17 ม.ค. 2023 เวลา 05:09 • ไลฟ์สไตล์

ปฏิทินร้อยปี 100ปี จันทรคติไทย พ.ศ.2566 - 2567

ปีเถาะ เริ่มตั้งแต่ วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 06:21น. เป็นต้นไป
เมษายน พ.ศ.2566 - มีนาคม พ.ศ.2567
ปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. 1384 - 1385 , ค.ศ. 2023 - 2024 , ม.ศ. 1945 - 1946 , ร.ศ. 242
สุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน , จันทรคติ เป็น อธิกมาส ปกติวาร
กาลโยค วันธงชัย : เสาร์ (7) , วันอธิบดี : พุธ (4) , วันอุบาทว์ : ศุกร์ (6) , วันโลกาวินาศ : ศุกร์ (6)
ปี พ.ศ.2566 เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทยเป็น ปีอธิกมาศ (เดือนแปดสองหน) ดังนั้นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เลื่อนไป 1 เดือน กล่าวคือ วันมาฆบูชา เลื่อนเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสี่(๔) , วันวิสาขบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนเจ็ด(๗) , วันอาสฬหบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) , วันเข้าพรรษาวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ส่วนวันออกพรรษาเหมือนเดิมคือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ...
หากไม่เลื่อนเดือน ระยะเวลาจำพรรษาไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย (วัสสูปนายิกาขันธกะ) ที่พระสงฆ์ต้องจำพรรษา 3 เดือน เพราะนับวันเข้าพรรษาจาก แรม ๑ ค่ำเดือนแปด(๘) รวมเดือนแปดหลัง(๘๘) อีก 1 เดือน จนถึงวันออกพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ระยะเวลารวม 4 เดือน
วัน [ว] ( 1 : อาทิตย์ , 2 : จันทร์ , 3 : อังคาร , 4 : พุธ , 5 : พฤหัสบดี , 6 : ศุกร์ , 7 : เสาร์ ) ข้างขึ้นข้างแรม [ข-ร] : (ข : ข้างขึ้น , ร : ข้างแรม) , เดือนจันทรคติไทย [ด] : ( 1 : เดือนอ้าย(๑) , 2 : เดือนยี่(๒) , 3 : เดือนสาม(๓) , 4 : เดือนสี่(๔) , 5 : เดือนห้า(๕) , 6 : เดือนหก(๖) , 7 : เดือนเจ็ด(๗) , 8 : เดือนแปด(๘) , 9 : เดือนเก้า(๙) , 10 : เดือนสิบ(๑๐) , 11 : เดือนสิบเอ็ด(๑๑) , 12 : เดือนสิบสอง(๑๒) ,
88 : เดือนแปดหลัง(๘๘) มีเฉพาะในปีอธิกมาส ) , ปกติมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ เดือนคู่ (๒, ๔, ๖, ๘, ๘๘, ๑๐, ๑๒) มีข้างขึ้นและข้างแรม 15 วัน เดือนคี่ (๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑) มีข้างขึ้น 15 วัน ส่วนข้างแรมมี 14 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 354 วัน),
ปกติมาส อธิกวาร : เป็นปีปกติ แต่เดือนเจ็ด(๗) มีข้างแรม 15 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 355 วัน) , อธิกมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ แต่เพิ่มเดือนแปดสองหน(๘๘) เพิ่มวัน 30 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 384 วัน) , ปกติสุรทิน รอบปีปฏิทินสุริยคติ 1 ปี มี 365 วัน (เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน) , อธิกสุรทิน รอบปีปฏิทินสุริยคติ 1 ปี มี 366 วัน (เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) , วันพระ : ขึ้น ๘ ค่ำ , ขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ) , แรม ๘ ค่ำ , แรม ๑๕ ค่ำ หากเดือนใดเป็นเดือนขาดหรือเดือนคี่ (๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑)
ให้ถือเอาแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันพระ , รอบวันทางจันทรคติไทย นับตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง หรือประมาณ เวลา 06:00น. ถึง 05:59น. (วันรุ่งขึ้น),
รูปแบบ ปฏิทินร้อยปีชุดนี้ใช้รูปแบบแสดงตามปฏิทินร้อยปีที่ตีพิมพ์แบบเดิม วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ดังนั้นปฏิทินแต่ละปี เริ่มที่เดือนเมษายน เปรียบเทียบปฏิทินสุริยคติปัจจุบัน ขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม ปฏิทินแสดงเดือนคร่อมระหว่างปี
ประกาศสงกรานต์ พ.ศ.2566/จ.ศ.1385
พุทธศักราช 2566 จ.ศ. 1385 ร.ศ. 242
ปีเถาะ [1] เบญจศก จันทรคติเป็น อธิกมาส ปกติวาร สุริยคติเป็น ปกติสุรทิน
วันเถลิงศก
วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ.2566 เวลา 20:02:24น.[ก]
มาสเกณฑ์: 17130
หรคุณ: 505884
อุจจพล: 1071
วาร: 1
อวมาน: 310
กัมมัชพล: 132
ดิถี: 26
วันมหาสงกรานต์
วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2566 เวลา 16:04:48น.
กาลโยค พ.ศ.2566/จ.ศ.1385
วาร (วัน) กาลโยค [ค]
ธงชัย: เสาร์ (7)
อธิบดี: พุธ (4)
อุบาทว์/อุบาสน: ศุกร์ (6)
โลกาวินาศ: ศุกร์ (6)
ยาม (เวลา) กาลโยค [ค]
ธงชัย
: 12:00-13:30 , 00:00-01:30 (5)
อธิบดี
: 12:00-13:30 , 00:00-01:30 (5)
อุบาทว์/อุบาสน
: 10:30-12:00 , 22:30-24:00 (4)
โลกาวินาศ
: 06:00-07:30 , 18:00-19:30 (1)
กาลโยค พ.ศ.2566/จ.ศ.1385
วาร (วัน) กาลโยค [ค]
ธงชัย: เสาร์ (7)
อธิบดี: พุธ (4)
อุบาทว์/อุบาสน: ศุกร์ (6)
โลกาวินาศ: ศุกร์ (6)
ยาม (เวลา) กาลโยค [ค]
ธงชัย
: 12:00-13:30 , 00:00-01:30 (5)
อธิบดี
: 12:00-13:30 , 00:00-01:30 (5)
อุบาทว์/อุบาสน
: 10:30-12:00 , 22:30-24:00 (4)
โลกาวินาศ
: 06:00-07:30 , 18:00-19:30 (1)
ก. เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC:+06:42) เทียบเวลามาตรฐานปัจจุบัน (UTC:+07:00) ให้บวกเพิ่ม 18 นาที
ข. วันมหาสงกรานต์ คำนวณวิธีพิชัยสงคราม ดาวย้ายราศีแบบ 0 พิลิปดา
ค. กาลโยค เริ่มใช้หลังจากวันเวลาเถลิงศก วันเวลาก่อนหน้านี้ใช้กาลโยค พ.ศ.2565
วันมหาสงกรานต์
วันมหาสงกรานต์ ตรงกับ วันศุกร์ที่ 14 เมษายน เวลา 16 นาฬิกา 4 นาที 48 วินาที [2]
จันทรคติ ตรงกับ วันศุกร์ แรม ๙ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ
นางสงกรานต์ นาม กิมิทาเทวี ทรงนั่งเหนือมหิงส์
ในปีนี้ นางสงกรานต์นามว่า นางกิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี (บัวชนิดหนึ่ง) อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ
พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่ง มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ) เป็นพาหนะ
นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ กล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)
นางสงกรานต์ มีทั้งหมด 7 พระองค์ นั้นเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1 ในทั้งหมด 6 ชั้น มีชื่อต่างๆดังนี้
1. นางสงกรานต์ทุงษเทวี
2. นางสงกรานต์โคราดเทวี
3. นางสงกรานต์รากษสเทวี
4. นางสงกรานต์มัณฑาเทวี
5. นางสงกรานต์กิริณีเทวี
6. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
7. นางสงกรานต์มโหทรเทวี
เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ จันทร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า
ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า
เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีกันย์ ชื่อปฐวี (ธาตุดิน) น้ำอุดมสมบูรณ์ดี
เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีนี้ นาคราชให้น้ำ 2 ตัว ทำนายว่า ฝนกลางปีอุดม
เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในนา จะได้ 10 ส่วน เสียเพียงส่วนเดียว ธัญญาหาร มังสาหารบริบูรณ์ ประชาชนทั้งหลายจะอยู่เย็นเป็นสุขฯ
วันเถลิงศก ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน เวลา 20 นาฬิกา 2 นาที 24 วินาที [3]
จันทรคติ ตรงกับ วันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ
วันเวลามหาสงกรานต์ และวันเวลาเถลิงศก คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์ เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42)
[1] เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ ปีเถาะ ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตรงกับวันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 06:21น.
[2] คำนวณวันเวลามหาสงกรานต์
เวลามหาสงกรานต์ 16:04:48น. เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) ตรงกับ 16:22:48น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00)
[3] เวลาเถลิงศก 20:02:24น. เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) ตรงกับ 20:20:24น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00)
[4] วันเนา ตรงกับ วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ.2566
[5] วันเวลายกเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา
[6] กาลโยค จุลศักราช 1385 เริ่มใช้หลังจากวันเวลาเถลิงศก เป็นต้นไป
[7] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชดำริให้ใช้ กาลโยค "อุบาสน" แทน "อุบาทว์"
[8] คำทำนายนางสงกรานต์ และคำทำนายเกณฑ์ต่าง ๆ จากตำราพรหมชาติ ตำราโหราศาสตร์ไทย
คำทำนายเกณฑ์นาคให้น้ำ
Cr: ปฎิทิน 100 ปี และวันประกาศสงกรานต์
กรมศิลปากร
สมาคมโหรแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
มายโหรา
Google
Hello Thailand
โฆษณา