19 ม.ค. 2023 เวลา 11:03 • ประวัติศาสตร์

• ภาษีเต้านม

เรื่องราวของภาษีที่กดขี่และสร้างความอยุติธรรมให้กับสตรีอินเดีย
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ที่รัฐมหาราชาทราแวนคอร์ (Princely State of Travancore) ที่ตั้งอยู่ในรัฐเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดียในปัจจุบัน ได้มีการออกกฎหมายภาษีฉบับหนึ่งที่เรียกว่า 'มูลักคาราม' (Mulakkaram) หรือภาษีเต้านม
มูลักคารามคือการที่สตรีคนไหนต้องการที่จะปกปิดหน้าอกของตนเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ จะต้องเสียภาษีให้กับทางการ
2
โดยสตรีที่อยู่ในวรรณะล่างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ปกปิดหน้าอกเวลาอยู่ด้านนอก ดังนั้นสตรีในวรรณะล่างคนไหนอยากปกปิดหน้าอก ก็ต้องเสียภาษี
ซึ่งมันต้องข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสตรีในวรรณะสูง ที่จะได้รับอนุญาตให้สวมใส่ผ้าปกปิดหน้าอกหรือมูลักคาซา (Mulakkacha) ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด
1
“จุดประสงค์ของการเก็บภาษีเต้านม คือเพื่อรักษาโครงสร้างวรรณะและขนบประเพณี เสื้อผ้าถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรือง คนจนและคนวรรณะต่ำจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับมัน”
1
ด็อกเตอร์ซีบา เค. เอ็ม. (Sheeba K.M.) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสันสกฤตศรีศังกรราชยะ รัฐเกรละ ให้ความเห็นเกี่ยวกับมูลักคาราม
แน่นอนว่ามูลักคารามสร้างความไม่พอใจ จนนำไปสู่การต่อต้านจากสตรีในวรรณะล่าง โดยการต่อต้านครั้งสำคัญที่ส่งผลให้ภาษีนี้ถูกยกเลิกไป เกิดขึ้นในปี 1840 โดนหญิงที่มีชื่อว่า แนงเกลี (Nangeli)
แนงเกลีไม่พอใจกับมูลักคาราม เพราะมองว่าเป็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรม เธอจึงแสดงสัญลักษณ์ต่อต้าน โดยการใช้เคียวตัดหน้าอกทั้งสองข้างของเธอ ก่อนที่จะห่อด้วยใบต้นปาล์มส่งให้กับเจ้าหน้าที่เก็บภาษีประจำหมู่บ้าน
1
แนงเกลีตัดหน้าอกเพื่อประท้วงภาษีเต้านม
สุดท้ายแนงเกลีก็ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนสามีของแนงเกลีก็เสียใจและฆ่าตัวตายตาม ความตายของแนงเกลีได้ทำให้ภาษีมูลักคารามยกเลิกไปในที่สุด
*** References
• Innovate Tax. Mulakkaram:
The gruesome tale of India’s 19th-century Breast Tax. http://bitly.ws/z8KM
• Medium. Breast Tax — The Worst Tax Which Levied Ever. http://bitly.ws/z8KQ
#HistofunDeluxe
โฆษณา