20 ม.ค. 2023 เวลา 04:26 • ธุรกิจ

ชวนไปรู้จัก 'ChatGPT' ตัวช่วยสร้างสรรค์คอนเทนต์ 'เมื่อไดเดียตัน'

เหล่าคอนเเทนต์ครีเอเตอร์ต้องกรี๊ดดดด!! เมื่อโลกนี้มี AI ที่ฉลาด! มากความสามารถ! มาเป็นผู้ช่วยในการสร้างสรรค์งานคอนเทนต์ให้ปังยิ่งขึ้น!! 🤩
วันนี้แอดมินจะชวนไปทำความรู้จักกับ 'ChatGPT' แชตบอตที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ค่ะ ซึ่งเจ้า 'ChatGPT' สามารถตอบคำถามได้อย่างลื่นไหลในรูแบบของข้อความ (Text) ภาษาที่ใช้มีความเป็นธรรมชาติราวกับว่าเรากำลังคุยอยู่กับมนุษย์เลยทีเดียว แถมตอบคำถามได้สารพัดเหมือนมีจาร์วิสส่วนตัว
เจ้า AI แชทบอทตัวนี้สามารถทำได้หลากหลายมากๆ ตัวอย่างเช่น เขียน Code, วางแผนการเรียนการสอน, ทำ UI Designing ไปจนถึงปรึกษาปัญหาชีวิต พูดคุยในชีวิตประจำวันได้
นอกจากนี้ 'ChatGPT' ยังสามารถช่วยให้การทำ Content สำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์เป็นเรื่องง่ายมากขึ้น ซึ่งปกติแล้วกระบวนการในการผลิตคอนเทนต์อาจจะต้องใช้เวลาในการคิด หาไอเดีย และเตรียมข้อมูล แต่เจ้า ChatGPT สามารถช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้นได้ โดยการช่วยปรับปรุงกระบวนการสร้างเนื้อหา ยกระดับความเป็นมืออาชีพให้กับครีเอเตอร์มากขึ้นได้ ถ้าอยากรู้ว่าเจ้าแชทบอตนี้มีจะมีประโยชน์อะไร ในการช่วยสร้างสรรค์งานคอนเทนต์ได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
ChatGPT คืออะไร?
ChatGPT เป็นระบบแชทบอท (Chatbot) หนึ่งในรูปแบบของ “Generative AI” หรือ AI ที่ใช้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เปิดตัวให้ทดลองใช้งานครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2022 ที่ผ่านมา ถูกพัฒนาขึ้นโดย OpenAI ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft ที่ใช้ข้อมูลข้อความปริมาณมหาศาลในการพัฒนาเจ้า ChatGPT ตัวนี้ ว่ากันว่าเป็น AI ที่ฉลาดมาก สามารถสนทนาลื่นไหลไม่แพ้มนุษย์ และตอบคำถามที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วย
แต่เพราะยังเป็นแชทบอทที่กำลังพัฒนาอยู่ อาจจะยังมีข้อจำกัดของคำตอบอยู่ บางครั้งคำตอบที่ได้อาจฟังดูน่าเชื่อถือแต่อาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดค่ะ รวมถึงข้อจำกัดในเรื่องของภาษาตอนนี้ระบบรองรับภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดี แต่ภาษาไทยจะค่อยข้างเข้าใจยาก คำตอบที่ได้ยังมีความงงๆ ไม่ค่อยเสถียร
'ChatGPT' ช่วยครีเอเตอร์ ทำอะไรได้บ้าง?
1. ช่วยคิด หาไอเดียใหม่ๆ ในการทำคอนเทนต์ (Idea Generating)
ใช้ ChatGPT เพื่อช่วยหาไอเดียใหม่ ๆ โดยการตั้งคำถาม เช่น ‘Got any creative ideas for YouTube Content?’ : ทำคอนเทนต์อะไรดีบน YouTube’ เมื่อได้คำตอบแล้วเราอาจจะไม่ได้เอาคำตอบที่ได้ไม่ใช้โดยตรง แต่อาจจะเอามาใช้เป็นไอเดีย เอาข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอด บางทีเราอาจจะยังไม่เคยทำคอนเทนต์เกี่ยวกับเนื้อหานใบางหัวข้อที่เจ้า ChatGPT ตอบมาก็ได้ก็สามารถนำไอเดียที่ได้ไปลองทำคอนเทนต์ดูได้เลย
2. ถามความรู้ หรือช่วยรวบรวมข้อมูล (Researching)
นอกจากจะมี Google ที่เป็น Search engine ที่เราใช้ค้นคว้าหาข้อมูลที่อยากรู้เป็นประจำกันอยู่แล้ว แต่บางทีข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ละเอียด ต้องไปตามอ่านบทความใหม่ต่อไปเรื่อยๆ เราอาจจะมาลองถาม ChatGPT ดูก็ได้ เพราะChatGPT มีข้อมูลเยอะมาก เปรียบเสมือนผู้รู้ที่สามารถตอบคำถามได้ละเอียดมากขึ้น ช่วยขยายความอธิบายส่วนที่ไม่เข้าใจได้
แถมภาษาที่ตอบกลับมาก็เข้าใจง่ายอีกด้วย แต่ข้อจำกัดของ ChatGPT เกี่ยวกับข้อมูลก็ยังมีอยู่ เพราะเป็นชุดข้อมูลที่ไม่เกินปี 2021 เพราะฉะนั้น ChatGPT ก็อาจจะไม่รู้ข้อมูลที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ หรืออาจจะตอบข้อมูลเรียลไทม์ไม่ได้นั่นเอง
3. ช่วยเขียนสคริปต์ (Scripting)
ChatGPT สามารถเขียนสคริปต์ บทความ, เรื่องสั้น ไปจนถึงสามารถแต่งเพลงได้ด้วย ซึ่งครีเอเตอร์เองก็สามารถให้ ChatGPT เขียนสคริปต์เนื้อหาคอนเทนต์ให้ได้ โดยการใส่รายละเอียดว่าต้องการเขียนเกี่ยวกับอะไร เช่น ต้องการเขียนสคริปต์เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวแบบพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ก็ใส่ไปว่า ‘Create a script different concepts local travel in Chiang Mai’ เพียงเท่านี้ ก็จะได้สคริปต์รายการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทองเที่ยว และข้อมูลต่างๆ พร้อมทั้งบอกมุมกล้อง ลำดับการเล่าเรื่องให้ด้วย
ซึ่งเป็นอะไรที่เจ๋งมาก ๆ แถมยังช่วยประหยัดเวลาได้เยอะ ซึ่งเราอาจจะไม่ได้เอาสคริปต์ทั้งหมดมาพูด หรือมาทำเลย อาจจะเอามาดัดแปลง ใส่ความเป็นตัวตนของเราเพิ่มลงไปได้ เพื่อให้เป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น
4. ช่วยตั้งชื่อเรื่อง หรือหัวข้อที่โดนใจ
ChatGPT จะมีการเก็บสถิติคำถามคำตอบที่มีทั้งหมดบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างละเอียด มีการใช้ภาษาได้สละสลวยโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ดังนั้นก็จะช่วยคิดหัวข้อ ชื่อเรื่อง หรือแม้แต่ชื่อวิดีโอหน้าปกของ YouTube ได้ด้วย เผื่อว่าคิดคำไม่ออกว่าจะใช้คำว่าอะไรดี ก็ลองใช้ ChatGPT ช่วยนะนำแนวทางให้ได้
5. ช่วยเขียน Copy Writing / เขียนคำโฆษณาสินค้า/
เขียนแคปชั่นบนโซเชียลมีเดีย
นอกจากการเขียนบทความขนาดยาวแล้ว ChatGPT ยังสามารถเขียนข้อความบรรยายสรรพคุณสินค้า หรือบริการได้ด้วย ในส่วนของครีเอเตอร์ก็อาจจะใช้ ChatGPT ช่วยเขียนคำบรรยายใต้วิดีโอ (Descriptions) หรือแม้แต่การเขียน Copy Writing , แคปชั่น สำหรับโพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ ก็ทำได้
เช่นกัน โดยสามารถกำหนด “โทน” (Tone) ของการบรรยายได้ ไม่ว่าจะเป็นโทนสนุกสนาน ตลก หรือโทนจริงจังก็ทำได้หมดเลย รวมถึงในเชิงการตลาดอาจจะมีการใช้ SEO ในการสร้างคำอธิบายภาพ แฮชแท็ก และข้อมูลเมตาในรูปแบบอื่นๆ ให้ด้วย เรียกได้ว่าครอบคลุมสุดๆ ซึ่งครีเอเตอร์สามารถนำข้อความเหล่านี่มาปรับให้เป็นเอกลักษณ์มากขึ้นได้
สำหรับใครที่อยากจะทดลองใช้งาน ChatGPT ซึ่งตอนนี้เปิดให้ใช้งานได้ฟรี!! ก็กดเข้าไปที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
โฆษณา