4 ม.ค. 2023 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อิตาลีหนี้สูง เสี่ยงถูกเทขายพันธบัตร
อิตาลีเป็นประเทศในยูโรโซนที่มีความอ่อนไหวต่อวิกฤติหนี้มากที่สุด
เนื่องจากธนาคารกลางยุโรปจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยและชะลอการซื้อพันธบัตรในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
นักเศรษฐศาสตร์ 9 ใน 10 คนในแบบสำรวจของ Financial Times ระบุว่าอิตาลีเป็นประเทศในยูโรโซนที่ “มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะถูกเทขายอย่างไม่สัมพันธ์กันในตลาดพันธบัตรรัฐบาล”
รัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรี Giorgia Meloni ได้กำหนดงบประมาณสำหรับการขาดดุลการคลังของประเทศให้ลดลงจากร้อยละ 5.6 ของ GDP ในปี 2022 เป็นร้อยละ 4.5 ​​ในปี 2023 และร้อยละ 3 ในปี 2024
โดยหนี้สาธารณะของอิตาลียังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีหนี้สูงที่สุดในยุโรป
ซึ่งอิตาลีมีหนี้สาธารณะราว ๆ 145% ของ GDP และหากอ้างอิงจากข้อมูลของ CEIC จะพบว่าในเดือนกันยายน 2022 อิตาลีมีหนี้สาธารณะอยู่ที่ 147.2 %
Marco Valli หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร UniCredit ของอิตาลีกล่าวว่า ความต้องการรีไฟแนนซ์หนี้ที่สูงขึ้น ของประเทศและสถานการณ์ทางการเมืองที่ อาจยุ่งยาก
ทำให้อิตาลีมีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะถูกเทขายในตลาดตราสารหนี้
ต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อฤดูร้อนที่แล้ว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือ 4.6% ในสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าจากปีที่แล้ว และสูงกว่าอัตราผลตอบแทนเทียบเท่าของพันธบัตรเยอรมัน 2.1%
รัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีได้ให้เหตุผลบางประการแก่นักลงทุนที่จะต้องกังวลในตอนนี้ ว่า ความกังวลอาจปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อเศรษฐกิจประเทศเติบโตช้าลง และ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และการออกตราสารหนี้ จะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
โดยเฉลี่ยแล้วมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ ECB จะสูงสุดที่ประมาณ 3%
ซึ่งต่ำกว่าระดับที่นักลงทุนกำลังเดิมพันกันไว้
ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางทั่วโลกต่างปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่ได้พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษในหลายประเทศ
เนื่องจากราคาพลังงานและอาหารพุ่งสูงขึ้นหลังการรุกรานยูเครนของรัสเซีย และยกเลิกมาตรการปิดเมืองจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
อย่างไรก็ตาม ก็มีความกังวลใจว่า การตัดสินใจของ ECB นั้นช้ากว่าธนาคารกลางในโลกตะวันตกหลายแห่งในการเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย
โดยในช่วงปีที่แล้ว ECB ได้ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจากเดิม -0.5% เป็น 2% ภายใน 6 เดือน
Jesper Rangvid ศาสตราจารย์ด้านการเงินของ Copenhagen Business School กล่าวว่า “ECB ช้าเกินไป ในการ ตระหนักว่าอัตราเงินเฟ้อไม่ได้เกิดขึ้นชั่วคราว แต่ตอนนี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลัวว่า ECB จะไม่เข้มงวดเพียงพอเนื่องจากปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอิตาลี”
ในขณะเดียวกัน ECB มีกำหนดจะเริ่มลดพอร์ตพันธบัตรมูลค่า 5 ล้านล้านยูโร ลง 1.5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม
ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้ ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีเพิ่มสูงขึ้นไปอีก
และ ยูโรโซนเสี่ยงที่ตลาดตราสารหนี้จะล่มสลายซ้ำรอยในปี 2012
เนื่องจากความสามารถทางการคลังแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
ซึ่งรัฐมนตรีของอิตาลี ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ECB ว่ากล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกำลังจะเผาผลาญเงินออมหลายพันล้านของอิตาลีไป
นอกจากนี้ความเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดขึ้น คือ การที่อิตาลีมีหนี้สาธาณะที่สูง การขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น จำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนด้านพลังงานเพิ่มเติม ซึ่งสถานการณ์ในตอนนี้ทำให้ตลาดมีความกังวลอย่างมาก และหากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยมากกว่าที่ได้มีการคาดการณ์กันไว้
อาจทำให้ประเทศที่ขาดดุลสูงและหนี้สูงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันมากยิ่งขึ้น
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
โฆษณา