10 ม.ค. 2023 เวลา 00:26 • ความคิดเห็น
เมื่อเรามักประเมินค่าความพยายามของตัวเองอย่างไรเหตุผล
ว่ากันว่า คนเรามักหลงรักไอเดียตัวเอง มากกว่าคนอื่น และมิหนำซ้ำ ยังตีคุณค่าในสิ่งที่ทำด้วยตัวเอง มากเกินความเป็นจริง
ในการศึกษา ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2011 แดน​ อาเรียลีย์​ ไมเคิล​ นอร์ตันและ​ แดเนียล​ โมซอน
ได้ศึกษาถึงผลกระทบของความทุ่มเทที่มีต่อวิธีที่ผู้คนประเมินค่าสิ่งต่างๆ
โดยการให้นักศึกษาจำนวนหนึ่งในสหรัฐพับกระดาษเป็นรูปนกหรือกบและหลังจากพับเสร็จแล้วพวกเขาถูกขอให้จ่ายเงินเพื่อซื้อผลงานตัวเองโดยเสนอราคาได้มากสุด 1 ดอลลาร์
ผู้พับกระดาษที่เป็นนักศึกษาได้รับแจ้งว่าจะมีการสุ่มตัวเลขระหว่าง 0 ถึง 100 เซนต์​ (คิดง่ายๆเหมือน​ 100 สตางค์​ตามค่าเงินบาท)​ หากว่าตัวเลขนั้นเกินราคาตั้งต้นของพวกเขาพวกเขาก็จะต้องกลับบ้านมือเปล่าแต่ถ้าตัวเลขนั้นเท่ากันหรือว่าน้อยกว่าราคาเสนอซื้อของพวกเขาพวกเขาจึงจะสามารถจ่ายเงินซื้อตามราคาที่เสนอมา​ และได้ผลงานกลับไป
ความจริงก็คือตัวเลขที่บอกว่าสุ่มนั้นไม่ใช่มาจากการสุ่มจริงๆครับแต่มาจากนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งด้วยกันซึ่งเป็นกลุ่มที่ 2
กลุ่มที่ 2 มีหน้าที่ประเมินราคากระดาษที่ถูกพับจากผู้ที่เชี่ยวชาญ​การพับกระดาษ​ กับกระดาษ​ที่่ถูก​พับจากนักศึกษา​กลุ่ม​แรก
ผลปรากฏว่านักศึกษากลุ่มแรกที่พับกระดาษด้วยตัวเองประเมิน ราคาของฝีมือตัวเองเอาไว้สูงมากถึง 5 เท่าจากราคาที่นักศึกษากลุ่มที่ 2 ประเมินและเกือบจะเทียบเท่าฝีมือของผู้เชี่ยวชาญ​ ทางด้านการพับกระดาษ
1
ผลจากการทดลองนี้ทำให้รู้ว่าคนที่ลงแรงจะประเมินคุณค่าของผลงานตัวเองสูงกว่าเพราะว่าพวกเขาเป็นคนลงมือทำ​ อาเรียลีย์​ จึงเรียกสิ่งนี้ว่า IKEA Effect
สาเหตุที่เรียกว่า​ IKEA Effects คนั้นก็เป็นเพราะว่าเฟอร์นิเจอร์ของ Ikea เวลาซื้อมาลูกค้าจะต้องเป็นผู้ทำการประกอบเอง นั่นจึงทำให้ลูกค้าที่ซื้อเฟอร์นิเจอร์ของอีเกียไปเกิดความรักอย่างไร้เหตุผลกับเฟอร์นิเจอร์ที่ตัวเองเป็นคนประกอบขึ้นมา
ไม่แปลกเลยที่คนเราจะรักในสิ่งที่ตัวเองได้ริเริ่ม หรือได้ลงแรงไปกับมัน เพราะเมื่อเราได้ทุ่มเทไปกับมันแล้ว อีกใจนึงก็จะมีนึกเสียดาย หากที่จะต้องทอดทิ้งมันไป
เราเลยเลือกที่จะให้คุณค่าในสิ่งนั้นๆ และแน่นอนว่า เมื่อเป็นแบบนั้น จะยิ่งทำให้เรายึดติด และไม่กล้าเปิดรับในสิ่งใหม่ๆ ในที่สุด
อย่าให้ความคิดแบบนี้กลายมาเป็นกรอบ และสุดท้าย ก็ขังตัวตนกับจินตนาการของตัวเองเอาไว้แบบนั้น
โฆษณา