10 ม.ค. 2023 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“คนไทย” ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
“คนไทย” ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ค่าใช่จ่ายเพิ่มขึ้นทุกรายการ สะท้อนถึงค่าใช่จ่ายที่ประชาชนจ่ายเพิ่มสวนทางกับรายได้ที่ยังเท่าเดิม
ขึ้นปีใหม่เจอค่าครองชีพที่ยังสูงต่อเนื่อง ซึ่งพักหลังๆจะเริ่มเห็นคนพูดถึงเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น ราคาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆมีราคาสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของเราเองยังเท่าเดิม ทำให้รู้สึกว่าซื้อของได้น้อยลงแต่จ่ายเพิ่มขึ้น
“เงินเฟ้อ”คือค่าดัชนีชี้วัด ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตาม อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย ปี2565 เงินเฟ้อไทยสูงขึ้น6.06% แม้ว่าจะใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่6% แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ อิตาลี อินเดีย ลาว ฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่สิงคโปร์
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอื่นๆที่ไม่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น3.87% ตามด้วยราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่สูงขึ้น14.62% โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ่าและก๊าชหุงต้ม จนไปถึงค่าโดยสารสาธารณะที่ปรับขึ้น
ส่วนสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 8.87% โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น9.66% ไม่ว่าจะเป็นข้าวราดแกง อาหารเช่า ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่ปรับขึ้นตามราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต รวมทั้งเนื้อสัตว์ ข้าวสาร ไข่ไก่ ราคาถือว่าสูงกว่าเดือนเดียวกันของปี2564 ตามความต้องการของในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ
เรามาดูกันว่า ในเดือนธ.ค.2565 มีค่าใช่จ่ายอะไรบ้างที่คนไทยต้องจ่าย
* ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัทย์มือถือ 4,202 บาท
* ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 4,018 บาท
* เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,763 บาท
* อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,627บาท
* อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,248บาท
* ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล 978 บาท
* ผักและผลไม้ 1,034 บาท
* ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 760 บาท
* ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 678 บาท
* เครื่องปรุงอาหาร 430 บาท
* เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 396 บาท
* ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 375บาท
* ไข่และผลิตภัณฑ์นม 385บาท
* ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 240 บาท
1
ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ58.30% โดย ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 23.17% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ22.15% ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ41.70% โดย เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง9.72% รองลงมาเป็นอาหารบริโภคในบ้าน 8.97% และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.88% เป็นต้น
เห็นค่าครองชีพที่ยังสูงต่อเนื่องแบบนี้ คนไทยคงต้องรัดเข็มขัดกันไปอีกหลายปี แม้ว่าแนวโน้มเงินเฟ้อในประเทศจะเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นก็ตาม
โฆษณา