เห็นข่าวผู้กำกับรุ่นเก๋าออกมาเรียกร้องขอให้คนช่วยดูหนัง

เพราะลงทุนไปหลายสิบล้าน ถ้าไม่ช่วยกัน ผมล้มละลายแน่!
เรื่องราวนี้น่าสนใจตรงที่สามารถนำมาเป็นกรณีศึกษา
สำหรับคนที่กำลังทำธุรกิจอยู่ได้ เพราะมีข้อผิดพลาดมากมาย
อยู่ในนั้น ที่เราน่าจะเรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยง
"อย่ายึดติดกับความสำเร็จเดิมๆว่าทำเหมือนเดิมจะสำเร็จอีก"
การเลือกเนื้อหามาทำหนัง เลือกเรื่องเก่าสุดคลาสสิค
ที่เคยประสบความสำเร็จเปรี้ยงปร้างในสมัยก่อนมาทำอีกครั้ง
แต่มันกลับทำให้หน้าหนังไม่น่าดู ไม่ได้ทำให้เกิดกระแสความสนใจได้
.
ถ้าเปรียบกับการทำธุรกิจก็เหมือนไปเอาความสำเร็จครั้งเก่า
กลับมาทำซ้ำอีกรอบ โดยไม่ดูให้ถี่ถ้วนว่าปัจจัยสำเร็จมันอยู่ตรงไหน
การถอดบทเรียนจากของเก่าเป็นสิ่งดี แต่อย่ายึดติดมากเกินไป
กับความสำเร็จเดิมๆ
=================
"ทำสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ ไม่ใช่ทำแต่สิ่งที่ตัวเองอยากทำ"
.
หลายคนชอบเป็นและมักจะเป็นโดยไม่รู้ตัว
คือชอบทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำ มากกว่าสิ่งที่ลูกค้าอยากได้
คืออยากจะทำอันนี้ เพราะชอบเป็นการส่วนตัว
หรือสนองนี๊ดตัวเองอะไรสักอย่าง
โดยไม่ดูตลาดเลยว่าคนเขาอยากได้หรือเปล่า
.
หนักไปกว่านั้นคือใช้คำว่าทำตามความฝัน
สุดท้ายเหมือนเอาเงินไปละเลงทิ้งเพื่อสนองความต้องการตัวเอง
อะไรที่ไม่มีตรรกะ ไม่มีเหตุผล ก็โยนไปว่า เอาน่า มันคือความฝัน!
.
================
"อย่าเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของทุกสิ่ง"
.
ผู้กำกับให้เหตุผลว่าโรงหนังไม่ให้รอบฉาย คนดูไม่ให้ความสนใจ
.
คือมองไปที่ปัจจัยภายนอก ไม่ใช่ที่ตัวสินค้าของตัวเอง
หลายคนที่ทำธุรกิจก็เป็นแบบนี้ คือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
ยึดถือเอาความคิดของตัวเองว่าถูกต้องเสมอ ไม่ปรับตัว
พอขายไม่ได้ก็โทษลูกค้า หาว่าลูกค้าไม่มีความรู้
ลูกค้าไม่รู้จักคิด ลูกค้าไม่ฉลาดเลือก
ที่เจอบ่อยสุดคือ โทษว่าคนชอบของถูก
คนไทยชอบของถูก คนเพชรฯชอบของถูก
.
จริงๆแล้วคนที่ไหนก็ชอบของถูกทั้งนั้นแหละ มันอยู่ที่เรา
ว่าจะทำยังไงให้เขารู้สึกว่าของเราถูกต่างหาก
.
แต่เราไม่ค่อยโทษตัวเอง แล้วปรับตัวกัน
ไปโทษลูกค้าแล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา
เพราะสุดท้ายก็คือขายไม่ได้อยู่ดี
.
เหมือนที่บอกโรงหนังไม่มีรอบฉายให้
จริงๆต้องเข้าใจว่าโรงหนังเขาก็ทำธุรกิจ
เขาก็ต้องประเมินทางที่ธุรกิจเขาไปได้เช่นกัน
หรือไปบอกว่าคนดูไม่ดู ลามไปถึงว่าไม่ช่วยกันสนับสนุนหนังไทย
จริงๆต้องย้อนมองว่าหนังเราน่าดูหรือไม่ โปรโมทเป็นยังไง
ในความเป็นจริงคนไทยก็ยังดูหนังไทยอยู่นะ
แค่เขาไม่ดูเรื่องของเรา ซึ่งก็นั่นแหละ
ที่เราควรกลับไปทำการบ้าน ว่าเพราะอะไร จะแก้อย่างไร
.
================
"อย่าพูดแต่เรื่องตัวเอง คนเขาไม่ได้อยากฟัง"
.
มีการเรียกร้องให้ช่วยกันหน่อย หนังเรื่องนี้ตั้งใจทำมาก
และลงทุนไปหลายสิบล้าน ถ้าไม่ช่วยกัน ต้องล้มละลายแน่ๆ
.
ต้องบอกว่าอันนี้เป็นการสื่อสารที่พูดแต่ในแง่มุมตัวเอง
ว่าตัวเองลงทุนอะไรบ้าง ยากลำบากแค่ไหน และจะเสียอะไร
แต่ไม่ได้พูดถึงด้านคนอื่นเลย ว่าเขาจะได้อะไร
หลายคนชอบบอกว่าสินค้าตัวนี้ผมตั้งใจทำมาก
อาหารจานนี้ทีเด็ดคือฉันตั้งใจทำสุดฝีมือ นั่นมันคือด้านของตัวเราเอง
เอาจริงๆใครๆร้านไหนๆเขาก็ตั้งใจทำกันทั้งนั้น
.
ต้องถามว่าสำหรับลูกค้าเราได้ให้อะไรเขาบ้าง
ลูกค้าสนใจตรงนั้นต่างหากว่าเขาได้รับอะไร
ต่อให้ไม่ตั้งใจทำมากแต่อาหารออกมาสะอาด อร่อย เขาก็ซื้ออยู่ดี
ดังนั้นการขอให้ช่วยไม่งั้นล้มละลาย อันนี้คือด้านตัวเองเต็มๆ
ว่ากันตรงๆคือถ้าเราล้มละลายไปแล้วคนอื่นเขาเดือดร้อนด้วยไหม
อันนี้มันด้านของเราล้วนๆ ความเดือดร้อนก็ของเราคนเดียว
.
ถ้าจะสื่อสารไปในมุมลูกค้า ต้องบอกว่าอยากให้มาดูกัน
เพราะไม่อยากให้พลาดหนังดีๆ ที่จะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข
ของครอบครัวคุณได้ อะไรแบบนี้
คือพูดในแง่ลูกค้าว่าจะได้รับอะไรจากสินค้าของเรา
และอีกประเด็นหนึ่งคือ การขอความช่วยเหลือทื่อๆ เช่นขอให้ "ช่วยไปดู"
ขอให้ "ช่วยซื้อ" อันนี้คือไม่ใช่การขายสินค้าละ เป็นการ"ขอ"ไปแล้ว
ซึ่งการขอไม่ใช่การทำธุรกิจนะ เราต้องท่องจำอันนี้เอาไว้
#ShellEyeView
.
=========================
.
มองมุมหอย : เรียนรู้ธุรกิจจากข้อคิดข้างถนน
<<toBeConvertedToEmptyParagraph>>
โฆษณา