9 ม.ค. 2023 เวลา 19:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สภาพัฒน์ มองว่า ปีนี้สัดส่วน GDP ต่อการท่องเที่ยวน่าจะเพิ่มขึ้น โดยก่อนหน้านี้สภาพัฒน์เคยคาดการณ์ GDP ปี 66
3-4% จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ราว 23 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมการท่องเที่ยวในประเทศ และเป็น การคาดการณ์ก่อนที่ประเทศจีนจะประกาศเปิดประเทศ
สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญของทั้งปีนี้ และปีหน้า ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี หลายคนอาจเป็นห่วงเรื่องที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก
โดยสภาพัฒน์มองว่า การที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาตรการเพื่อใช้กับนักท่องเที่ยวทุกประเทศ และมีการสอดรับกับมาตรการของประเทศต้นทาง ประกอบกับคนไทยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปกว่า 70% แล้วนั้น เชื่อว่าสามารถคลายกังวลเรื่องนักท่องเที่ยวได้ ขณะเดียวกัน ประชาชนยังต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังด้วย
ในปี 66 สภาพัฒน์ คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศปี 66 ไว้ที่ 23 ล้านคน แต่ทั้งนี้ เป็นการคาดการณ์ก่อนที่ประเทศจีนจะประกาศเปิดประเทศ ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่านักท่องเที่ยวจีนจะเข้าไทยประมาณครึ่งปีหลังเป็นต้นไป แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ไทยเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.นั้น จะต้องมีการติดตามสถานการณ์ในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังจากนี้อีกครั้ง
นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ได้มีการคาดการณ์เรื่องการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ล่าช้าไว้อยู่แล้ว งบประมาณปี 2566 จึงได้วางไว้แบบขาดดุลที่ 6.9 แสนล้านบาท เป็นการขาดดุลต่อเนื่องเพื่อช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้สาธารณะในปัจจุบันอยู่ที่ 60% ของ GDP
เนื่องจากรัฐกู้เงินพิเศษมาดูแลสถานการณ์โควิด ในปี 63 กู้ 1 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 97% ส่วนปี 64 กู้ 5 แสนล้าน เบิกจ่ายแล้ว 93% โดยหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาท และเป็นหนี้ระยะยาว ซึ่งยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังไม่เกิน 70% ของจีดีพี สะท้อนว่าฐานะทางการคลังยังอยู่ในเกณฑ์ดี
แรงกระตุ้นภาครัฐจะเริ่มจำกัด หลังการอัดฉีดเพื่อดูแลสถานการณ์โควิดในช่วง 2 ปีก่อนหน้า แต่กระทรวงการคลังยังคาดว่า GDP ไทยปี 66 จะขยายตัวได้ 3.8% ด้วยตัวแปรสำคัญคือ การท่องเที่ยวมาช่วยชดเชยการส่งออกสินค้า นับเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่เศรษฐกิจปีหน้าจะโตได้กว่าปีนี้ อีกทั้งสถาบันจัดอันดับเรตติ้งชั้นนำของโลก ยังคงจัดอันดับประเทศไทยอยู่ในระดับ Investment grade สะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติมองฐานะทางเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่
ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. ระบุว่า ธปท.ประเมินแล้วว่า เศรษฐกิจกำลังเป็นขาขึ้น รายได้ของประชาชนเริ่มดีขึ้นตามไปด้วย การปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปมีความจำเป็น เพื่อดูแลเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าให้ไม่สูงมากนัก เพราะหากเงินเฟ้อพุ่งสูงเกินไป จะเป็นภาระต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่หนักมากกว่าปัญหาภาระหนี้หลายเท่า
แนวโน้มการปรับขึ้นค่าจ้างในอนาคต ไม่น่ากระทบกับเสถียรภาพทางเงินเฟ้อมากนัก เนื่องจากต้นทุนค่าแรงคิดเป็นประมาณ 15% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานที่ได้รับค่าจ้างในระบบอยู่ที่ 44% ของแรงงานทั้งหมด อีกมากกว่าครึ่ง ไม่ได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าจ้างแรงงาน เช่น กลุ่มเกษตรกร หรือผู้ประกอบการอิสระ หากใช้วิธีการคำนวณทางเศรษฐมิติ จะพบว่าค่าจ้างที่ขึ้น 1% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับขึ้นเพียง 0.04%-IQ
โฆษณา