Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MONEY LAB
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
10 ม.ค. 2023 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก Value Averaging วิธีการลงทุน ที่ช่วยให้เรา ซื้อถูกขายแพง
การซื้อหุ้นที่ราคาต่ำ แล้วไปขายที่ราคาสูง ถือเป็นความฝันของนักลงทุนหลาย ๆ คน
4
ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องง่าย แต่การซื้อหุ้นที่ราคาต่ำ แล้วไปขายในราคาสูงให้สม่ำเสมอ จนมีกำไรอย่างยั่งยืน กลับทำได้ยากกว่าที่คิด โดยเฉพาะนักลงทุนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเก็งกำไรมาก่อน
หรือต่อให้ทำได้อย่างสม่ำเสมอแล้ว แต่พอเห็นราคาหุ้นยังคงเพิ่มขึ้นสูงกว่าจุดที่เราขาย ก็อาจทำให้เราอารมณ์เสียได้
แต่รู้หรือไม่ว่า มีการลงทุนอยู่วิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถ “ซื้อถูก ขายแพง” ได้ โดยที่ไม่ต้องเสียดายว่าหุ้นจะขึ้นต่อหลังจากที่เราขายไป
วิธีนี้เรียกว่า Value Averaging หรือเรียกง่าย ๆ ว่า VA
โดยวิธีการลงทุนแบบนี้จะมีความคล้ายกับการลงทุนแบบ DCA เพียงแต่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
และถ้าหากคุณสงสัยว่าทำไมเป็นเช่นนี้ ?
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
การลงทุนแบบ Value Averaging คือการกำหนดว่าในแต่ละเดือน เราควรมีหุ้นอยู่ในพอร์ตคิดเป็นมูลค่าเท่าไร
ซึ่งต่างจากการ DCA ตรงที่ DCA จะกำหนดจำนวนเงินที่เข้าซื้อหุ้นในแต่ละครั้งแบบเท่า ๆ กัน
ข้อดีของ VA คือ ถ้าราคาหุ้นขึ้นมา 10% เราก็จะใช้เงินซื้อหุ้นน้อยลง 10% เมื่อเทียบกับการใช้กลยุทธ์แบบ DCA ซึ่งกำหนดจำนวนเงินที่เท่า ๆ กัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำหนดให้มูลค่าหุ้นในพอร์ตเพิ่มขึ้นเดือนละ 5,000 บาท
1
เดือนแรกเราจ่ายเงินซื้อหุ้น A ไป 5,000 บาท เดือนต่อมาราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 10% มูลค่าหุ้นสุทธิในพอร์ตของเราก็จะมีมูลค่า 5,500 บาท
1
เราจะใช้เงินซื้อหุ้นในเดือนที่ 2 เพียง 4,500 บาท น้อยลงกว่าเดิม 500 บาท
1
ขณะที่การซื้อหุ้นแบบ DCA ไม่ว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นไปเท่าไร เราก็ยังคงต้องจ่ายเงินซื้อหุ้นในจำนวนที่เท่า ๆ กันไปทุกเดือน
และในทางกลับกัน หากราคาหุ้นลดลง 10% การใช้กลยุทธ์แบบ VA ก็จะทำให้เราต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น 10% เพื่อชดเชยมูลค่าที่หายไป จากการปรับตัวลงของราคาหุ้น
เมื่อเราสะสมหุ้นในพอร์ตจนมีมูลค่ามากพอ ในที่สุดแล้วเราจะมีโอกาสได้ปรับพอร์ตบ่อยขึ้น
ข้อดีอีกอย่างของการลงทุนแบบ VA ที่ต่างออกไปจาก DCA คือ การเปิดโอกาสให้เราสามารถขายหุ้นออกไป เมื่อราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น จนเกินมูลค่าที่กำหนดไว้
พูดง่าย ๆ คือ กลยุทธ์นี้ทำให้เรา “ซื้อราคาต่ำ ขายราคาสูง” ได้นั่นเอง แม้ว่าเราจะไม่มีความรู้เรื่องการเก็งกำไรเลยก็ตาม
ขณะเดียวกันก็ยังรักษาข้อดีของการลงทุนระยะยาว ด้วยการเหลือจำนวนหุ้นไว้ตามมูลค่าที่กำหนดไว้แต่แรกได้ต่อไป
แต่กลยุทธ์นี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีเสมอไป ยังมีข้อควรระวังอยู่ไม่น้อย หากต้องการใช้กลยุทธ์นี้
ข้อควรระวังแรก คือ เรื่องน้ำหนักการลงทุนที่อาจกระจุกตัวเกินไปในอนาคต เมื่อเราซื้อหุ้นเข้าไปทุก ๆ เดือน ติดต่อกันหลายปี
ดังนั้นเราก็ควรวางแผนว่าจะซื้อหุ้นตัวนี้ จนถึงมูลค่าเท่าไร เราถึงจะพอใจ และไม่ให้เงินส่วนใหญ่ของเรา กระจุกตัวอยู่ในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป
เมื่อหยุดซื้อแล้ว เราอาจจะมองหาหุ้นตัวใหม่ เพื่อกระจายความเสี่ยงต่อไป
หรืออีกวิธีหนึ่งในการป้องกันการถือหุ้นแบบกระจุกตัวมากเกินไป คือ การสลับซื้อหุ้นเดือนละตัว
เช่น เราอาจสร้างพอร์ตที่มีหุ้นอยู่ 3 ตัว และกำหนดว่าเดือนแรก ซื้อหุ้น A
เดือนที่ 2 ซื้อหุ้น B
เดือนที่ 3 ซื้อหุ้น C
เดือนที่ 4 ก็วนกลับมาซื้อหุ้น A ใหม่ และวนซื้อแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
1
แล้วถ้าถามว่าวิธีการนี้เหมาะกับใคร
ก็ต้องตอบว่า วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน ไม่ได้มีเงินเดือนมากพอที่จะซื้อหุ้นทั้ง 3 ตัวพร้อมกันทีเดียวทุกเดือน
นอกจากนี้ ข้อควรระวังที่ 2 คือ เรื่องปัจจัยพื้นฐานของหุ้นที่เราจะเข้าไปซื้อด้วยกลยุทธ์ VA
หากหุ้นตัวนั้นมีปัจจัยพื้นฐานไม่ดี ราคาหุ้นเป็นขาลงตลอด การไปซื้อหุ้นถัวเฉลี่ยไม่ว่าจะด้วยหลักการ VA หรือ DCA ก็คงไม่ได้กำไร
และข้อควรระวังสุดท้าย คือ วินัยในการเก็บออมของเรา
แม้บางเดือนราคาหุ้นจะขึ้นมาเยอะ จนเราไม่ต้องใช้เงินเก็บของตัวเองในการซื้อหุ้น
แต่ก็จะมีบางเดือนที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง จนอาจต้องใช้เงินเก็บในการเข้าไปซื้อมากกว่าปกติ
โดยหนึ่งในสาเหตุที่นักลงทุนหลายคนใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ VA ไม่ประสบผลสำเร็จ ก็เพราะเมื่อตลาดเป็นขาขึ้น ก็ใช้เงินที่เก็บมาได้มาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย จนเมื่อช่วงตลาดขาลง ก็มีเงินไม่เพียงพอที่จะซื้อหุ้นที่ราคาต่ำ
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์นี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนแบบ DCA ปกติก็จริง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยวินัยในการเก็บเงินของนักลงทุนด้วยเช่นกัน..
References:
-
https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/262-dca-or-va
-
https://www.youtube.com/watch?v=R9WfjGOis-c
-
https://youtu.be/noH1QxWCDyg
การเงิน
การลงทุน
หุ้น
19 บันทึก
27
16
19
27
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย