16 ม.ค. 2023 เวลา 07:41 • ธุรกิจ

ทำไม "ควบรวมกิจการ" เป็นกลยุทธ์ที่ทั่วโลกให้ความนิยม

หลังสถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลาย เศรษฐกิจและธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก เริ่มที่ผ่อนคลายร่วมถึงทบทวนปรับตัวมากขึ้นด้วย เห็นได้ชัดเจนคือ ธุรกิจขนาดใหญ่เริ่มโตช้าลงมากจากธุรกิจเดิมของบริษัทที่ทำอยู่ จึงได้ปรากฎการณ์ “ควบรวมกิจการ” ทั่วโลก ถือเป็นวิธีการขยายธุรกิจให้เติบโตในช่วงวิกฤต เช่นนี้
จึงขอสรุป 5 ข้อ ของการควบรวมกิจการ จะสร้างผลดีของการเติบโต และประโยชน์ต่อลูกค้า ร่วมถึงคู่ค้าได้อย่างยั่งยืน คือ
1. สร้างมูลค่าของกิจการจะเพิ่มสูงมากขึ้น
2. สร้างเสริมต้นทุนให้แข็งแกร่ง เพิ่มศักยภาพการลงทุน ร่วมถึงลดต้นทุนปฏิบัติงาน
3. สร้างโอกาสทางการเงิน เกิดการลงทุนใหม่ๆ อยู่เสมอ มีความน่าสนใจลงทุนเกิดขึ้น
4. สร้างความแข็งแกร่งให้กลุ่มเครือข่ายและคู่ค้า ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน ตามเป้าหมายที่วางไว้
5. สร้างโอกาสสร้างสิ่งใหม่ สินค้าและบริการ สร้างสรรค์จากสิ่งใหม่ รวมตัวกันนำข้อดีทั้ง 2 ส่งมอบประสบการณ์ที่ดี มีคุณภาพให้กับลูกค้าได้เข้มข้นมากขึ้น
สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นจริงจาก 5 ข้อการควบรวมกิจการ เหมือนเช่น ทรูและดีแทค ธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทย ร่วมมือบริหารด้วยกัน ภายใต้บ้านใหม่ คือ ‘บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)’ โดยทางเครือซีพี และเทเลนอร์ ถือหุ้นฝั่งละประมาณ 30% ปรับโครงสร้างภายในองค์กรของทั้ง 2 ในสัดส่วนที่เท่ากัน เป็น Equal Partnership ในหลักการตลาด
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชื่อ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น มีธุรกิจและการให้บริการเป็นที่รู้จักหลากหลายมากกว่า ทั้งธุรกิจโมบายล์ บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และบริการดิจิทัล
ขณะที่เมื่อเทียบกับ โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ซึ่งประกอบธุรกิจด้านโมบายล์ในแบรนด์ดีแทคเท่านั้น จึงไม่แปลกที่ฝ่ายบริหารทั้งสองจะเลือกใช้ชื่อ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นชื่อบริษัทที่จะจดทะเบียนขึ้นมาใหม่หลังการควบรวมสำเร็จ
ยังคงการทำตลาดแยกแบรนด์ทรู และดีแทค คาดแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ตามกำหนดการที่วางไว้ และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริษัทของแบรนด์ “ดีแทค” เปลื่ยนชื่อบริษัท เพราะก่อนที่จะเป็น โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น แบรนด์ดีแทคเคยอยุ่ภายใต้ Ucom ของผู้ถือหุ้นใหญ่ตระกูลเบญจรงคกุลด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันได้ขายหุ้นให้กับโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) แล้ว
สำหรับการให้บริการของแบรนด์ดีแทคและทรู จะยังแยกกันให้บริการลูกค้าของตนเองเหมือนเช่นเดิม แต่สิ่งที่เพิ่มของทั้ง 2 ค่าย คือ ทางเลือกที่หลากหลายสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น นำจุดแข็งของทั้ง 2 แบรนด์มารวมกัน เกิดบริการใหม่ให้ลูกค้าทั้ง 2 ค่าย กลายเป็นประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มเป็นสองเท่านั้นเอง
Dtac ภายใต้บ้านหลังใหม่ ทรู คอร์ปอเรชั่น
• สัญญาณมือถือ 5G และ WiFi เพื่อลูกค้าดูหนัง แช็ต โซเชียล ประสบการณ์ใหม่กว่าเดิม
• สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม และเพิ่มช่องทางบริการให้ลูกค้าเพิ่มขึ้น
• แบรนด์ดีแทคคงเดิม เพิ่มเติมความแข็งแกร่งจากควบรวม
โฆษณา