19 ม.ค. 2023 เวลา 05:55 • การเกษตร

การปลูกข้าวแบบ เปียกสลับแห้งและยังขายคาร์บอนเคดิตได้รายได้เพิ่มขึ้นอีกทาง

เมื่อไม่กี่มาวันนี้ได้มีทางด้าน นายเสมอกัน เที่ยงธรรม ส.ส.สุพรรณบุรี เขต 4 พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ออกมาแนะนำความรู้ให้กับชาวนาภายหลังจากได้ลงพื้นที่พูดคุยกับชาวนา ได้ข้อมูลมาว่า การปลูกข้าวตอนนี้ก็มีการรณรงค์ให้ทำการปลูกแบบ เปียกสลับแห้งกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเท่าที่ไปคุยกับชาวนามา การทำเปียกสลับแห้ง อาจจะต้องขยันและลงแรงมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ได้บอกว่า ผลที่ได้ค่อนข้างคุ้มค่า ได้ปริมาณข้าวที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าใครนำดินไปวิเคราะห์ก่อนทำนา ก็ทำให้ใส่ปุ๋ยน้อยลงด้วย ประหยัดต้นทุนลงไปอีกตั้งมาก
โดยได้มีการหยิบยกรายงานข่าวข้อมูลจาก “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สัมภาษณ์กรมการข้าว เผยว่า ล่าสุดมี บริษัท Spiro Carbon ที่เป็นองค์กรสัญชาติอเมริกัน เข้ามาดำเนินการเรื่องคาร์บอนเครดิตให้กับชาวนาและเกษตรกรที่ปลูกผลิตผลต่างๆ ให้สามารถซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้โดยตรง หลังจากที่ภาครัฐได้ส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องคาร์บอนเครดิตในภาคการเกษตรโดยบริษัทจะรับซื้อคาร์บอนเครดิตจากชาวนา ให้ราคาตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าละ 400 บาท
โดยมีเงื่อนไขคือเกษตรกรต้องทำนาแบบเปียกสลับแห้ง โดยปล่อยน้ำในการทำนาให้แห้ง 2 ครั้ง เพราะการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง จะลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่เป็นตัวการสร้างภาวะโลกร้อนจากผืนนา ได้กว่า 55% และยังช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ได้อีก 20% ด้วย โดยทางบริษัท จะโอนเงินให้ทันทีจากการใช้เทคโนโลยีจานดาวเทียมเฉพาะ ตรวจสอบพื้นที่ที่ได้ลงทะเบียนกับ Spiro Carbon โดยตรวจจับพืชผลที่มีแสงแตกต่างกันออกไป พร้อมแสดงข้อมูลพิสูจน์ว่า ที่นาผืนนี้มีการทำ
นาแบบเปียกสลับแห้งจริงไหม และลดก๊าซมีเทนไปได้ในปริมาณเท่าใด และตอนนี้ มีพี่น้องชาวนาที่อ.เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ขายคาร์บอนเครดิตได้แล้ว 2 ราย รายละ 10 ไร่ สร้างรายได้ประมาณ 8,000 กว่าบาทต่อราย มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 9,000 ไร่อีกด้วย ซึ่งเมื่อเรื่องนี้ได้แพร่ออกไปก็มีทางด้านชาวนาอีกหลายอำเภอได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากและพร้อมเข้าร่วมโครงการนี้แล้วเพื่อเพิ่มรายได้ให้ดีกว่าเดิมมากขึ้น นายเสมอกัน เที่ยงธรรมได้ให้ข้อมูลไว้
สำหรับการปลูกข้าวแบบ เปียก สลับแห้งนั้น ยังคงมีชาวนาอีกหลายท่านไม่ทราบว่าวิธีการเป็นอย่างไร ขออธิบายง่ายๆ ให้เข้าใจตามนี้
สำหรับเทคนิคเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว คือการปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรง ระบบรากหยั่งลึก แผ่กระจายลงไปในดินเพื่อหาน้ำ แถมช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง และลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วยวิธีการ ดังนี้
สำหรับการปลูกข้าวแบบ เปียก สลับแห้งนั้น ยังคงมีชาวนาอีกหลายท่านไม่ทราบว่าวิธีการเป็นอย่างไร ขออธิบายง่ายๆ ให้เข้าใจตามนี้
สำหรับเทคนิคเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว คือการปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรง ระบบรากหยั่งลึก แผ่กระจายลงไปในดินเพื่อหาน้ำ แถมช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง และลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วยวิธีการ ดังนี้
1. เตรียมดินปลูกข้าว
สำหรับนาหว่าน ด้วยวิธีปกติ ระบายน้ำออกจากนาให้หมด แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เตรียมไว้ให้สม่ำเสมอ ข้าวอายุ 1 วันให้ฉีดยาคุม
สำหรับนาปักดำ ขณะปักดำข้าวให้ใช้น้ำน้อย แต่ให้มากพอที่จำทำให้ดินเป็นโคลน เพื่อที่จะสามารถปักดำข้าวได้
2. เมื่อข้าวอายุประมาณ 10-12 วันให้พ่นสารกำจัดวัชพืช และเพิ่มระดับน้ำในนาประมาณ 3-5 ซม. ขังนาน 3 วัน
3. ใส่ปุ๋ยครั้งแรกด้วยปุ๋ยเคมีเร่งการเจริญเติบโต ทางใบและลำต้น อัตรา 30-35 กิโลกรัม/ไร่
4. แล้วรักษาระดับน้ำท่วมผิวดินขังน้ำไว้จนกระทั่งน้ำแห้งหากพบวัชพืชให้รีบกำจัดอีกครั้ง
5. ประมาณ 2 สัปดาห์น้ำในนาเริ่มแห้ง ดินเริ่มแตกระแหง ให้ระบายน้ำลงนาระดับ 3-5 ซม. ขังไว้จนกระทั่งน้ำแห้ง ให้น้ำแบบเปียกสลับแห้งจนกระทั่งข้าวอายุประมาณ 45-50 วัน หากพบวัชพืชต้องรีบกำจัดก่อนใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
6. เมื่อข้าวอยู่ในระยะแตกกอสูงสุด (อายุ 45-50 วัน) ให้เพิ่มระดับน้ำในนาสูง 5 ซม. ขังไว้นาน 3 วัน จนข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก (อายุ 50-55 วัน)
7. ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 ด้วยปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้น 7 วัน ให้เพิ่มระดับน้ำ 10 ซม. รักษาระดับน้ำจนข้าวออกดอกถึงระยะแป้งในเมล็ดเริ่มแข็ง (15-20 วัน หลังข้าวออกดอก)
8. หลังข้าวออกดอกแล้ว 20 วัน ระบายน้ำออกจากแปลงให้แห้งเพื่อเร่งการสุกแก่
สำหรับข้อดี คือ ข้าวจะไม่อวบน้ำ ต้นแข็งแรง แตกกอดี รากแตกใหม่มากขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดธาตุอาหาร
สามารถประหยัดน้ำในการทำนาได้ถึง 30-50%
ลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมถึงโรค และแมลงศัตรูอื่นๆ
ลดต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสูบน้ำ การใช้ปุ๋ย และสารเคมี
จุลินทรีย์สามารถใช้ออกซิเจนสำหรับการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับข้อควรระวัง
ทำได้ในพื้นที่ ที่ควบคุมน้ำได้
ไม่เหมาะกับดินทราย และดินเค็ม
ช่วงข้าวตั้งท้อง อย่าปล่อยให้น้ำแห้ง
ดินที่เหมาะ คือดินที่ ไม่เผาตอฟางข้าว
ส่วนอีกช่องทางหนึ่งคือ การขายคาร์บอนเครดิต ผ่านองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.
แต่ยังไม่เกิดความสะดวกสบายในการขายของเกษตรกร โดยจะให้เกษตรกรเมื่อได้ใบรับรองจากหน่วยงานที่รับรองแล้ว ทาง อบก.ก็จะติดประกาศขาย หากมีบริษัทใดสนใจมารับซื้อ ซึ่งราคาคาร์บอน ประกาศซื้อขายทุกวันเหมือนหุ้น ราคาขายแต่ละวันต่างกัน ขึ้นกับความพึงพอใจของเกษตรกรว่าจะขาย ณ วันใดก็จะได้ราคานั้น
โฆษณา