4 ม.ค. 2023 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก “กลยุทธ์ตีแตก” ที่ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ใช้เลือกหุ้น
2
ย้อนไปเมื่อ 25 ปีก่อน การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น
ยังไม่เคยปรากฏขึ้นในประเทศไทยมาก่อน
1
จนมีนักลงทุนท่านหนึ่ง ที่นับเป็น “บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของชาวไทย” ได้เผยแพร่แนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ให้คนไทยได้รู้จักในวงกว้าง ผ่านหนังสือชื่อ
“ตีแตก กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต”
1
เขาคนนั้นคือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่ ดร.นิเวศน์ สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนในหุ้น แบบทบต้น ได้เฉลี่ยสูงถึง 27.3% ต่อปี ในช่วง 25 ปี ระหว่างปี 2541-2565
1
คิดอย่างง่าย ๆ ว่า เงินจำนวน 1 ล้านบาท ในวันนั้น
วันนี้จะกลายเป็นเงินถึง 417 ล้านบาท
และถ้าอยากรู้ว่า ดร.นิเวศน์ มีกลยุทธ์ในการลงทุนอย่างไร
จึงสามารถสร้างผลตอบแทน ได้สูงขนาดนี้
BillionMoney จะมาอธิบายให้เข้าใจ แบบง่าย ๆ
กลยุทธ์การลงทุนที่ ดร.นิเวศน์ ได้เผยแพร่ไว้ หรือเรียกว่า
“กลยุทธ์ตีแตก” นั้น ประกอบไปด้วย
1. ลงทุนในหุ้น เหมือนเป็นธุรกิจที่เราจะเข้าไปเป็นหุ้นส่วน
ในการลงทุนซื้อหุ้นทุกครั้ง เราควรมีทัศนคติว่า
เราเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของธุรกิจนั้นด้วย
ดังนั้น เราควรต้องรู้จักธรรมชาติของกลุ่มธุรกิจแต่ละประเภทว่า อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทไหน และมีลักษณะการทำธุรกิจเป็นอย่างไร
เพราะลักษณะการทำธุรกิจของแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความแตกต่างกัน
โดยก่อนที่เราจะลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เราควรต้องจำแนกออกมาให้ได้ว่า บริษัทดังกล่าว เป็นธุรกิจประเภทไหน และทำความเข้าใจตัวสินค้าของบริษัทด้วย
1
โดยธุรกิจก็อาจแบ่งได้เป็น
- ธุรกิจผูกขาดสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Monopoly)
1
- ธุรกิจสัมปทานหรือธุรกิจควบคุม (Licensed Business)
- ธุรกิจส่งออก (Exporter)
- ธุรกิจมีจุดเด่น (Niche Player)
- ธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Type Business)
2. วิเคราะห์ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ
นอกจากจะต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะของบริษัทแล้ว
เราก็ควรต้องมาวิเคราะห์ความแข็งแกร่งด้านการเงินของบริษัทด้วย
การที่เราจะรู้ได้ว่า บริษัทมีความแข็งแกร่งทนทาน
พอที่จะสามารถทำธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืนหรือไม่นั้น
เราจะต้องวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทให้เป็น
โดยการวิเคราะห์ขั้นแรก เป็นการ วิเคราะห์งบกำไรขาดทุน โดยดูได้จาก
- ยอดขายและรายได้ของบริษัท รวมถึงกำไรของบริษัทและกำไรต่อหุ้น เมื่อเทียบแบบปีต่อปีแล้ว มีการเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดหรือไม่ ?
การที่รายได้และกำไรเพิ่มขึ้น หมายความว่า ธุรกิจของบริษัทมีการเจริญเติบโตไปในทางที่ดี
มีคนใช้สินค้าและบริการของบริษัทมากขึ้น และอาจรวมถึง บริษัทสามารถกินส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นด้วย
- ส่วนต่างกำไรขั้นต้น ที่ควรมากกว่า 20% อย่างสม่ำเสมอ
- ROE หรือผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ควรมากกว่า 15% อย่างสม่ำเสมอ
1
- ค่าใช้จ่ายในด้าน ดอกเบี้ยจ่าย, ภาษีจ่าย และ SG&A (ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร) ที่ยิ่งน้อยยิ่งดี
ต่อมาคือ การวิเคราะห์งบดุล จะเป็นการ
- ตรวจสอบสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อตรวจสอบสภาพคล่อง, ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงคลัง
- ตรวจสอบหนี้สินของบริษัท ทั้งหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินไม่หมุนเวียน
- ส่วนของผู้ถือหุ้น ควรจะต้องมากกว่าหนี้สินโดยรวม เพราะบริษัทที่มีหนี้สินน้อย มักจะมีความปลอดภัยมากกว่า
การมีหนี้สินน้อย จะทำให้บริษัทไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยเยอะเกินไป
และสุดท้ายคือ การวิเคราะห์แนวโน้มผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการ โดยการ
- วิเคราะห์ธุรกิจย้อนหลังไปมากกว่า 5 ปี
- ดูว่ารายได้และกำไร ในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่สูงขึ้นอยู่ตลอดหรือไม่
- ที่ผ่านมา ต้องมี D/E Ratio หรืออัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น ที่ลดลงอยู่ตลอด และต้องมีอัตราส่วนที่ต่ำ
- ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงคลัง ต้องมีแนวโน้มลดลง
และอยู่ในระดับที่ต่ำ
1
ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้มีขึ้น เพื่อที่จะประเมินว่า แนวโน้มการทำธุรกิจของบริษัทจะเป็นไปอย่างราบรื่นในระยะยาว หรือไม่
3. ตรวจสอบว่าหุ้นราคาถูกหรือแพง
หุ้นที่มีคุณภาพดีนั้น จะเป็นหุ้น ที่กำไรสามารถเติบโตได้ในระยะยาว อย่างสม่ำเสมอและมั่นคง โดยสามารถตรวจสอบได้จาก อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น
โดยเราสามารถแบ่งคุณภาพของหุ้น ออกได้เป็น 3 ระดับ ตามการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ได้แก่
- โตน้อยกว่า 7% ต่อปี นับเป็น หุ้นโตช้า
- โตระหว่าง 7-15% ต่อปี นับเป็น หุ้นโตปานกลาง
- โตมากกว่า 15% ต่อปี นับเป็น หุ้นโตเร็ว และเป็นหุ้นที่มีคุณภาพดี
แต่นอกจากการตรวจสอบคุณภาพหุ้นของบริษัทแล้ว เราก็ควรต้องตรวจสอบราคาหุ้นที่เราจะซื้อด้วย
หากเราซื้อหุ้นที่ดีมากมาในราคาที่สูงเกินไป โอกาสที่เราจะขาดทุน ก็จะยังมีสูงมากอยู่ดี
การจะวัดความถูกหรือแพง ของราคาหุ้นนั้น จะสามารถหาได้โดยใช้ “อัตราส่วนความคุ้มค่า (PEG)”
โดยการเอาค่า P/E Ratio ในปัจจุบันของบริษัท มาหารด้วย อัตราการเจริญเติบโตของกำไรต่อหุ้นโดยเฉลี่ย
หาก PEG มากกว่า 1 เท่า หมายความว่า หุ้นมีราคาแพงเกินไป
แต่ถ้า PEG ที่ได้ น้อยกว่า 1 เท่า ก็หมายความว่า
หุ้นยังมีราคาถูกอยู่
และนอกจากจะใช้ PEG แล้ว เราก็ยังสามารถใช้ P/BV ซึ่งก็คือ อัตราส่วนราคาตลาดของหุ้น หารกับมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น มาดูประกอบด้วยได้ โดย P/BV ก็ไม่ควรเกิน 2 เท่า
4. สไตล์การลงทุนแบบไหน ที่เหมาะกับเรา
นักลงทุนทุกคน ควรรู้จักตัวเองเป็นอย่างดี ว่ามีความชอบและความถนัดในการลงทุนแบบไหน ไม่ว่าจะเป็น
- ลงทุนในหุ้นโตเร็ว (Growth Investment)
- ลงทุนในหุ้นคุณค่า (Value Investment)
- ลงทุนแบบเหวี่ยงแห (Passive Investment)
ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาให้เข้าใจว่าสไตล์การลงทุนแต่ละแบบ แตกต่างกันอย่างไร
เพื่อที่จะหาสไตล์การลงทุนของตัวเองให้เจอ และเมื่อหาเจอแล้ว ก็ควรมุ่งมั่นอยู่กับแนวทางที่ตนเองถนัด
 
5. เรียนรู้จากนักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จ
หนึ่งในวิธีการเรียนรู้ที่ดีและง่ายที่สุด คือ เรียนรู้จากความสำเร็จ และความล้มเหลวของผู้อื่น
ดังนั้น นักลงทุนก็ควรหาบุคคลต้นแบบทางการลงทุน และศึกษาวิธีคิดของบุคคลต้นแบบเหล่านั้นว่า มีวิธีการในการเลือกหุ้น และวิเคราะห์ธุรกิจอย่างไร
นอกจากนี้ เราก็ควรมีนักลงทุนต้นแบบหลาย ๆ คน เพื่อศึกษาว่า แต่ละคนมีวิธีการลงทุน เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ตัวอย่างนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก ก็อย่างเช่น Warren Buffett, Peter Lynch และ Charlie Munger
6. ค้นหาหุ้นที่จะลงทุน
โดยใช้วิธี “ตะแกรงร่อนหุ้น” เทียบรายไตรมาสย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี โดยเราต้องตรวจสอบว่า
- ยอดขาย, รายได้รวม, กำไรสุทธิ และกำไรต่อหุ้นของบริษัท มีการเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดหรือไม่ ?
- ค่า ROE ซึ่งก็คืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มากกว่า 15% อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ?
- จำนวนเงินปันผลที่บริษัทจ่ายออกมาในแต่ละปี
- การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นของทั้งบริษัทที่ผ่านมา
- ใช้ P/E และ P/BV มาช่วยดูว่าหุ้นราคาถูกหรือแพง
นอกจากนี้ บางที เราก็อาจจะใช้จังหวะที่เกิดเหตุการณ์พิเศษต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเข้าซื้อหุ้นบางตัว เช่น เมื่อมีข่าวร้ายเกิดขึ้น ทำให้ผู้คนเทขายหุ้นคุณภาพดีบางตัวออกมา ราคาหุ้นก็จะลดลงมามาก
1
ถ้าเราเข้าไปซื้อหุ้นแบบนี้ เมื่อเหตุการณ์ร้ายได้ผ่านพ้นไปแล้ว ราคาหุ้นก็จะเด้งกลับขึ้นมา ทำให้เราทำกำไรจากการลงทุนได้มาก
2
และวิธีสุดท้าย เราก็อาจจะลงทุนตามเจ้าของ หรือนักลงทุนรายใหญ่ เพราะเจ้าของมักจะมีข้อมูลภายในมากกว่านักลงทุนรายย่อยทั่วไป
7. เข้าใจเรื่องความเสี่ยง
การลงทุนนั้น ย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยง ดังนั้นเพื่อปกป้องพอร์ตการลงทุนของเราจากความเสี่ยงที่จะขาดทุน เราก็ควร
- กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไปในหุ้นดีหลาย ๆ ตัว ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน
- รู้จักเรื่องสภาพคล่องของหุ้น
ถ้าหุ้นมีสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำ หมายความว่า ปริมาณการซื้อขายหุ้นตัวนั้นต่อวัน ก็จะมีน้อย
แต่หากเราลงทุนในหุ้นที่ดี และมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม แม้หุ้นเหล่านั้นจะมีสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือค่อนข้างต่ำ ก็ยังถือว่า พอร์ตการลงทุนของเรา จะมีความปลอดภัยค่อนข้างมาก
- ระวังเรื่องผู้บริหารของบริษัท
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เป็นการลงทุนในระยะยาว
หรือก็คือ เงินลงทุนของเราจะต้องอยู่กับบริษัท เป็นเวลายาวนาน
ดังนั้นก่อนจะลงทุนในบริษัทนั้น เราก็ควรต้องตรวจสอบประวัติของผู้บริหารเสียก่อนว่า เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และจะรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นได้ดีหรือไม่
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงพอเข้าใจ กลยุทธ์ตีแตก
ที่ ดร.นิเวศน์ ใช้ในการเลือกหุ้นลงทุนแล้วใช่ไหม
กลยุทธ์ตีแตกนี้เอง ก็ได้ผ่านการทดสอบมาเกือบจะครบ 30 ปี แล้วว่า สามารถนำไปใช้แล้ว สร้างผลตอบแทนได้จริง จากตัวอย่างของนักลงทุนรุ่นหลัง ๆ หลายคน
ที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ได้สูงมาก..
References
-ตีแตก กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต (2541) โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-Super Stock ในตลาดหุ้นเวียดนาม (2565) โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โฆษณา