ( บอกเลยนะคนที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ผมถือว่าพลาดทักษะสำคัญในการทำงานอย่างมากเลยล่ะ ปล.ผมรอการรีวิวหนังสือเล่มนี้ในมุมมองของผู้อ่านบล็อกอยู่นะครับ )
โฆษณา